โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
แม้ชีวิตจะเคยทำผิดพลาด ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ สุดท้ายเมื่อมาจบลงที่เรือนจำ ทำให้อิสรภาพถูกจองจำสิ้นตามโทษทัณฑ์ที่ได้รับ แม้แต่การเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยก็เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องถูกล่ามโซ่ตรวน และอยู่ภายใต้การควบคุมเมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล นับเป็นการสูญเสียภาพลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สำหรับจังหวัดสงขลามีเรือนจำและทัณฑสถาน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. เรือนจำกลางสงขลา มีผู้ต้องขัง 3,152 คน 2. เรือนจำจังหวัดสงขลา มีผู้ต้องขัง 2,480 คน 3. ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา มีผู้ต้องขัง 2,040 คน 4. ทัณฑสถานหญิงสงขลา มีผู้ต้องขัง 1,346 คน และ 5. เรือนจำอำเภอนาทวี รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 9 พันคน
ปัญหาคือแต่ละเรือนจำมีบุคลากรที่ให้บริการด้านสุขภาพเป็นพยาบาลวิชาชีพเพียงแห่งละ 1 - 2 คน ศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง จึงไม่ดีพอ เพราะจำนวนผู้ต้องขังมีมาก และหากนำผู้ต้องขังออกมารักษาที่โรงพยาบาล จำนวนผู้คุมก็มีไม่เพียงพอ ขณะที่กระบวนการขออนุญาตออกจากเรือนจำก็มีขั้นตอนยุ่งยาก ทำให้ผู้ต้องขังไม่ได้รับการดูแลสุขภาพทันทีเมื่อเจ็บป่วย
ร.ท.นพ.สุภาพ ไพศาลศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่า อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ส่งผลให้บางรายอาการทรุดหนักได้ บางคนรักษาช้าอาจทำให้เกิดความพิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่น่าห่วงคือ ด้วยสภาพแวดล้อมของเรือนจำที่มีความแออัด ยังส่งผลกระทบให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อได้ง่ายด้วย เช่น วัณโรค เอดส์ อุจจาระร่วง ไข้เลือดออก ฯลฯ หากระบบคัดกรองและป้องกันโรคไม่รัดกุมพอ อาจเกิดปัญหาการระบาดเกิดขึ้น เพื่อลดช่องว่างดังกล่าว การจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ในทัณฑสถาน เพื่อให้บริการสุขภาพเชิงรุกในเรือนจำจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้
"ศูนย์บริการทางการแพทย์ในทัณฑสถาน ได้ใช้เรือนพยาบาลในทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลาเป็นสถานที่ให้บริการเชิงรุกสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานทั้ง 4 แห่ง โดยเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557 - ปัจจุบัน” ผอ.รพ.สงขลา กล่าว
สำหรับบริการสุขภาพที่จัดให้สำหรับผู้ต้องขัง ร.ท.นพ.สุภาพ ให้ข้อมูลว่า
1. บริการตรวจรักษาผู้ต้องขัง ประกอบด้วยโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง และผ่าตัดเล็ก ในเรือนพยาบาลของทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เปิดให้บริการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.30 - 12.00 น.
2. บริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและทันตกรรม โดยทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้ง/แห่ง หมุนเวียนไปทุกเรือนจำ โดยให้บริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย และส่งเสริมทันตสุขภาพ
3. บริการประเมินปัญหาสุขภาพจิต โดยคลินิกสุขภาพใจ จ่ายยาผู้ป่วยจิตเวชและบริการให้คำปรึกษา ดูแลด้านสุขภาพจิตโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากกลุ่มงานจิตเวช รพ.สงขลา และ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์
4. บริการส่งเสริมสุขภาพและสร้างภูมิคุ้มกันโรค เช่น ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปากมดลูก วัณโรค บริการวัคซีนต่าง ๆ และให้ความรู้ด้านสุขภาพ
5. ตรวจประเมินมาตรฐานต่าง ๆ ของเรือนจำตามพื้นฐาน 5 ด้าน ได้แก่ เรือนนอน เรือนพยาบาล สุขาภิบาลอาหาร โรงครัว และการกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยนักวิชาการสาธารณสุขจาก รพ.สงขลา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
6. พัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังชั้นดีเป็นแกนนำด้านสุขภาพ เรียกว่า “จิตอาสาผู้ก้าวพลาด” และจัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ
และ 7. บริการขึ้นทะเบียนหลักประกันสุขภาพให้กับผู้ต้องขังทุกรายที่มีบัตรประชาชน เพื่อความครอบคลุมสิทธิในการรักษาพยาบาล และให้สิทธิสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขังที่เป็นกลุ่มไม่มีสิทธิ เช่น ต่างด้าว
นางวาสนา จึงตระกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สงขลา กล่าวว่า การเข้าไปให้บริการสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้ต้องขัง ทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกที่ดีว่าได้รับการดูแล ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง คนทำงานก็มีความสุขที่ได้ทำความดีให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส แม้แต่ผู้คุมก็ได้รับประโยชน์ เพราะถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยความสำเร็จของงานเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรที่มีจิตอาสา เต็มใจให้บริการเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และก้าวข้ามข้อจำกัดขอบเขตของอำนาจหน้าที่ มีมุมมองต่อผู้ต้องขังเป็นเช่นคนทั่วไป ไม่มีอคติ ทำให้ผู้ต้องขังได้รับบริการที่ครอบคลุม เท่าเทียม สะดวก ทันเวลา และมีคุณภาพ
“หลังมีการให้บริการสุขภาพเชิงรุก พบว่า ผู้ต้องขังเข้าถึงบริการมากขึ้นจากเดิมสัปดาห์ละ 10 ราย เมื่อเปิดให้บริการแรก ๆ เป็น สัปดาห์ละ 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้ต้องขังที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ลดระยะเวลาการรับบริการลงจากรายละ 170 นาทีในโรงพยาบาล เหลือรายละ 30 นาทีในทัณฑสถาน ลดอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินและการนอนในโรงพยาบาลได้ 29%” นางวาสนา กล่าว
การเกิดโรคระบาดในเรือนจำไม่เพียงแต่ส่งผลต่อผู้ต้องขังและผู้คุมกันเองในเรือนจำเท่านั้นยังเสี่ยงที่จะเผยแพร่ออกมาสู่โลกภายนอกด้วย นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการมองข้ามความน่ากลัวของผู้ต้องขัง ให้บริการด้วยความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และเพิ่มการเข้าถึงการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่มนุษย์พึงมี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แม้ชีวิตจะเคยทำผิดพลาด ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ สุดท้ายเมื่อมาจบลงที่เรือนจำ ทำให้อิสรภาพถูกจองจำสิ้นตามโทษทัณฑ์ที่ได้รับ แม้แต่การเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยก็เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องถูกล่ามโซ่ตรวน และอยู่ภายใต้การควบคุมเมื่อมารับบริการที่โรงพยาบาล นับเป็นการสูญเสียภาพลักษณ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สำหรับจังหวัดสงขลามีเรือนจำและทัณฑสถาน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. เรือนจำกลางสงขลา มีผู้ต้องขัง 3,152 คน 2. เรือนจำจังหวัดสงขลา มีผู้ต้องขัง 2,480 คน 3. ทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา มีผู้ต้องขัง 2,040 คน 4. ทัณฑสถานหญิงสงขลา มีผู้ต้องขัง 1,346 คน และ 5. เรือนจำอำเภอนาทวี รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 9 พันคน
ปัญหาคือแต่ละเรือนจำมีบุคลากรที่ให้บริการด้านสุขภาพเป็นพยาบาลวิชาชีพเพียงแห่งละ 1 - 2 คน ศักยภาพในการดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง จึงไม่ดีพอ เพราะจำนวนผู้ต้องขังมีมาก และหากนำผู้ต้องขังออกมารักษาที่โรงพยาบาล จำนวนผู้คุมก็มีไม่เพียงพอ ขณะที่กระบวนการขออนุญาตออกจากเรือนจำก็มีขั้นตอนยุ่งยาก ทำให้ผู้ต้องขังไม่ได้รับการดูแลสุขภาพทันทีเมื่อเจ็บป่วย
ร.ท.นพ.สุภาพ ไพศาลศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่า อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ส่งผลให้บางรายอาการทรุดหนักได้ บางคนรักษาช้าอาจทำให้เกิดความพิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่น่าห่วงคือ ด้วยสภาพแวดล้อมของเรือนจำที่มีความแออัด ยังส่งผลกระทบให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อได้ง่ายด้วย เช่น วัณโรค เอดส์ อุจจาระร่วง ไข้เลือดออก ฯลฯ หากระบบคัดกรองและป้องกันโรคไม่รัดกุมพอ อาจเกิดปัญหาการระบาดเกิดขึ้น เพื่อลดช่องว่างดังกล่าว การจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ในทัณฑสถาน เพื่อให้บริการสุขภาพเชิงรุกในเรือนจำจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้
"ศูนย์บริการทางการแพทย์ในทัณฑสถาน ได้ใช้เรือนพยาบาลในทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลาเป็นสถานที่ให้บริการเชิงรุกสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานทั้ง 4 แห่ง โดยเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557 - ปัจจุบัน” ผอ.รพ.สงขลา กล่าว
สำหรับบริการสุขภาพที่จัดให้สำหรับผู้ต้องขัง ร.ท.นพ.สุภาพ ให้ข้อมูลว่า
1. บริการตรวจรักษาผู้ต้องขัง ประกอบด้วยโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง และผ่าตัดเล็ก ในเรือนพยาบาลของทัณฑสถานบำบัดพิเศษสงขลา เปิดให้บริการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.30 - 12.00 น.
2. บริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและทันตกรรม โดยทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้ง/แห่ง หมุนเวียนไปทุกเรือนจำ โดยให้บริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย และส่งเสริมทันตสุขภาพ
3. บริการประเมินปัญหาสุขภาพจิต โดยคลินิกสุขภาพใจ จ่ายยาผู้ป่วยจิตเวชและบริการให้คำปรึกษา ดูแลด้านสุขภาพจิตโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากกลุ่มงานจิตเวช รพ.สงขลา และ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์
4. บริการส่งเสริมสุขภาพและสร้างภูมิคุ้มกันโรค เช่น ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็งปากมดลูก วัณโรค บริการวัคซีนต่าง ๆ และให้ความรู้ด้านสุขภาพ
5. ตรวจประเมินมาตรฐานต่าง ๆ ของเรือนจำตามพื้นฐาน 5 ด้าน ได้แก่ เรือนนอน เรือนพยาบาล สุขาภิบาลอาหาร โรงครัว และการกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยนักวิชาการสาธารณสุขจาก รพ.สงขลา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
6. พัฒนาศักยภาพผู้ต้องขังชั้นดีเป็นแกนนำด้านสุขภาพ เรียกว่า “จิตอาสาผู้ก้าวพลาด” และจัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ
และ 7. บริการขึ้นทะเบียนหลักประกันสุขภาพให้กับผู้ต้องขังทุกรายที่มีบัตรประชาชน เพื่อความครอบคลุมสิทธิในการรักษาพยาบาล และให้สิทธิสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขังที่เป็นกลุ่มไม่มีสิทธิ เช่น ต่างด้าว
นางวาสนา จึงตระกูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สงขลา กล่าวว่า การเข้าไปให้บริการสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้ต้องขัง ทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกที่ดีว่าได้รับการดูแล ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง คนทำงานก็มีความสุขที่ได้ทำความดีให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส แม้แต่ผู้คุมก็ได้รับประโยชน์ เพราะถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยความสำเร็จของงานเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรที่มีจิตอาสา เต็มใจให้บริการเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และก้าวข้ามข้อจำกัดขอบเขตของอำนาจหน้าที่ มีมุมมองต่อผู้ต้องขังเป็นเช่นคนทั่วไป ไม่มีอคติ ทำให้ผู้ต้องขังได้รับบริการที่ครอบคลุม เท่าเทียม สะดวก ทันเวลา และมีคุณภาพ
“หลังมีการให้บริการสุขภาพเชิงรุก พบว่า ผู้ต้องขังเข้าถึงบริการมากขึ้นจากเดิมสัปดาห์ละ 10 ราย เมื่อเปิดให้บริการแรก ๆ เป็น สัปดาห์ละ 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้ต้องขังที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ลดระยะเวลาการรับบริการลงจากรายละ 170 นาทีในโรงพยาบาล เหลือรายละ 30 นาทีในทัณฑสถาน ลดอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินและการนอนในโรงพยาบาลได้ 29%” นางวาสนา กล่าว
การเกิดโรคระบาดในเรือนจำไม่เพียงแต่ส่งผลต่อผู้ต้องขังและผู้คุมกันเองในเรือนจำเท่านั้นยังเสี่ยงที่จะเผยแพร่ออกมาสู่โลกภายนอกด้วย นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการมองข้ามความน่ากลัวของผู้ต้องขัง ให้บริการด้วยความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และเพิ่มการเข้าถึงการรักษาพยาบาลตามสิทธิที่มนุษย์พึงมี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่