“สุวพันธุ์” ชี้ เรื่องตั้งสังฆราชยังติดข้อโต้แย้ง ม.7 รอกฤษฎีกาตีความ เสร็จเร่งดำเนินการทันที พร้อมบี้ พศจ. ทำแผนยุทธศาสตร์ควบคู่คณะสงฆ์ทำงานปฏิรูป
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่วัดไร่ขิง จ.นครปฐม สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถาในการประชุมพระสังฆาธิการระดับรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง ประจำปี 2559 ว่า การประชุมครั้งนี้มหาเถรสมาคม (มส.) ตั้งเป้าหมายให้พระสังฆาธิการจะได้ทบทวนนโยบายของคณะสงฆ์ รวมทั้งข้อกฎหมายบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องในการใช้บริหารวัด และกิจการพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระสังฆาธิการจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ
ด้าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการ มส. ได้บรรยายเรื่องปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ มติ มส. และกฎหมายที่สำคัญ กล่าวว่า การปกครองคณะสงฆ์มีบทบาทหน้าที่ทำให้ผู้ที่บรรพชา อุปสมบท เป็นสามเณร พระภิกษุ ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และกฎหมาย เป็นประการสำคัญ เพื่อที่จะทำให้พระ เณร ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เป็นที่ศรัทธา เลื่อมใสของประชาชน ยิ่งพระเณรประพฤติดี ศรัทธายิ่งมีมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่พระพุทธศาสนา
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า รัฐบาลได้ร่วมกับคณะสงฆ์เดินหน้าปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ปี 2560 ในการประชุมพระสังฆาธิการครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าด้านการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ที่สำคัญตนฝากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ทั่วประเทศ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดรับกับผลการประชุมในครั้งนี้ ให้การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาเดินหน้าควบคู่ไปกับการทำงานของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ รัฐบาลจะขอให้ทางคณะสงฆ์ช่วยกระตุ้นสังคมเดินไปในทิศทางที่ควรด้วยหลักธรรมะ เป็นสังคมแห่งคุณธรรม ลดการใช้ความคิดสุดโต่ง ที่จะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรง ขัดแย้งในอนาคต โดยมีวัดเป็นฐานราก อีกทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่เข้าวัดในการเรียนรู้หลักธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เข้าไปทำบุญเพียงแค่การบริจาคเท่านั้น ควรทำให้วัดเป็นที่รับศีล เรียนรู้หลักธรรม ดังนั้น จึงอยากขอให้วัดช่วยหากลยุทธ์ เพื่อให้คนเข้าวัดมาเรียนรู้ในเรื่องของความดีมากขึ้นด้วย สำหรับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในขณะนี้ยังมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอยู่ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ส่งเรื่องมาให้รัฐบาล ทางรัฐบาลจึงส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอยู่ระหว่างการตีความในมาตรา 7 ว่า กระบวนการเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นสมเด็จพระสังฆราชว่าจะต้องเริ่มจากกระบวนการใด นายกรัฐมนตรี หรือ มส. อย่างไรก็ตาม ต้องรอว่า กฤษฎีกาจะตีความออกมาเช่นไร กระบวนการต่าง ๆ จึงจะเดินหน้าต่อไปได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่วัดไร่ขิง จ.นครปฐม สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถาในการประชุมพระสังฆาธิการระดับรองเจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และผู้เกี่ยวข้อง ประจำปี 2559 ว่า การประชุมครั้งนี้มหาเถรสมาคม (มส.) ตั้งเป้าหมายให้พระสังฆาธิการจะได้ทบทวนนโยบายของคณะสงฆ์ รวมทั้งข้อกฎหมายบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องในการใช้บริหารวัด และกิจการพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระสังฆาธิการจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ
ด้าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการ มส. ได้บรรยายเรื่องปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ มติ มส. และกฎหมายที่สำคัญ กล่าวว่า การปกครองคณะสงฆ์มีบทบาทหน้าที่ทำให้ผู้ที่บรรพชา อุปสมบท เป็นสามเณร พระภิกษุ ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และกฎหมาย เป็นประการสำคัญ เพื่อที่จะทำให้พระ เณร ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เป็นที่ศรัทธา เลื่อมใสของประชาชน ยิ่งพระเณรประพฤติดี ศรัทธายิ่งมีมากขึ้น รวมทั้งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่พระพุทธศาสนา
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า รัฐบาลได้ร่วมกับคณะสงฆ์เดินหน้าปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ปี 2560 ในการประชุมพระสังฆาธิการครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าด้านการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ที่สำคัญตนฝากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ทั่วประเทศ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดรับกับผลการประชุมในครั้งนี้ ให้การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาเดินหน้าควบคู่ไปกับการทำงานของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ รัฐบาลจะขอให้ทางคณะสงฆ์ช่วยกระตุ้นสังคมเดินไปในทิศทางที่ควรด้วยหลักธรรมะ เป็นสังคมแห่งคุณธรรม ลดการใช้ความคิดสุดโต่ง ที่จะทำให้เกิดปัญหาความรุนแรง ขัดแย้งในอนาคต โดยมีวัดเป็นฐานราก อีกทั้งจะทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่เข้าวัดในการเรียนรู้หลักธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เข้าไปทำบุญเพียงแค่การบริจาคเท่านั้น ควรทำให้วัดเป็นที่รับศีล เรียนรู้หลักธรรม ดังนั้น จึงอยากขอให้วัดช่วยหากลยุทธ์ เพื่อให้คนเข้าวัดมาเรียนรู้ในเรื่องของความดีมากขึ้นด้วย สำหรับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 ในขณะนี้ยังมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอยู่ โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ส่งเรื่องมาให้รัฐบาล ทางรัฐบาลจึงส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอยู่ระหว่างการตีความในมาตรา 7 ว่า กระบวนการเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นสมเด็จพระสังฆราชว่าจะต้องเริ่มจากกระบวนการใด นายกรัฐมนตรี หรือ มส. อย่างไรก็ตาม ต้องรอว่า กฤษฎีกาจะตีความออกมาเช่นไร กระบวนการต่าง ๆ จึงจะเดินหน้าต่อไปได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่