สปสช.เร่งกระจายงบดูแลผู้สูงอายุลงพื้นที่ ปลัด สธ.เผยหลายพื้นที่ทำงานได้ดี เตรียมประเมินผลการทำงานกลางปี 2559 ทั่วประเทศ หวังรู้จำนวนผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงงบประมาณ 600 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ ว่า งบดังกล่าวจะใช้ในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงร่วมกันระหว่าง สปสช.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ ผู้จัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ซึ่งจะเป็นพยาบาล หรือบุคลากรสาธารณสุข ทำหน้าที่สำรวจว่า มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงจำนวนเท่าไร จากนั้นจะทำงานร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมขึ้นทะเบียน โดยการทำงานจะต้องผ่านการวางแผนร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจุดนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ เรียกว่า Care Plan
นพ.โสภณ กล่าวว่า งบประมาณ 600 ล้านบาท สปสช.จะจัดสรรไปยังโรงพยาบาลชุมชนพื้นที่ละ 100,000 บาท กระจายทั่ว 1,000 ตำบล ในปี 2559 เพื่อทำการฝึกอบรมบุคลากรผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบริหารจัดการต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และอีก 500 ล้านบาท ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาล และท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 1,000 แห่ง ในอัตรา 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1 รายต่อปี เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ด้านการแพทย์ที่ได้กำหนดไว้ เช่น ตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล การเยี่ยมบ้าน สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อุปกรณ์เครื่องช่วยทางการแพทย์ ส่วนบริการด้านสังคมก็เป็นงบของ อปท.อยู่แล้ว เช่น บริการช่วยเหลือเบี้ยยังชีพ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อุปกรณ์ช่วยเหลือทางสังคม กิจกรรมนอกบ้าน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นงบจากท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันไป
“จากการดำเนินการเบื้องต้นในแต่ละพื้นที่เดินหน้าเรื่องนี้อยู่ ยกตัวอย่าง เทศบาลตำบลบางสีทอง ดำเนินการเรื่องนี้ได้ดี มีแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสีทอง ศูนย์สิรินธร และบ้านนนทภูมิ วางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ มีศูนย์ชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และเชื่อว่า ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ทำงานได้ดีเช่นกัน โดยกลางปี 2559 จะมีการประเมินผลการทำงานเรื่องนี้ทั่วประเทศ โดยจะทำให้ทราบว่า มีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวนเท่าไร ติดเตียงจำนวนเท่าใด ติดสังคม คือ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกเท่าไร และมีการดำเนินการดูแล และช่วยเหลือของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ซึ่งจะเห็นภาพรวมทั้งหมดได้” ปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงงบประมาณ 600 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ ว่า งบดังกล่าวจะใช้ในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงร่วมกันระหว่าง สปสช.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน คือ ผู้จัดการระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ซึ่งจะเป็นพยาบาล หรือบุคลากรสาธารณสุข ทำหน้าที่สำรวจว่า มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงจำนวนเท่าไร จากนั้นจะทำงานร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมขึ้นทะเบียน โดยการทำงานจะต้องผ่านการวางแผนร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจุดนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ท้องถิ่นนั้นๆ เรียกว่า Care Plan
นพ.โสภณ กล่าวว่า งบประมาณ 600 ล้านบาท สปสช.จะจัดสรรไปยังโรงพยาบาลชุมชนพื้นที่ละ 100,000 บาท กระจายทั่ว 1,000 ตำบล ในปี 2559 เพื่อทำการฝึกอบรมบุคลากรผู้ดูแลผู้สูงอายุ และบริหารจัดการต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และอีก 500 ล้านบาท ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาล และท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 1,000 แห่ง ในอัตรา 5,000 บาทต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 1 รายต่อปี เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ด้านการแพทย์ที่ได้กำหนดไว้ เช่น ตรวจคัดกรอง ประเมินความต้องการดูแล การเยี่ยมบ้าน สร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อุปกรณ์เครื่องช่วยทางการแพทย์ ส่วนบริการด้านสังคมก็เป็นงบของ อปท.อยู่แล้ว เช่น บริการช่วยเหลือเบี้ยยังชีพ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อุปกรณ์ช่วยเหลือทางสังคม กิจกรรมนอกบ้าน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นงบจากท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ก็จะแตกต่างกันไป
“จากการดำเนินการเบื้องต้นในแต่ละพื้นที่เดินหน้าเรื่องนี้อยู่ ยกตัวอย่าง เทศบาลตำบลบางสีทอง ดำเนินการเรื่องนี้ได้ดี มีแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสีทอง ศูนย์สิรินธร และบ้านนนทภูมิ วางแผนทำงานอย่างเป็นระบบ มีศูนย์ชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ และเชื่อว่า ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ทำงานได้ดีเช่นกัน โดยกลางปี 2559 จะมีการประเมินผลการทำงานเรื่องนี้ทั่วประเทศ โดยจะทำให้ทราบว่า มีผู้สูงอายุติดบ้านจำนวนเท่าไร ติดเตียงจำนวนเท่าใด ติดสังคม คือ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกเท่าไร และมีการดำเนินการดูแล และช่วยเหลือของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ซึ่งจะเห็นภาพรวมทั้งหมดได้” ปลัด สธ.กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่