“อ.เจษฎา” โต้ สธ. เลิกใช้กล่องโฟมใส่อาหาร ชี้ ไม่ส่งผลต่อสุขภาพตามอ้าง เหตุมีความเสถียรสูง สารก่อมะเร็ง “สไตรีน” สลายออกมาได้น้อย แต่รับกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านกรมวิทย์เห็นด้วย แต่ห่วงรับสารสไตรีนจากสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า ขณะที่กรมอนามัยปัดมีผลประโยชน์ทับซ้อนผู้ผลิตกล่องอาหารชานอ้อย รับพิสูจน์ไม่ได้ชัดกล่องโฟมสัมพันธ์มะเร็ง แต่สารสไตรีนมีโอกาสละลายปนเปื้อนได้
จากกรณี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมารณรงค์ให้ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพราะความร้อนจัดของอาหารเมื่อสัมผัสกับโฟม จะทำให้มีสารสไตรีน สารเบนซิน และ สารพทาเลท ออกมาปนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
ล่าสุด รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant” สรุปใจความได้ว่า การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แม้สารสไตรีนจะเป็นอันตรายต่อร่างกายจริง แต่กล่องโฟมที่ใช้นั้น เป็น “โพลีสไตรีน” ซึ่งเป็นสารสไตรีนเดี่ยว ๆ มาเรียงต่อกัน แต่มีความเสถียรสูงมาก คุณสมบัติทนทาน เบา เอามาเป่าขึ้นรูปง่าย ทนกรดด่างและความร้อนได้ดี ไม่ละลาย ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจากองค์กรทางอาหารทั่วโลก เพราะมีการวิจัยพบว่าเมื่อใช้น้ำร้อน ๆ ลงไปในแก้วที่ทำจากโฟมโพลีสไตรีน พบว่ามีสิทธิสลายพันธะทางเคมีทำให้เกิดสไตรีนหลุดออกมาแค่ 1 ใน พันเท่าของเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้เลิกใช้โดยอ้างเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ยุติธรรมต่อผู้ประกอบการกล่องโฟม แต่เห็นด้วยหากระบุว่าเป็นขยะที่ทำลายยาก รีไซเคิลยาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังระบุว่า การรณรงค์ให้ใช้กล่องอาหารชานอ้อยแทนนั้น อาจเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคุณหมอท่านหนึ่งนั้นขายกล่องอาหารชานอ้อย (อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/802701586527144)
ขณะที่ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดของ รศ.เจษฎา โดยระบุว่า สิ่งที่ รศ.เจษฎา กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว การที่เลี่ยงกล่องโฟมนั้นเป้นเรื่องดี แต่ประเด็นหลักมองว่าอยู่ที่เรื่องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ส่วนเรื่องสุขภาพมีบ้าง แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะกรมฯ เคยมีการตรวจสอบพบว่า สารสไตรีนจะออกมาจากกล่องโฟมได้ก็ต่อเมื่อถูกน้ำมันร้อนจัด ๆ แต่การระเหยออกมาของสารดังกล่าว ถือว่าไม่มากมาย ถ้าเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สารสไตรีน มีผลต่อระบบประสาท ส่วนกล่องโฟมทำมาจากโพลีสไตรีน ซึ่งไม่ใช่สารพิษโดยตรง ที่กังวลคือสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า เพราะหากไปสัมผัสกับอาหารที่มีน้ำมันร้อน ๆ ก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงได้รับสารสไตรีนได้ โดยกล่องโฟมผลิตจากโพลีสไตรีน มีอากาศเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 95 และมีโพลีสไตรีนร้อยละ 5 ตรงจุดนี้ที่กังวลกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากย่อยสลายยาก และหากนำไปเผาก็ทำให้เกิดแก๊สที่กระทบต่อภาวะเรือนกระจก ดังนั้น ต้องเลือกวัสดุสัมผัสอาหารให้เหมาะสมกับอาหารดีที่สุด
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารเชื่อมโยงกับมะเร็งโดยตรงนั้น อันที่จริงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ขนาดนั้น สิ่งที่สำคัญคือว่า โฟมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีสารสไตรีน ซึ่งจะออกมาปนเปื้อนกันอาหารเมื่อถูกความร้อนหรือความมัน ในเกณฑ์มาตรฐานสัก 1,000 มิลลิกรัม อาจจะละลายปนเปื้อนออกมาสัก 300 - 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าประชาชนกินอาหารที่มีสารสไตรีนปนเปื้อนอยู่เรื่อย ๆ สารตัวนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคต้องระมัดระวัง แม้จะเป็นปริมาณไม่เยอะ แต่ด้วยปริมาณ ความถี่ และระยะเวลาที่สะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ สารสไตรีนอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกายได้หากสัมผัสสารที่มีความเข้มข้นสูง การบริโภคอาจจะไม่ส่งผลเท่าใด แต่ผู้ที่ต้องผลิตกล่องโฟมหรือผู้ที่ต้องทำลายกล่องโฟมนั้นจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง
นพ.ดนัย กล่าวต่อว่า กล่องชานอ้อยนั้นเป็นภาชนะทดแทน ถ้ามองในแง่ของสิ่งแวดล้อม กล่องโฟมถือว่ากำจัดยากกว่ามาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากล่องชานอ้อย เช่นถ้าเตากำจัดขยะไม่ได้มาตรฐานควันจากการกำจัดโฟมก็จะฟุ้งกระจาย ส่งผลกระทบต่อร่างกาย กล่องชานอ้อยสลายได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังมีราคาที่สูงกว่ากล่องโฟมอยู่ จึงได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดใช้กล่องโฟม เพื่อที่จะได้ช่วยลดปริมาณขยะด้วย แต่จากข้อมูลปี 2556 นั้น พบว่า คนไทยใช้กล่องโฟมคนละ 1 กล่องต่อวัน และปีต่อๆมาก็ลดลงจากข้อมูลเดิมไม่มาก ลดได้ไม่ถึง 1% จึงอยากขอให้บรรดาผู้ประกอบการช่วยลดการใช้กล่องโฟมด้วย
“ส่วนกล่องชานอ้อยมีความอันตรายน้อยกว่าหรือไม่หากนำไปบรรจุอาหาร ก็ยังเป็นเรื่องที่ทางกรมอนามัยต้องเก็บข้อมูล และเฝ้าระวังต่อไปว่ากล่องแบบชานอ้อย จะมีสารตัวใดที่ละลายออกมาเหมือนกรณีของกล่องโฟมหรือไม่ และขอยืนยันว่า ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์กับบริษัทผลิตภาชนะทดแทนหรือกล่องชานอ้อยแน่นอน ไม่ได้มีใครถือหุ้นอยู่ แต่ที่พยายามรณรงค์เรื่องการลดใช้โฟมเนื่องจากมีสารที่เป็นปัจจัยกระตุ้นใก้เกิดมะเร็ง และต้องการลดปริมาณขยะจากโฟมที่จะเกิดขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและตัวประชาชนเอง” นพ.ดนัย กล่าว
รศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสไตลีนออกไซด์ที่สามารถก่อมะเร็งได้ ซึ่งการคาดคะเนความเสี่ยงมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ 1 ในล้าน ถือเป็นอัตราที่ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนมีความเสี่ยงใด ๆ เลย ซึ่งจากการที่ตนศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคำนวณโดยอิงค่าหน่วยบริโภคอาหารของคนไทย พบว่าแม้บริโภค 1 กล่องต่อวันก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเกินกว่า 1 ในล้าน เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมารณรงค์ให้ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพราะความร้อนจัดของอาหารเมื่อสัมผัสกับโฟม จะทำให้มีสารสไตรีน สารเบนซิน และ สารพทาเลท ออกมาปนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
ล่าสุด รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant” สรุปใจความได้ว่า การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แม้สารสไตรีนจะเป็นอันตรายต่อร่างกายจริง แต่กล่องโฟมที่ใช้นั้น เป็น “โพลีสไตรีน” ซึ่งเป็นสารสไตรีนเดี่ยว ๆ มาเรียงต่อกัน แต่มีความเสถียรสูงมาก คุณสมบัติทนทาน เบา เอามาเป่าขึ้นรูปง่าย ทนกรดด่างและความร้อนได้ดี ไม่ละลาย ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจากองค์กรทางอาหารทั่วโลก เพราะมีการวิจัยพบว่าเมื่อใช้น้ำร้อน ๆ ลงไปในแก้วที่ทำจากโฟมโพลีสไตรีน พบว่ามีสิทธิสลายพันธะทางเคมีทำให้เกิดสไตรีนหลุดออกมาแค่ 1 ใน พันเท่าของเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้เลิกใช้โดยอ้างเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ยุติธรรมต่อผู้ประกอบการกล่องโฟม แต่เห็นด้วยหากระบุว่าเป็นขยะที่ทำลายยาก รีไซเคิลยาก ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังระบุว่า การรณรงค์ให้ใช้กล่องอาหารชานอ้อยแทนนั้น อาจเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคุณหมอท่านหนึ่งนั้นขายกล่องอาหารชานอ้อย (อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/802701586527144)
ขณะที่ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดของ รศ.เจษฎา โดยระบุว่า สิ่งที่ รศ.เจษฎา กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว การที่เลี่ยงกล่องโฟมนั้นเป้นเรื่องดี แต่ประเด็นหลักมองว่าอยู่ที่เรื่องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ส่วนเรื่องสุขภาพมีบ้าง แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะกรมฯ เคยมีการตรวจสอบพบว่า สารสไตรีนจะออกมาจากกล่องโฟมได้ก็ต่อเมื่อถูกน้ำมันร้อนจัด ๆ แต่การระเหยออกมาของสารดังกล่าว ถือว่าไม่มากมาย ถ้าเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สารสไตรีน มีผลต่อระบบประสาท ส่วนกล่องโฟมทำมาจากโพลีสไตรีน ซึ่งไม่ใช่สารพิษโดยตรง ที่กังวลคือสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า เพราะหากไปสัมผัสกับอาหารที่มีน้ำมันร้อน ๆ ก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงได้รับสารสไตรีนได้ โดยกล่องโฟมผลิตจากโพลีสไตรีน มีอากาศเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 95 และมีโพลีสไตรีนร้อยละ 5 ตรงจุดนี้ที่กังวลกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากย่อยสลายยาก และหากนำไปเผาก็ทำให้เกิดแก๊สที่กระทบต่อภาวะเรือนกระจก ดังนั้น ต้องเลือกวัสดุสัมผัสอาหารให้เหมาะสมกับอาหารดีที่สุด
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารเชื่อมโยงกับมะเร็งโดยตรงนั้น อันที่จริงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ขนาดนั้น สิ่งที่สำคัญคือว่า โฟมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีสารสไตรีน ซึ่งจะออกมาปนเปื้อนกันอาหารเมื่อถูกความร้อนหรือความมัน ในเกณฑ์มาตรฐานสัก 1,000 มิลลิกรัม อาจจะละลายปนเปื้อนออกมาสัก 300 - 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าประชาชนกินอาหารที่มีสารสไตรีนปนเปื้อนอยู่เรื่อย ๆ สารตัวนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ผู้บริโภคต้องระมัดระวัง แม้จะเป็นปริมาณไม่เยอะ แต่ด้วยปริมาณ ความถี่ และระยะเวลาที่สะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงได้ สารสไตรีนอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกายได้หากสัมผัสสารที่มีความเข้มข้นสูง การบริโภคอาจจะไม่ส่งผลเท่าใด แต่ผู้ที่ต้องผลิตกล่องโฟมหรือผู้ที่ต้องทำลายกล่องโฟมนั้นจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง
นพ.ดนัย กล่าวต่อว่า กล่องชานอ้อยนั้นเป็นภาชนะทดแทน ถ้ามองในแง่ของสิ่งแวดล้อม กล่องโฟมถือว่ากำจัดยากกว่ามาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากล่องชานอ้อย เช่นถ้าเตากำจัดขยะไม่ได้มาตรฐานควันจากการกำจัดโฟมก็จะฟุ้งกระจาย ส่งผลกระทบต่อร่างกาย กล่องชานอ้อยสลายได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังมีราคาที่สูงกว่ากล่องโฟมอยู่ จึงได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนลดใช้กล่องโฟม เพื่อที่จะได้ช่วยลดปริมาณขยะด้วย แต่จากข้อมูลปี 2556 นั้น พบว่า คนไทยใช้กล่องโฟมคนละ 1 กล่องต่อวัน และปีต่อๆมาก็ลดลงจากข้อมูลเดิมไม่มาก ลดได้ไม่ถึง 1% จึงอยากขอให้บรรดาผู้ประกอบการช่วยลดการใช้กล่องโฟมด้วย
“ส่วนกล่องชานอ้อยมีความอันตรายน้อยกว่าหรือไม่หากนำไปบรรจุอาหาร ก็ยังเป็นเรื่องที่ทางกรมอนามัยต้องเก็บข้อมูล และเฝ้าระวังต่อไปว่ากล่องแบบชานอ้อย จะมีสารตัวใดที่ละลายออกมาเหมือนกรณีของกล่องโฟมหรือไม่ และขอยืนยันว่า ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์กับบริษัทผลิตภาชนะทดแทนหรือกล่องชานอ้อยแน่นอน ไม่ได้มีใครถือหุ้นอยู่ แต่ที่พยายามรณรงค์เรื่องการลดใช้โฟมเนื่องจากมีสารที่เป็นปัจจัยกระตุ้นใก้เกิดมะเร็ง และต้องการลดปริมาณขยะจากโฟมที่จะเกิดขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและตัวประชาชนเอง” นพ.ดนัย กล่าว
รศ.ดร.กรรนิการ์ ฉัตรสันติประภา อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสไตลีนออกไซด์ที่สามารถก่อมะเร็งได้ ซึ่งการคาดคะเนความเสี่ยงมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ 1 ในล้าน ถือเป็นอัตราที่ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนมีความเสี่ยงใด ๆ เลย ซึ่งจากการที่ตนศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งคำนวณโดยอิงค่าหน่วยบริโภคอาหารของคนไทย พบว่าแม้บริโภค 1 กล่องต่อวันก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเกินกว่า 1 ในล้าน เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่