วัยรุ่นสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น เหตุขายในเว็บไซต์โจ๋งครึ่มมากกว่า 50 เว็บไซต์ บอร์ดควบคุมยาสูบชาติเร่งแก้ปัญหา สั่งวิเคราะห์การกำหนดโซนนิงรอบสถานศึกษา บังคับใช้ กม. ควบคุมโฆษณา กำหนดเป็นตัวชี้วัด ศธ. พร้อมไฟเขียวตั้งอนุฯ คุมยาสูบระดับจังหวัด มี สสส. หนุนงบ
วันนี้ (25 ก.พ.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการ ว่า เยาวชนยังสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยผลการเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของกรมควบคุมโรคในเดือนมกราคม 2559 พบว่า มีเว็บไซต์ที่โฆษณาขายบุหรี่มากถึง 50 เว็บไซต์ บางเว็บไซต์มีผู้เข้าชมมากกว่า 2 ล้านครั้ง ทำให้ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2547 พบร้อยละ 6.58 เพิ่มเป็นร้อยละ 8.25 ในปี 2557 เฉลี่ยร้อยละ 0.17 ต่อปี ทั้งที่ก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 2534 - 2547 อัตราการสูบบุหรี่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.42 ต่อปี ที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ และคณะกรรมการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันมิให้เกิดผู้เสพรายใหม่และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบที่มุ่งเป้าไปยังเด็ก เยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ เร่งรัดการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ดำเนินการ 3 มาตรการ ได้แก่
1. เร่งรัดให้มีการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบบริเวณรอบสถานศึกษา และพื้นที่เสี่ยงที่เยาวชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย 2. การโฆษณา/การขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในการตลาดออนไลน์ โซเชียลมีเดีย โดยให้กรมควบคุมโรค ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา เฝ้าระวัง กำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาและการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อออนไลน์และระบบอินเตอร์เน็ต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3. การกำหนดเรื่องบุหรี่เป็นตัวชี้วัดในการประเมินสถานศึกษาตามระบบการนิเทศและประเมินผลสถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15 - 18 ปี โดยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัดทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบในระดับพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะสนับสนุนงบประมาณลงไปในแต่ละจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานจากสสส.ว่าดำเนินการไปแล้วกว่า 30 จังหวัด
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับการทำงานของภาคประชาสังคมที่รับงบสนับสนุนจาก สสส. เช่นกันหรือไม่ รมว.สธ. กล่าวว่า เป็นเรื่องรายละเอียดที่สสส.จะต้องไปพิจารณา อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เจอในขณะนี้คือเด็กอายุ 14 - 18 ปี สูบบุหรี่มากขึ้นทั้งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ขายบุหรี่ให้คนอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะฉะนั้น ต้องดำเนินการทำให้กฎหมายเรื่องนี้ศักดิ์สิทธิ์
นพ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าร่างพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ....สธ. ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ. นี้ จ ะช่วยลดกลุ่มนักสูบ จากนี้จะเดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น และไม่กระทบกับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยาสูบ เชื่อว่าชาวไร่จะเข้าใจ และสามารถเดินหน้าต่อไปได้ นอกจากนี้ ได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2559 ขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ เฉพาะกรณีการติดต่อ หรือการขอเข้าพบระหว่างเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกับผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเท่านั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลใช้บังคับต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ก.พ.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการ ว่า เยาวชนยังสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ โดยผลการเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ตของกรมควบคุมโรคในเดือนมกราคม 2559 พบว่า มีเว็บไซต์ที่โฆษณาขายบุหรี่มากถึง 50 เว็บไซต์ บางเว็บไซต์มีผู้เข้าชมมากกว่า 2 ล้านครั้ง ทำให้ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2547 พบร้อยละ 6.58 เพิ่มเป็นร้อยละ 8.25 ในปี 2557 เฉลี่ยร้อยละ 0.17 ต่อปี ทั้งที่ก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 2534 - 2547 อัตราการสูบบุหรี่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.42 ต่อปี ที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ และคณะกรรมการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การป้องกันมิให้เกิดผู้เสพรายใหม่และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบที่มุ่งเป้าไปยังเด็ก เยาวชน และนักสูบหน้าใหม่ เร่งรัดการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ดำเนินการ 3 มาตรการ ได้แก่
1. เร่งรัดให้มีการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบบริเวณรอบสถานศึกษา และพื้นที่เสี่ยงที่เยาวชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย 2. การโฆษณา/การขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในการตลาดออนไลน์ โซเชียลมีเดีย โดยให้กรมควบคุมโรค ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา เฝ้าระวัง กำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาและการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่อออนไลน์และระบบอินเตอร์เน็ต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3. การกำหนดเรื่องบุหรี่เป็นตัวชี้วัดในการประเมินสถานศึกษาตามระบบการนิเทศและประเมินผลสถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15 - 18 ปี โดยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัดทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบในระดับพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะสนับสนุนงบประมาณลงไปในแต่ละจังหวัด ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานจากสสส.ว่าดำเนินการไปแล้วกว่า 30 จังหวัด
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับการทำงานของภาคประชาสังคมที่รับงบสนับสนุนจาก สสส. เช่นกันหรือไม่ รมว.สธ. กล่าวว่า เป็นเรื่องรายละเอียดที่สสส.จะต้องไปพิจารณา อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เจอในขณะนี้คือเด็กอายุ 14 - 18 ปี สูบบุหรี่มากขึ้นทั้งที่กฎหมายห้ามไม่ให้ขายบุหรี่ให้คนอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะฉะนั้น ต้องดำเนินการทำให้กฎหมายเรื่องนี้ศักดิ์สิทธิ์
นพ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าร่างพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ....สธ. ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ. นี้ จ ะช่วยลดกลุ่มนักสูบ จากนี้จะเดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น และไม่กระทบกับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกยาสูบ เชื่อว่าชาวไร่จะเข้าใจ และสามารถเดินหน้าต่อไปได้ นอกจากนี้ ได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2559 ขึ้น โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ เฉพาะกรณีการติดต่อ หรือการขอเข้าพบระหว่างเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกับผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบเท่านั้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการลงประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลใช้บังคับต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่