ผศ.พญ.สุวัจนา อธิภาส
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะ
ผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการหลักที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ คือ อาการเวียนศีรษะ แต่อยากจะทำความเข้าใจว่าอาการเวียนศีรษะจริง ๆ แล้วเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้มากมายนอกเหนือไปจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะต้องมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกแน่นในหู มีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจดังต่อเนื่อง หรือดังเป็นพัก ๆ หรือบางรายรู้สึกเหมือนมีเสียงลมพัดอยู่ในหู ซึ่งอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จะเป็นอยู่นานไม่ต่ำกว่า 20 นาที จนถึงหลายชั่วโมง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และหลังจากนั้น อาจมึนงงทรงตัวลำบากต่อได้อีกหลายวัน นอกจากนี้ ยังมีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ราว 1 - 2 วัน แล้วค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาเป็นปกติ แล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งความถี่ของอาการเวียนศีรษะจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
โรคนี้พบมากในช่วงอายุ 30 - 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง และส่วนมากเป็นในหูข้างเดียว แต่ก็อาจเป็นทั้งสองหูได้
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นภาวะที่มีน้ำในหูชั้นในคั่ง หรือมีความดันเพิ่มขึ้นซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการสร้างน้ำในหูชั้นในมากขึ้น, ท่อทางเดินน้ำในหูชั้นในแคบทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก, มีการดูดซึมน้ำในหูชั้นในกลับน้อยกว่าปกติ หรือเกิดจากภาวะภูมิแพ้
การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยิน ซึ่งมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยแน่ชัดไม่ใช่วินิจฉัยจากอาการเวียนศีรษะเพียงอย่างเดียว ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจนก็อาจต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจประสาททรงตัว, ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan หรือ MRI) สมองและหูชั้นใน
การรักษาหลักคือ รักษาอาการเวียนศีรษะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม, พักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานยาแก้เวียนศีรษะได้ผลดี ทั้งนี้ การใช้ยาขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย บางรายเพียงแต่รับประทานยาแก้อาการเวียนศีรษะเป็นครั้งคราว บางรายมีอาการเวียนศีรษะบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเดือน หรือเป็นปี ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงรับประทานยาแล้วได้ผลไม่เต็มที่ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ยาซึมผ่านเข้าไปในหูชั้นใน หรือใช้วิธีการผ่าตัด แต่เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรค และไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ก็จะควบคุมอาการเวียนศีรษะได้และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ควรลดภาวะเครียด ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญ ควรควบคุมอาหารเค็ม และบริหารประสาททรงตัว ซึ่งจะช่วยทำให้ควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดีขึ้น
********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# จัดให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประเมินสุขภาพร่างกายและสมรรถภาพสมอง (ฟรี) แก่ประชาชน ในงานวันอัลไซเมอร์โลก “สูงวัยวิถีไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” วันนี้ (2 ก.ย. 59) เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 สอบถาม โทร. 0 2419 7287 , 09 3836 0191
# จัดอบรมด้านดนตรีบำบัด หัวข้อ “Music Therapy in Hospital and Palliative Care” แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจทั่วไป ในวันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ ศิริราชฯ ชั้น 2 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2419 5843
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะ
ผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการหลักที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ คือ อาการเวียนศีรษะ แต่อยากจะทำความเข้าใจว่าอาการเวียนศีรษะจริง ๆ แล้วเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้มากมายนอกเหนือไปจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะต้องมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกแน่นในหู มีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจดังต่อเนื่อง หรือดังเป็นพัก ๆ หรือบางรายรู้สึกเหมือนมีเสียงลมพัดอยู่ในหู ซึ่งอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จะเป็นอยู่นานไม่ต่ำกว่า 20 นาที จนถึงหลายชั่วโมง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และหลังจากนั้น อาจมึนงงทรงตัวลำบากต่อได้อีกหลายวัน นอกจากนี้ ยังมีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ราว 1 - 2 วัน แล้วค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาเป็นปกติ แล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งความถี่ของอาการเวียนศีรษะจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
โรคนี้พบมากในช่วงอายุ 30 - 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง และส่วนมากเป็นในหูข้างเดียว แต่ก็อาจเป็นทั้งสองหูได้
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นภาวะที่มีน้ำในหูชั้นในคั่ง หรือมีความดันเพิ่มขึ้นซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการสร้างน้ำในหูชั้นในมากขึ้น, ท่อทางเดินน้ำในหูชั้นในแคบทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก, มีการดูดซึมน้ำในหูชั้นในกลับน้อยกว่าปกติ หรือเกิดจากภาวะภูมิแพ้
การจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยิน ซึ่งมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยแน่ชัดไม่ใช่วินิจฉัยจากอาการเวียนศีรษะเพียงอย่างเดียว ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจนก็อาจต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจประสาททรงตัว, ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan หรือ MRI) สมองและหูชั้นใน
การรักษาหลักคือ รักษาอาการเวียนศีรษะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม, พักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานยาแก้เวียนศีรษะได้ผลดี ทั้งนี้ การใช้ยาขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย บางรายเพียงแต่รับประทานยาแก้อาการเวียนศีรษะเป็นครั้งคราว บางรายมีอาการเวียนศีรษะบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเดือน หรือเป็นปี ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงรับประทานยาแล้วได้ผลไม่เต็มที่ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ยาซึมผ่านเข้าไปในหูชั้นใน หรือใช้วิธีการผ่าตัด แต่เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรค และไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ก็จะควบคุมอาการเวียนศีรษะได้และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ผู้ป่วยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ควรลดภาวะเครียด ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญ ควรควบคุมอาหารเค็ม และบริหารประสาททรงตัว ซึ่งจะช่วยทำให้ควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดีขึ้น
********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# จัดให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประเมินสุขภาพร่างกายและสมรรถภาพสมอง (ฟรี) แก่ประชาชน ในงานวันอัลไซเมอร์โลก “สูงวัยวิถีไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” วันนี้ (2 ก.ย. 59) เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 สอบถาม โทร. 0 2419 7287 , 09 3836 0191
# จัดอบรมด้านดนตรีบำบัด หัวข้อ “Music Therapy in Hospital and Palliative Care” แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจทั่วไป ในวันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ ศิริราชฯ ชั้น 2 สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2419 5843
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่