หมออนามัย ค้าน มติ อ.ก.พ.สธ. ปรับตำแหน่ง นวก.สธ. ให้วิชาชีพอื่น 627 อัตรา ชี้ ทำตำแหน่งหาย หวั่นกระทบคนสอบ จ่อยื่น รมว.สธ. ยกเลิกมติวันที่ 23 ส.ค. ด้าน สธ. ยันยังมีตำแหน่ง นวก.สธ. ให้บรรจุ 410 อัตรา ชี้ การปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องการบริหารจัดการตามความเหมาะสมและจำเป็น
นายสมบัติ ชูเถื่อน เลขาธิการสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าวว่า จากผลการประชุมอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่มีมติให้ปรับปรุงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข (นวก.สธ.) ไปเป็นตำแหน่งใหม่ จำนวน 627 อัตรา เช่น รังสีการแพทย์ เป็นต้น ทำให้ตำแหน่ง นวก.สธ. หายไป ส่งผลต่อคนที่มาสอบและต้องการสอบเข้าตำแหน่ง นวก.สธ. ซึ่งวันที่ 27 ส.ค. จะมีผู้ที่ทำการสอบวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ข.) ในตำแหน่ง นวก.สธ. ประมาณ 820 ราย และตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 80 ราย ทำให้กลายเป็นปัญหา เพราะแม้จะสอบไป ตำแหน่งก็ไม่มี จึงสงสัยว่าจะเลือกปฏิบัติในการดูแลบางวิชาชีพ หรืออาจมีเจตนาให้มีผู้ที่สอบวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นสอบผ่านจำนวนน้อย ๆ หรือสอบไม่ผ่าน เนื่องจากมีตำแหน่งเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอหรือไม่ เครือข่ายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จึงจะเข้ายื่นหนังสือวันที่ 23 ส.ค. นี้ เพื่อเรียกร้องให้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข และ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. ยกเลิกมติดังกล่าว
นายสมศักดิ์ จึงตระกูล ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในวันที่ 26 สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมกลุ่มวิชาชีพทุกวิชาชีพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดให้มีขึ้นทุก 2 เดือน โดยทางชมรมฯ จะมาติดตามประเด็นที่เคยพูดคุยและเสนอกับผู้บริหาร สธ. ไปแล้ว เพราะขณะนี้ผ่านมาประมาณ 1 ปีกว่า และใกล้สิ้นสุดปีงบประมาณ 2559 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้งเรื่องของค่าตอบแทน ตำแหน่ง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยในวันที่ 9 กันยายน 2559 ทางชมรมฯ จะเดินทางมาขอพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. เพื่อขอคำตอบและคำชี้แจงในเรื่องดังกล่าว เช่น เรื่องค่าตอบแทน ทั้งที่หลักเกณฑ์ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 11 ทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหากเสนอไม่ทันในเดือนกันยายนนี้ ก็เท่ากับว่า จะต้องใช้เกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับเดิม
“ส่วนตำแหน่งชำนาญการพิเศษของ ผอ.รพ.สต. ซึ่งปัจจุบันมีเพียงจังหวัดละ 1 คน และ ปลัด สธ. เคยรับปากว่าจะดูให้ รพ.สต. ได้ในอัตรา 20% ก็จะมาติดตามว่าท้ายที่สุดแล้ว รพ.สต. ควรได้อัตราเท่าไร รวมไปถึงเรื่องของอนุมัติการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเป็นตำแหน่งอื่นจำนวน 627 อัตรา ซึ่งสะท้อนว่า สธ. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ รพ.สต. ทั้งที่รัฐบาลให้ สธ.ทำแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ระยะ 20 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ซึ่งระบบสร้างนำซ่อมที่ดำเนินการโดย รพ.สต. เป็นเรื่องสำคัญ โดย สธ. จำเป็นต้องวางแผนเรื่องกำลังคนให้สอดคล้องโครงสร้างของ รพ.สต. เพื่อให้มีบุคลากรที่เพียงพอและได้มาตรฐานในการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิ” นายสมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า เรื่องตำแหน่งอัตราของ นวก.สธ. และเจ้าพนักงานสาธารณสุข (จพ.) สืบเนื่องจากมติ ครม. ที่อนุมัติอัตราตำแหน่งกว่า 3 หมื่นตำแหน่ง แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละ 7,547 อัตรา โดยกรณีเป็นครั้งสุดท้ายที่ผูกพันอยู่ จึงมีการขออนุมติต่อ โดยแต่ละตำแหน่งก็จะมีสัดส่วนของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งกรณี นวก.สธ. และ จพ. นั้น ครม. อนุมัติเฉพาะตำแหน่งปริญญาตรี ซึ่งจะเข้าข่ายเพียง นวก.สธ. เท่านั้น โดยเดิมจะได้เพียง 205 อัตรา แต่ สธ. จัดสรรเพิ่มอีก 205 อัตรา รวมเป็น 410 อัตรา ส่วนตำแหน่งที่มีการปรับเปลี่ยน เป็นเรื่องของการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับความจำเป็น อย่างนักรังสีทางการแพทย์ ต้องมี เพราะยังมี รพ. อีกกว่า 100 แห่ง ไม่มีนักรังสีทางการแพทย์ ทั้งที่มีความจำเป็นเนื่องจากต้องมีการเอกซเรย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วย และส่วนนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขออัตราตำแหน่งเดิมที่เคยตกลงไว้ จึงอยากให้กลุ่มที่ออกมาเรียกร้องศึกษาเรื่องนี้ว่า จริง ๆ เป็นเพราะอะไร และ สธ. ก็ไม่ได้ทิ้งขว้าง เพราะอย่างที่จะมีการสอบอีกกว่า 800 คนนั้น เราก็จะมีตำแหน่งไว้ให้อยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว ใครสอบได้ ก็ต้องมีมา ไม่มีการปล่อยทิ้งเหมือนที่ไปสร้างความเข้าใจผิด ๆ กัน
นพ.โสภณ กล่าวว่า เรื่องการจัดสรรตำแหน่งข้าราชการ สธ. ได้มาและเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งของวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ดังนั้น จึงมีหน้าที่ต้องบริหารจัดการในภาพรวมดูที่สภาพปัญหา วิชาชีพใดมีความต้องการ วิชาชีพใดขาดแคลน ซึ่งแม้ว่าตนจะเป็นผู้บริหารที่มาจากสายการแพทย์ แต่ตำแหน่งที่จัดสรรก็ไม่ได้เอาไปให้แพทย์ ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการทำความเข้าใจกันต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสมบัติ ชูเถื่อน เลขาธิการสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข กล่าวว่า จากผลการประชุมอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ที่มีมติให้ปรับปรุงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข (นวก.สธ.) ไปเป็นตำแหน่งใหม่ จำนวน 627 อัตรา เช่น รังสีการแพทย์ เป็นต้น ทำให้ตำแหน่ง นวก.สธ. หายไป ส่งผลต่อคนที่มาสอบและต้องการสอบเข้าตำแหน่ง นวก.สธ. ซึ่งวันที่ 27 ส.ค. จะมีผู้ที่ทำการสอบวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ข.) ในตำแหน่ง นวก.สธ. ประมาณ 820 ราย และตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 80 ราย ทำให้กลายเป็นปัญหา เพราะแม้จะสอบไป ตำแหน่งก็ไม่มี จึงสงสัยว่าจะเลือกปฏิบัติในการดูแลบางวิชาชีพ หรืออาจมีเจตนาให้มีผู้ที่สอบวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นสอบผ่านจำนวนน้อย ๆ หรือสอบไม่ผ่าน เนื่องจากมีตำแหน่งเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอหรือไม่ เครือข่ายวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จึงจะเข้ายื่นหนังสือวันที่ 23 ส.ค. นี้ เพื่อเรียกร้องให้ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข และ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. ยกเลิกมติดังกล่าว
นายสมศักดิ์ จึงตระกูล ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในวันที่ 26 สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมกลุ่มวิชาชีพทุกวิชาชีพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดให้มีขึ้นทุก 2 เดือน โดยทางชมรมฯ จะมาติดตามประเด็นที่เคยพูดคุยและเสนอกับผู้บริหาร สธ. ไปแล้ว เพราะขณะนี้ผ่านมาประมาณ 1 ปีกว่า และใกล้สิ้นสุดปีงบประมาณ 2559 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้งเรื่องของค่าตอบแทน ตำแหน่ง และความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยในวันที่ 9 กันยายน 2559 ทางชมรมฯ จะเดินทางมาขอพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. เพื่อขอคำตอบและคำชี้แจงในเรื่องดังกล่าว เช่น เรื่องค่าตอบแทน ทั้งที่หลักเกณฑ์ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 11 ทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหากเสนอไม่ทันในเดือนกันยายนนี้ ก็เท่ากับว่า จะต้องใช้เกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับเดิม
“ส่วนตำแหน่งชำนาญการพิเศษของ ผอ.รพ.สต. ซึ่งปัจจุบันมีเพียงจังหวัดละ 1 คน และ ปลัด สธ. เคยรับปากว่าจะดูให้ รพ.สต. ได้ในอัตรา 20% ก็จะมาติดตามว่าท้ายที่สุดแล้ว รพ.สต. ควรได้อัตราเท่าไร รวมไปถึงเรื่องของอนุมัติการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขเป็นตำแหน่งอื่นจำนวน 627 อัตรา ซึ่งสะท้อนว่า สธ. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ รพ.สต. ทั้งที่รัฐบาลให้ สธ.ทำแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ระยะ 20 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ซึ่งระบบสร้างนำซ่อมที่ดำเนินการโดย รพ.สต. เป็นเรื่องสำคัญ โดย สธ. จำเป็นต้องวางแผนเรื่องกำลังคนให้สอดคล้องโครงสร้างของ รพ.สต. เพื่อให้มีบุคลากรที่เพียงพอและได้มาตรฐานในการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิ” นายสมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า เรื่องตำแหน่งอัตราของ นวก.สธ. และเจ้าพนักงานสาธารณสุข (จพ.) สืบเนื่องจากมติ ครม. ที่อนุมัติอัตราตำแหน่งกว่า 3 หมื่นตำแหน่ง แบ่งออกเป็น 3 ครั้ง ครั้งละ 7,547 อัตรา โดยกรณีเป็นครั้งสุดท้ายที่ผูกพันอยู่ จึงมีการขออนุมติต่อ โดยแต่ละตำแหน่งก็จะมีสัดส่วนของแต่ละวิชาชีพ ซึ่งกรณี นวก.สธ. และ จพ. นั้น ครม. อนุมัติเฉพาะตำแหน่งปริญญาตรี ซึ่งจะเข้าข่ายเพียง นวก.สธ. เท่านั้น โดยเดิมจะได้เพียง 205 อัตรา แต่ สธ. จัดสรรเพิ่มอีก 205 อัตรา รวมเป็น 410 อัตรา ส่วนตำแหน่งที่มีการปรับเปลี่ยน เป็นเรื่องของการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับความจำเป็น อย่างนักรังสีทางการแพทย์ ต้องมี เพราะยังมี รพ. อีกกว่า 100 แห่ง ไม่มีนักรังสีทางการแพทย์ ทั้งที่มีความจำเป็นเนื่องจากต้องมีการเอกซเรย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วย และส่วนนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขออัตราตำแหน่งเดิมที่เคยตกลงไว้ จึงอยากให้กลุ่มที่ออกมาเรียกร้องศึกษาเรื่องนี้ว่า จริง ๆ เป็นเพราะอะไร และ สธ. ก็ไม่ได้ทิ้งขว้าง เพราะอย่างที่จะมีการสอบอีกกว่า 800 คนนั้น เราก็จะมีตำแหน่งไว้ให้อยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว ใครสอบได้ ก็ต้องมีมา ไม่มีการปล่อยทิ้งเหมือนที่ไปสร้างความเข้าใจผิด ๆ กัน
นพ.โสภณ กล่าวว่า เรื่องการจัดสรรตำแหน่งข้าราชการ สธ. ได้มาและเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งของวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง ดังนั้น จึงมีหน้าที่ต้องบริหารจัดการในภาพรวมดูที่สภาพปัญหา วิชาชีพใดมีความต้องการ วิชาชีพใดขาดแคลน ซึ่งแม้ว่าตนจะเป็นผู้บริหารที่มาจากสายการแพทย์ แต่ตำแหน่งที่จัดสรรก็ไม่ได้เอาไปให้แพทย์ ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการทำความเข้าใจกันต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่