ปลัด สธ.เตรียมดึงแพทย์เกษียณกลับเข้าทำงานร่วมทีมหมอครอบครัว บริการสุขภาพปฐมภูมิ เน้นดูแลคนเขตเมือง พื้นที่เข้าถึงบริการยาก เล็งนำร่องจังหวัดละ 1 แห่ง
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สธ.มีนโยบายในการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Clusters) เพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตเมือง ตลอดจนพื้นที่ซับซ้อนที่เข้าถึงบริการยาก โดยจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสหสาขาวิชาชีพทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพประชาชน โดยเปรียบเสมือนการมีทีมแพทย์ประจำตัว โดยอาจรวมทีมแพทย์ และสหวิชาชีพ 3 ทีม ทำงานอยู่ใน 1 พื้นที่บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยรับผิดชอบดูแลประชาชนประมาณ 10,000 คน ซึ่งการทำงานของทีมแพทย์จะไม่ใช่รักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย โดยระยะแรกจะดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
“ขณะนี้ยังมีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวไม่มากนัก จึงมีแนวคิดที่จะเชิญแพทย์ที่เกษียณไปแล้ว แต่ยังมีความสามารถที่จะดูแลประชาชนได้กลับเข้ามาทำงานที่พื้นที่บริการสุขภาพปฐมภูมิที่จะจัดตั้งขึ้น โดยอาจจะให้เข้ารับการอบรมฝึกเรื่องเวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่มเติม ในปัจจุบัน หน่วยบริการหลายพื้นที่ เช่น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ก็มีการจ้างแพทย์ที่เกษียณกลับเข้ามาทำงานในการตรวจผู้ป่วยนอก และดูแลสุขภาพประชาชนอยู่แล้ว จากนี้อาจประกาศเป็นเชิงนโยบายในการดำเนินการ พร้อมกันนี้ จะมีการส่งเสริมให้แพทย์จบใหม่ และนักศึกษาแพทย์ให้ความสนใจในการเรียนเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้นด้วย” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวเสริมว่า จากการดำเนินงานเรื่องบริการสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่เขตเมือง จ.ขอนแก่น พบว่า สัดส่วนทีมการดูแลประชาชน 30,000 คน ต่อ 1 พื้นที่บริการเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ ส่วนแพทย์ที่จะประจำที่หน่วยปฐมภูมิที่ยังไม่เพียงพอนั้น นอกจากจ้างแพทย์ที่เกษียณไปแล้วกลับเข้าทำงานในภาระหน้าที่นี้ อยากเสนอให้แพทย์จบใหม่ที่เดิมต้องไปใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นเวลา 3 ปีนั้น เมื่อใช้ทุนในปี 2-3 ให้มาทำงานใน รพศ./รพท. ที่เป็นเขตเมืองแทนอย่างน้อยปีละ 1 คนต่อพื้นที่ เพื่อทำงานบริการปฐมภูมิในพื้นที่เขตเมือง เพราะงานเรื่องการบริการปฐมภูมิเขตเมืองยังจำเป็นต้องมีเช่นเดียวกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สธ.มีนโยบายในการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Clusters) เพื่อให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตเมือง ตลอดจนพื้นที่ซับซ้อนที่เข้าถึงบริการยาก โดยจะมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสหสาขาวิชาชีพทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพประชาชน โดยเปรียบเสมือนการมีทีมแพทย์ประจำตัว โดยอาจรวมทีมแพทย์ และสหวิชาชีพ 3 ทีม ทำงานอยู่ใน 1 พื้นที่บริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยรับผิดชอบดูแลประชาชนประมาณ 10,000 คน ซึ่งการทำงานของทีมแพทย์จะไม่ใช่รักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ อีกทั้งส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย โดยระยะแรกจะดำเนินการในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
“ขณะนี้ยังมีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวไม่มากนัก จึงมีแนวคิดที่จะเชิญแพทย์ที่เกษียณไปแล้ว แต่ยังมีความสามารถที่จะดูแลประชาชนได้กลับเข้ามาทำงานที่พื้นที่บริการสุขภาพปฐมภูมิที่จะจัดตั้งขึ้น โดยอาจจะให้เข้ารับการอบรมฝึกเรื่องเวชศาสตร์ครอบครัวเพิ่มเติม ในปัจจุบัน หน่วยบริการหลายพื้นที่ เช่น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ก็มีการจ้างแพทย์ที่เกษียณกลับเข้ามาทำงานในการตรวจผู้ป่วยนอก และดูแลสุขภาพประชาชนอยู่แล้ว จากนี้อาจประกาศเป็นเชิงนโยบายในการดำเนินการ พร้อมกันนี้ จะมีการส่งเสริมให้แพทย์จบใหม่ และนักศึกษาแพทย์ให้ความสนใจในการเรียนเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้นด้วย” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผอ.โรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวเสริมว่า จากการดำเนินงานเรื่องบริการสุขภาพปฐมภูมิในพื้นที่เขตเมือง จ.ขอนแก่น พบว่า สัดส่วนทีมการดูแลประชาชน 30,000 คน ต่อ 1 พื้นที่บริการเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ ส่วนแพทย์ที่จะประจำที่หน่วยปฐมภูมิที่ยังไม่เพียงพอนั้น นอกจากจ้างแพทย์ที่เกษียณไปแล้วกลับเข้าทำงานในภาระหน้าที่นี้ อยากเสนอให้แพทย์จบใหม่ที่เดิมต้องไปใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นเวลา 3 ปีนั้น เมื่อใช้ทุนในปี 2-3 ให้มาทำงานใน รพศ./รพท. ที่เป็นเขตเมืองแทนอย่างน้อยปีละ 1 คนต่อพื้นที่ เพื่อทำงานบริการปฐมภูมิในพื้นที่เขตเมือง เพราะงานเรื่องการบริการปฐมภูมิเขตเมืองยังจำเป็นต้องมีเช่นเดียวกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่