ไม่มีใครอยากโกง และทุกคนต่างก็รู้ว่าการโกงเป็นสิ่งไม่ดี แต่เรากลับพบเห็นการโกงในทุกระดับเต็มบ้านเต็มเมือง ทุจริตสอบครูผู้ช่วย นักเรียนไทยทุนโอดอสถูกจับได้โกงสอบที่ประเทศจีน ฯลฯ ล่าสุด ที่เป็นข่าวครึกโครมช่วง 2 - 3 วันนี้ ก็คือ สอบเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่จริงเรื่องการโกงมีมาโดยตลอด เพียงแต่ครั้งนี้มีการถูกจับได้ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กล้าที่จะออกมายอมรับและยกเลิกการสอบครั้งนั้นทันที
จะว่าไปแล้ว เราอยู่ท่ามกลางคำว่า “โกง” มาแทบจะทุกรูปแบบ ทุกวิชาชีพ เพียงแต่วิชาชีพแพทย์ถูกมองและยกระดับว่าต้องเป็นเด็กเก่งและคนดีเท่านั้น ทั้งที่จริง เราต้องการคนดีในทุกวิชาชีพ
คำถามก็คือ เราต้องการคนไม่โกง เรารู้ว่าการโกงไม่ดี แต่ทำไมเราพบเห็นการโกงมากมายเหลือเกิน
กรณีที่เกิดขึ้นของการสอบเข้าเรียนแพทย์ที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของเด็กแต่เพียงผู้เดียวหรือ เป็นเพราะนิสัยหรือสันดานไม่ดีของเด็กเหล่านั้นเท่านั้นหรือ
แม้จะมีการตัดสิทธิ์การสอบของเด็กเหล่านั้นแล้ว แต่บางคนก็บอกว่าต้องดำเนินคดีด้วย บางคนบอกเพราะพ่อแม่นั่นแหละ เด็กจะหาเงินที่ไหนมาตั้ง 800,000 บาท บางคนก็โทษว่า ร.ร.กวดวิชา ต้องโดนดำเนินคดีด้วย ทั้งหมดนี้ก็คงต้องว่ากันไปตามกระบวนการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
แต่สิ่งที่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษ ก็คือ แล้วมันมีเหตุอันใดที่ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งยอมทำทุกทาง แม้แต่โกงเพื่อขอให้สอบเข้าให้ได้ เพราะนี่ไม่ใช่กรณีแรก แต่เกิดเหตุเยี่ยงนี้มาแล้วหลายครั้ง
คำถามคือ ทำไมพวกเขาต้องโกงเล่า ลองสำรวจดูว่าระหว่างที่พวกเขาเหล่านั้นเติบโต พวกเขาต้องเจออะไรกันบ้าง และมีส่วนหล่อหลอมให้เดินมาถึงจุดกล้าโกงหรือไม่ !
ประการแรก - ค่านิยมของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเก่ง
ด้วยค่านิยมที่อยากให้ลูกเก่ง พร้อมกับใส่ความคาดหวังไว้ราวกับว่าลูกต้องได้ดั่งใจ เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่ก็จะเพ่งไปที่การเรียนวิชาการอย่างเดียว แทบไม่ได้ส่งเสริมทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ ให้ลูกเลย
ประการที่สอง - ครูยกย่องแต่เด็กเก่ง
ต้องยอมรับว่า เด็กเรียนเก่งมักจะเป็นคนโปรดของคุณครูจำนวนมาก ส่วนเด็กไม่เก่งเหรอ ครูจะมองด้วยสายตาอีกแบบ หรือแม้แต่เด็กหัวปานกลาง บางคนครูก็จำชื่อไม่ได้ด้วยซ้ำ เด็กจำนวนมากที่อยากอยู่ในสายตาของครูก็จะตั้งใจเรียน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดี แต่เด็กตั้งใจเรียนทุกคนก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียนเก่งทุกคน
ประการที่สาม - ระบบแพ้คัดออก
ที่ผ่านมา ระบบการศึกษาใช้วิธีแพ้คัดออก เพราะฉะนั้น การเรียนการสอนก็จะมุ่งเน้นไปที่การเรียนวิชาการ และเน้นเรียนเพื่อสอบมากกว่าเรียนเพื่อรู้ ยิ่งระบบการศึกษาในยุคปัจจุบันที่มีสารพัดการสอบแทบทุกระดับ ทั้งวัดผลในห้อง วัดผลระดับโรงเรียน วัดผลระดับอำเภอ วัดระดับจังหวัด แล้วยังมีการสอบวัดผลระดับชาติ ระดับประเทศ ระดับสากล คือ เต็มไปด้วยการสอบ ชีวิตของเด็กก็จะอยู่แต่ในลู่ของการสอบ
ประการที่สี่ - หาตัวเองไม่เจอ
ถึงจะเรียนมากมาย สอบมากมายขนาดไหน แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบอะไร หรือแม้แต่ทำสิ่งใดได้ดี เพราะเมื่อเน้นเพื่อการสอบ เพื่อการท่องจำ ก็อ่านเฉพาะเพื่อการสอบเท่านั้น ถ้ากลัวสอบไม่ได้ ก็ไปเรียนกวดวิชาเอาละกัน
ประการที่ห้า - พ่อแม่บังคับให้เรียน
บางคนหนักหนาถึงขนาดที่เมื่อถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อต้องเลือกแผนการศึกษา แล้วเด็กไม่ได้เป็นผู้กำหนดแผนการศึกษาของตัวเอง แต่พ่อแม่เป็นผู้เลือกให้ หรือบังคับให้เรียน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเพื่อสนองต่อความต้องการของพ่อแม่ที่อยากเรียนแล้วไม่ได้เรียน หรืออยากให้เรียน เพราะพ่อแม่เรียนมาทางนี้ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สร้างความกดดันให้ลูกทั้งสิ้น เพราะมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกกลางคันขณะเรียน เพราะไม่ชอบ หรือไม่สามารถเรียนได้
ประการที่หก - เน้นเรียนอาชีพที่ได้เงินเยอะ
เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ไม่ได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองถนัด แต่เรียนเพราะเหตุผลอื่น ๆ เช่น พ่อแม่บังคับให้เรียน เรียนตามเพื่อน หรือเลือกเรียนเพราะเมื่อจบแล้วสามารถทำงานได้เงินเยอะ ๆ
ประการที่เจ็ด - สังคมยกย่องคนมีเงินมากกว่าคนดี
เรื่องนี้เราพบเห็นในสังคมมากมาย เพราะผู้คนส่วนใหญ่มักยกย่อง หรือชื่นชมคนมีเงิน ก็เลยต้องการมีเงินมาก ๆ เพื่อให้ได้รับการยกย่อง โดยไม่ได้คำนึงว่าระหว่างทางที่มีเงิน หรือวิธีการที่ได้เงินมาก ๆ เป็นวิธีการที่สุจริตหรือเปล่า
ประการที่แปด - โกงข้อสอบตั้งแต่เล็กจนโต
เด็กจำนวนมากที่เติบโตขึ้นมาแล้วเคยลอกข้อสอบมีจำนวนไม่น้อย เพราะเป็นค่านิยมในหมู่เพื่อนที่คิดว่าการให้เพื่อนลอกข้อสอบแสดงว่าเป็นคนมีน้ำใจ เป็นเพื่อนที่ดี เพื่อนคนไหนไม่ให้ลอกข้อสอบ แสดงว่า เป็นเพื่อนที่ใช้ไม่ได้ เอาตัวรอด ไม่รักพวกพ้อง วิธีคิดเช่นนี้มีมาทุกยุคทุกสมัย และเด็กก็จะมีวิธีการที่จะลอกข้อสอบเพื่อนกันประหลาด ๆ เพื่อไม่ให้ถูกจับได้มาโดยตลอด เรียกว่าเป็นความเคยชินก็ได้
ประการที่เก้า - แบบอย่างคนโกงแล้วได้ดีมีไม่น้อย
เราต้องยอมรับความจริงว่า มีคนโกงจำนวนมากในสังคมที่เป็นผู้ใหญ่แล้วได้ดี มีคนนับหน้าถือตา ทั้งที่บางคนก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ามีพฤติกรรมที่ไม่ดี เป็นนักเลงหัวไม้ หรือมีพฤติกรรมโกงคนอื่น แต่ก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตก็มากมาย
นี่คือ 9 สมุฏฐานที่เป็นรากเหง้าของการโกงในสังคมไทย
ถ้าเราขจัดให้หมดไป หรือลดน้อยลงไปไม่ได้ เราก็จะพบเห็นการโกงในระดับที่ไม่น่าเชื่อไม่น่าเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
...และการโกงก็จะหยั่งรากลึกลงจนกลายเป็น DNA ของชนชาวเรา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ที่จริงเรื่องการโกงมีมาโดยตลอด เพียงแต่ครั้งนี้มีการถูกจับได้ และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กล้าที่จะออกมายอมรับและยกเลิกการสอบครั้งนั้นทันที
จะว่าไปแล้ว เราอยู่ท่ามกลางคำว่า “โกง” มาแทบจะทุกรูปแบบ ทุกวิชาชีพ เพียงแต่วิชาชีพแพทย์ถูกมองและยกระดับว่าต้องเป็นเด็กเก่งและคนดีเท่านั้น ทั้งที่จริง เราต้องการคนดีในทุกวิชาชีพ
คำถามก็คือ เราต้องการคนไม่โกง เรารู้ว่าการโกงไม่ดี แต่ทำไมเราพบเห็นการโกงมากมายเหลือเกิน
กรณีที่เกิดขึ้นของการสอบเข้าเรียนแพทย์ที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของเด็กแต่เพียงผู้เดียวหรือ เป็นเพราะนิสัยหรือสันดานไม่ดีของเด็กเหล่านั้นเท่านั้นหรือ
แม้จะมีการตัดสิทธิ์การสอบของเด็กเหล่านั้นแล้ว แต่บางคนก็บอกว่าต้องดำเนินคดีด้วย บางคนบอกเพราะพ่อแม่นั่นแหละ เด็กจะหาเงินที่ไหนมาตั้ง 800,000 บาท บางคนก็โทษว่า ร.ร.กวดวิชา ต้องโดนดำเนินคดีด้วย ทั้งหมดนี้ก็คงต้องว่ากันไปตามกระบวนการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
แต่สิ่งที่ดิฉันสนใจเป็นพิเศษ ก็คือ แล้วมันมีเหตุอันใดที่ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งยอมทำทุกทาง แม้แต่โกงเพื่อขอให้สอบเข้าให้ได้ เพราะนี่ไม่ใช่กรณีแรก แต่เกิดเหตุเยี่ยงนี้มาแล้วหลายครั้ง
คำถามคือ ทำไมพวกเขาต้องโกงเล่า ลองสำรวจดูว่าระหว่างที่พวกเขาเหล่านั้นเติบโต พวกเขาต้องเจออะไรกันบ้าง และมีส่วนหล่อหลอมให้เดินมาถึงจุดกล้าโกงหรือไม่ !
ประการแรก - ค่านิยมของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกเก่ง
ด้วยค่านิยมที่อยากให้ลูกเก่ง พร้อมกับใส่ความคาดหวังไว้ราวกับว่าลูกต้องได้ดั่งใจ เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่ก็จะเพ่งไปที่การเรียนวิชาการอย่างเดียว แทบไม่ได้ส่งเสริมทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ ให้ลูกเลย
ประการที่สอง - ครูยกย่องแต่เด็กเก่ง
ต้องยอมรับว่า เด็กเรียนเก่งมักจะเป็นคนโปรดของคุณครูจำนวนมาก ส่วนเด็กไม่เก่งเหรอ ครูจะมองด้วยสายตาอีกแบบ หรือแม้แต่เด็กหัวปานกลาง บางคนครูก็จำชื่อไม่ได้ด้วยซ้ำ เด็กจำนวนมากที่อยากอยู่ในสายตาของครูก็จะตั้งใจเรียน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดี แต่เด็กตั้งใจเรียนทุกคนก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียนเก่งทุกคน
ประการที่สาม - ระบบแพ้คัดออก
ที่ผ่านมา ระบบการศึกษาใช้วิธีแพ้คัดออก เพราะฉะนั้น การเรียนการสอนก็จะมุ่งเน้นไปที่การเรียนวิชาการ และเน้นเรียนเพื่อสอบมากกว่าเรียนเพื่อรู้ ยิ่งระบบการศึกษาในยุคปัจจุบันที่มีสารพัดการสอบแทบทุกระดับ ทั้งวัดผลในห้อง วัดผลระดับโรงเรียน วัดผลระดับอำเภอ วัดระดับจังหวัด แล้วยังมีการสอบวัดผลระดับชาติ ระดับประเทศ ระดับสากล คือ เต็มไปด้วยการสอบ ชีวิตของเด็กก็จะอยู่แต่ในลู่ของการสอบ
ประการที่สี่ - หาตัวเองไม่เจอ
ถึงจะเรียนมากมาย สอบมากมายขนาดไหน แต่เด็กส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบอะไร หรือแม้แต่ทำสิ่งใดได้ดี เพราะเมื่อเน้นเพื่อการสอบ เพื่อการท่องจำ ก็อ่านเฉพาะเพื่อการสอบเท่านั้น ถ้ากลัวสอบไม่ได้ ก็ไปเรียนกวดวิชาเอาละกัน
ประการที่ห้า - พ่อแม่บังคับให้เรียน
บางคนหนักหนาถึงขนาดที่เมื่อถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อต้องเลือกแผนการศึกษา แล้วเด็กไม่ได้เป็นผู้กำหนดแผนการศึกษาของตัวเอง แต่พ่อแม่เป็นผู้เลือกให้ หรือบังคับให้เรียน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเพื่อสนองต่อความต้องการของพ่อแม่ที่อยากเรียนแล้วไม่ได้เรียน หรืออยากให้เรียน เพราะพ่อแม่เรียนมาทางนี้ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สร้างความกดดันให้ลูกทั้งสิ้น เพราะมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกกลางคันขณะเรียน เพราะไม่ชอบ หรือไม่สามารถเรียนได้
ประการที่หก - เน้นเรียนอาชีพที่ได้เงินเยอะ
เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ไม่ได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองถนัด แต่เรียนเพราะเหตุผลอื่น ๆ เช่น พ่อแม่บังคับให้เรียน เรียนตามเพื่อน หรือเลือกเรียนเพราะเมื่อจบแล้วสามารถทำงานได้เงินเยอะ ๆ
ประการที่เจ็ด - สังคมยกย่องคนมีเงินมากกว่าคนดี
เรื่องนี้เราพบเห็นในสังคมมากมาย เพราะผู้คนส่วนใหญ่มักยกย่อง หรือชื่นชมคนมีเงิน ก็เลยต้องการมีเงินมาก ๆ เพื่อให้ได้รับการยกย่อง โดยไม่ได้คำนึงว่าระหว่างทางที่มีเงิน หรือวิธีการที่ได้เงินมาก ๆ เป็นวิธีการที่สุจริตหรือเปล่า
ประการที่แปด - โกงข้อสอบตั้งแต่เล็กจนโต
เด็กจำนวนมากที่เติบโตขึ้นมาแล้วเคยลอกข้อสอบมีจำนวนไม่น้อย เพราะเป็นค่านิยมในหมู่เพื่อนที่คิดว่าการให้เพื่อนลอกข้อสอบแสดงว่าเป็นคนมีน้ำใจ เป็นเพื่อนที่ดี เพื่อนคนไหนไม่ให้ลอกข้อสอบ แสดงว่า เป็นเพื่อนที่ใช้ไม่ได้ เอาตัวรอด ไม่รักพวกพ้อง วิธีคิดเช่นนี้มีมาทุกยุคทุกสมัย และเด็กก็จะมีวิธีการที่จะลอกข้อสอบเพื่อนกันประหลาด ๆ เพื่อไม่ให้ถูกจับได้มาโดยตลอด เรียกว่าเป็นความเคยชินก็ได้
ประการที่เก้า - แบบอย่างคนโกงแล้วได้ดีมีไม่น้อย
เราต้องยอมรับความจริงว่า มีคนโกงจำนวนมากในสังคมที่เป็นผู้ใหญ่แล้วได้ดี มีคนนับหน้าถือตา ทั้งที่บางคนก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ามีพฤติกรรมที่ไม่ดี เป็นนักเลงหัวไม้ หรือมีพฤติกรรมโกงคนอื่น แต่ก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตก็มากมาย
นี่คือ 9 สมุฏฐานที่เป็นรากเหง้าของการโกงในสังคมไทย
ถ้าเราขจัดให้หมดไป หรือลดน้อยลงไปไม่ได้ เราก็จะพบเห็นการโกงในระดับที่ไม่น่าเชื่อไม่น่าเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
...และการโกงก็จะหยั่งรากลึกลงจนกลายเป็น DNA ของชนชาวเรา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่