กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่ง 34 ตัวแทนเยาวชนไทย เข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 11 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 21 - 29 กันยายน 2559 ตั้งเป้าคว้าไม่ต่ำว่า 7 เหรียญทอง
นายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยจัดส่งเยาวชนไปแสดงศักยภาพ ทั้งระดับอาเซียนและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง และสร้างชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักในหลายสาขา โดยเฉพาะงานช่างและการบริการ ที่เยาวชนไทยแสดงฝีมือได้โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การจัดส่งเยาวชนไทยไปแสดงฝีมือในต่างประเทศจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนเห็นศักยภาพและความสามารถของแรงงานไทย และตัดสินใจมาลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวแทนเยาวชนไทยยังได้ประสบการณ์ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป
“การแข่งขันในครั้งนี้ มีประเทศในกลุ่มอาเซียน เข้าร่วมแข่งขัน 9 ประเทศ ใน 25 สาขาอาชีพ และมีเยาวชน 276 คน เข้าร่วม สำหรับประเทศไทยจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 34 คน ใน 17 สาขา โดยสาขาที่เป็นความหวังของไทย คือ สาขาช่างเชื่อม บริการอาหารและเครื่องดื่ม แต่งผม และประกอบอาหาร ซึ่งตั้งเป้าปีนี้ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 7 เหรียญทอง” อธิบดี กพร. ระบุ
ตัวแทนเยาวชนไทย จำนวน 34 คน เข้าร่วมแข่งขัน ใน 17 สาขา มีดังนี้
1. เทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding) 2 คน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Software Solutions for Business) 2 คน
3. ท่อและสุขภัณฑ์ (Plumbing & Heating) 2 คน
4. เว็บดีไซน์ (Web Design) 2 คน
5. เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร (Electrical Installations) 2 คน
6. ก่ออิฐ (Bricklaying) 2 คน
7. แฟชั่นเทคโนโลยี (Fashion Technology) 2 คน
8. บริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service) 2 คน
9. ประกอบอาหาร (Cooking) 2 คน
10. เมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
11. ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (Mechanical Engineering Design-CAD) 2 คน
12. กราฟิกดีไซน์ (Graphic Design Technology) 2 คน
13. เทคโนโลยีระบบทำความเย็น (Refrigeration and Air Conditioning) 2 คน
14. แต่งผม (Hair Dressing) 2 คน
15. ระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรม (Industrial Automation) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
16. เทคโนโลยีหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Robotics) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
17. การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล CNC (CNC Maintenance) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นกิจกรรมหนึ่งของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมมือกันพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติโดยประเทศสมาชิกได้กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของการแข่งขัน ไว้ว่า
1. จัดแข่งขันทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน โดยการลงมติเลือกประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพ
2. แบบแข่งขัน (Test Projects) ที่ใช้ในการแข่งขัน ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงร่วมกันใช้
แบบแข่งขันครั้งล่าสุดขององค์การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หรือ WorldSkills (ซึ่งมีสมาชิก ทั่วโลกประมาณ 72 ประเทศและจัดการแข่งขันทุก 2 ปี) แบบทดสอบ WorldSkills ทุกสาขา จัดทำขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศสมาชิก โดยเนื้อหาของแบบทดสอบจะสะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุด และความต้องการทักษะแรงงานของตลาดโลก โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่สามารถทำแบบทดสอบในสนามแข่งขันได้ ก็ย่อมจะสามารถทำงานในสถานประกอบการได้เช่นกัน เนื่องจากแบบทดสอบของ WorldSkills มีการปรับปรุงแก้ไขทุกครั้งที่มีการแข่งขันครั้งใหม่ การจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ซึ่งยึดแบบทดสอบของ WorldSkills ครั้งล่าสุด จึงเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ฝึกฝนฝีมือให้ก้าวทันกระแสโลกอยู่เสมอ
3. ผู้แข่งขันต้องมีอายุไม่เกิน 22 ปี แต่ละประเทศส่งเข้าแข่งขันไม่เกินสาขาละ 2 คน หรือ 2 ทีม โดยกำหนดระยะเวลาแข่งขัน 3 วัน (ภายในระยะเวลา 15 - 18 ชั่วโมง)
นายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยจัดส่งเยาวชนไปแสดงศักยภาพ ทั้งระดับอาเซียนและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง และสร้างชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักในหลายสาขา โดยเฉพาะงานช่างและการบริการ ที่เยาวชนไทยแสดงฝีมือได้โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การจัดส่งเยาวชนไทยไปแสดงฝีมือในต่างประเทศจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนเห็นศักยภาพและความสามารถของแรงงานไทย และตัดสินใจมาลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวแทนเยาวชนไทยยังได้ประสบการณ์ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป
“การแข่งขันในครั้งนี้ มีประเทศในกลุ่มอาเซียน เข้าร่วมแข่งขัน 9 ประเทศ ใน 25 สาขาอาชีพ และมีเยาวชน 276 คน เข้าร่วม สำหรับประเทศไทยจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 34 คน ใน 17 สาขา โดยสาขาที่เป็นความหวังของไทย คือ สาขาช่างเชื่อม บริการอาหารและเครื่องดื่ม แต่งผม และประกอบอาหาร ซึ่งตั้งเป้าปีนี้ต้องได้ไม่ต่ำกว่า 7 เหรียญทอง” อธิบดี กพร. ระบุ
ตัวแทนเยาวชนไทย จำนวน 34 คน เข้าร่วมแข่งขัน ใน 17 สาขา มีดังนี้
1. เทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding) 2 คน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Software Solutions for Business) 2 คน
3. ท่อและสุขภัณฑ์ (Plumbing & Heating) 2 คน
4. เว็บดีไซน์ (Web Design) 2 คน
5. เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร (Electrical Installations) 2 คน
6. ก่ออิฐ (Bricklaying) 2 คน
7. แฟชั่นเทคโนโลยี (Fashion Technology) 2 คน
8. บริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service) 2 คน
9. ประกอบอาหาร (Cooking) 2 คน
10. เมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
11. ออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (Mechanical Engineering Design-CAD) 2 คน
12. กราฟิกดีไซน์ (Graphic Design Technology) 2 คน
13. เทคโนโลยีระบบทำความเย็น (Refrigeration and Air Conditioning) 2 คน
14. แต่งผม (Hair Dressing) 2 คน
15. ระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรม (Industrial Automation) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
16. เทคโนโลยีหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Robotics) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
17. การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล CNC (CNC Maintenance) 1 ทีม ทีมละ 2 คน
สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นกิจกรรมหนึ่งของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเพื่อร่วมมือกันพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติโดยประเทศสมาชิกได้กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของการแข่งขัน ไว้ว่า
1. จัดแข่งขันทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขัน โดยการลงมติเลือกประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพ
2. แบบแข่งขัน (Test Projects) ที่ใช้ในการแข่งขัน ประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงร่วมกันใช้
แบบแข่งขันครั้งล่าสุดขององค์การแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หรือ WorldSkills (ซึ่งมีสมาชิก ทั่วโลกประมาณ 72 ประเทศและจัดการแข่งขันทุก 2 ปี) แบบทดสอบ WorldSkills ทุกสาขา จัดทำขึ้นโดย ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศสมาชิก โดยเนื้อหาของแบบทดสอบจะสะท้อนถึงเทคโนโลยีล่าสุด และความต้องการทักษะแรงงานของตลาดโลก โดยมีความเชื่อว่าผู้ที่สามารถทำแบบทดสอบในสนามแข่งขันได้ ก็ย่อมจะสามารถทำงานในสถานประกอบการได้เช่นกัน เนื่องจากแบบทดสอบของ WorldSkills มีการปรับปรุงแก้ไขทุกครั้งที่มีการแข่งขันครั้งใหม่ การจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ซึ่งยึดแบบทดสอบของ WorldSkills ครั้งล่าสุด จึงเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ฝึกฝนฝีมือให้ก้าวทันกระแสโลกอยู่เสมอ
3. ผู้แข่งขันต้องมีอายุไม่เกิน 22 ปี แต่ละประเทศส่งเข้าแข่งขันไม่เกินสาขาละ 2 คน หรือ 2 ทีม โดยกำหนดระยะเวลาแข่งขัน 3 วัน (ภายในระยะเวลา 15 - 18 ชั่วโมง)