บอร์ด กพฉ. เร่งแก้ปัญหา เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาฟรี หาข้อสรุปราคากลางร่วม รพ.เอกชน ก่อนออกเป็นประกาศกำหนด
วันนี้ (18 พ.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (บอร์ด กพฉ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ (EMCO) ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง ยังเหลือในประเด็นที่ต้องเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดราคากลาง (Fee Schedule) จึงได้มอบให้คณะอนุกรรมการบริหารระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานพยาบาล ที่มี พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัด สธ. เป็นประธาน และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เร่งหารือให้ได้ข้อสรุปร่วมกับ รพ.เอกชน และมอบให้อนุกรรมการด้านกฎหมาย เชิญคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมพิจารณาแนวทางการออกประกาศ ตาม พ.ร.บ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ประกาศกำหนดเรื่อง ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ประกาศกำหนดราคากลาง (Fee Schedule) และประกาศเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการ และสถานพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยฉุกฉินวิกฤต เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต ได้รับการช่วยชีวิตอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีระบบบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (EMCO Service Call Center) สำหรับประชาชนและสถานพยาบาล ในการตัดสินว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งทำงานเชิงรุก ตรวจสอบ และพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ และเสนอความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินครั้งต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 พ.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (บอร์ด กพฉ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ (EMCO) ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง ยังเหลือในประเด็นที่ต้องเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดราคากลาง (Fee Schedule) จึงได้มอบให้คณะอนุกรรมการบริหารระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานพยาบาล ที่มี พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัด สธ. เป็นประธาน และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เร่งหารือให้ได้ข้อสรุปร่วมกับ รพ.เอกชน และมอบให้อนุกรรมการด้านกฎหมาย เชิญคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมพิจารณาแนวทางการออกประกาศ ตาม พ.ร.บ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ประกาศกำหนดเรื่อง ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ประกาศกำหนดราคากลาง (Fee Schedule) และประกาศเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการ และสถานพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยฉุกฉินวิกฤต เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินวิกฤตถึงแก่ชีวิต ได้รับการช่วยชีวิตอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีระบบบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ (EMCO Service Call Center) สำหรับประชาชนและสถานพยาบาล ในการตัดสินว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งทำงานเชิงรุก ตรวจสอบ และพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ และเสนอความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินครั้งต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่