xs
xsm
sm
md
lg

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)...ดีจริงหรือ?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เป็นข้อตกลงในระดับภูมิภาคที่ใหญ่มาก มีความครอบคลุมหลายภาคส่วนธุรกิจของหลายประเทศผู้ที่สนับสนุน คาดว่า จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวจากความสัมพันธ์ทางการค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ฝ่ายที่คัดค้านคาดว่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี แล้วประชาชนจะเชื่อใคร

สำหรับประเทศไทย ในระยะที่ผ่านมารัฐบาลมีท่าทีสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP การตัดสินใจครั้งนี้จะมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศในวงกว้างสมควรมีการศึกษาผลกระทบของการตัดสินใจในครั้งนี้ ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และการเมืองอย่างรอบด้าน

เมื่อพิจารณาผลการวิจัยเรื่องผลกระทบจาก TPP ที่ผ่านมา พบว่า มีข้อสรุปแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์ และสมมติฐานที่ใช้ประกอบการคาดการณ์ผลกระทบ ตัวอย่างเช่น การประเมินผลกระทบจากTPP ต่อทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่มีข้อสรุปแตกต่างกัน ดังนี้

-สถาบันเศรษฐศาสตร์นานาชาติปีเตอร์สันคาดการณ์ว่า TPP จะเพิ่มจีดีพีของสหรัฐฯ 0.5% ต่อปี และเพิ่มการส่งออกประมาณ 9.0% ในปี ค.ศ. 2030 (https://piie.com/publications/wp/wp16-2.pdf)

-ธนาคารโลก ประมาณการณ์ว่าTPP จะเพิ่มจีดีพีของสหรัฐฯ 0.5% ในปี คศ.2030 (https://www.worldbank.org/content/dam/Worldbank/GEP/GEP2016a/Global-Economic-Prospects-January-2016-Implications-Trans-Pacific-Partnership-Agreement.pdf)
-สถาบันการพัฒนาของโลกและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยทัฟส์ คาดว่า ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะมีขนาดเล็กกว่าการศึกษาข้างต้น โดยTPP จะทำให้ GDP ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นหดตัว ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ ยังเกิดการสูญเสียงานที่สูงขึ้นและความไม่เท่าเทียมในด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดย 12 ประเทศที่เข้าร่วม TPP จะสูญเสียการจ้างงานรวม 770,000 งาน และสหรัฐอเมริกาจะสูญเสียตำแหน่งงานในปี 2025 สูงถึง 450,000 ตำแหน่ง ตามด้วย ญี่ปุ่นและแคนาดาสูญเสียตำแหน่งงานประมาณ 75,000 และ 58,000 ตำแหน่ง (http://www.ase.tufts.edu/gdae/Pubs/wp/16-01Capaldo-IzurietaTPP.pdf)

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศไทย ควรใช้ข้อมูลอะไรเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเข้าเป็นสมาชิก TPP โดยการศึกษาผลกระทบควรดำเนินการอย่างรอบด้านผนวกกับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อให้มีเข้าใจในผลกระทบอย่างลึกซึ้ง ทั้งผลกระทบที่วิเคราะห์ได้จากแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบที่แบบจำลองไม่สามารถอธิบายได้ โดยใช้วิธีการศึกษาอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับบริบทประเทศไทย

แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจเข้าไปเป็นสมาชิก TPP หรือไม่ก็ตาม รัฐบาลควรเร่งสร้างเสริมศักยภาพในการแข่งขัน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ ที่มักจะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรี

เพราะทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้อง คือ การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น