กรมการแพทย์จัดประชุมวิชาการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง หวังยกระดับมาตรฐานดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป้นมาตรฐานเดียว เผยค่าใช้จ่าย 6 เดือนสุดท้ายของชีวิตมูลค่าสูงมากกว่าทุกช่วงชีวิต
วันนี้ (24 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการประชุม 2ndNational Palliative and Hospice Care Conference ว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์และเทคโนโลยีได้ชะลอความตายและยืดชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาวขึ้น เมื่อระยะของโรคลุกลามเข้าสู่ระยะท้าย รักษาไม่หาย ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่กับความทุกข์ด้านร่างกาย เช่น ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด กระวนกระวาย ซึมเศร้า หายใจลำบาก ท้องผูก และอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ ทำให้ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ ตลอดจนช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในช่วงหกเดือนสุดท้ายของชีวิตมีมูลค่าสูงมากกว่า ช่วงใด ๆ ของชีวิต คิดเป็นร้อยละ 8 - 11 ต่อปีของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเป็นร้อยละ 10 - 29 ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในจากการศึกษา พบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,780 บาท ในปีสุดท้ายของชีวิต และมีวันนอนเฉลี่ย 29.2 วันต่อคน
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ให้ได้รับการดูแลจากบุคลากรการแพทย์ จนกระทั่งอยู่ในวาระท้ายของชีวิตอย่างต่อเนื่องโดยเชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงบ้าน เป็นการรักษาโรคตามมาตรฐานพร้อมกับบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณตามหลักศาสนา ผู้ป่วย และญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษา โดยสนับสนุนให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งจัดตั้งหน่วยดูแลและทีมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกัน และลดความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงดูแลครอบครัวของผู้ป่วยในทุกมิติ และจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษา ประสานงานส่งต่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยกรมการแพทย์ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จึงได้จัดการประชุม 2ndNational Palliative and Hospice Care Conference ขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแก่บุคลากรทางการแพทย์ และสร้างเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และร่วมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการดำเนินการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย สมาคมพยาบาลโรคมะเร็ง
แห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลแบบประคับประคอง สภาการพยาบาล เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและผลักดันผลงานรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายและแนวทางการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน เพื่อให้การดูแลสุขภาพคนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับและทุกมิติ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำมาตรฐานที่จำเป็นของระบบดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐาน หรือขั้นต่ำของครุภัณฑ์ การบริการและสถานที่ที่มีความจำเป็นในการจัดหอผู้ป่วย หรือมุมให้บริการตามระบบการดูแล ผู้ป่วยแบบประคับประคอง ให้ครอบคลุมในทุกบริบทจำนวน 11 กลุ่มโรค อาทิ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งจัดให้มีโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประชาคมอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับประเทศต่าง ๆ และนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดต่อไป โดยในปีที่ผ่านมามีการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับกลุ่มโรคและวัย ให้เหมาะสมกับสถานพยาบาลแต่ละระดับตามวัฒนธรรมประเพณีไทย ตั้งแต่ระดับสถาบันเชี่ยวชาญเฉพาะโรคและโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง และขยายไปสู่โรงพยาบาลชุมชน 300 แห่งทั่วประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 ก.พ.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการประชุม 2ndNational Palliative and Hospice Care Conference ว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์และเทคโนโลยีได้ชะลอความตายและยืดชีวิตมนุษย์ให้ยืนยาวขึ้น เมื่อระยะของโรคลุกลามเข้าสู่ระยะท้าย รักษาไม่หาย ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่กับความทุกข์ด้านร่างกาย เช่น ทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด กระวนกระวาย ซึมเศร้า หายใจลำบาก ท้องผูก และอาการไม่สุขสบายอื่น ๆ ทำให้ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ ตลอดจนช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในช่วงหกเดือนสุดท้ายของชีวิตมีมูลค่าสูงมากกว่า ช่วงใด ๆ ของชีวิต คิดเป็นร้อยละ 8 - 11 ต่อปีของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเป็นร้อยละ 10 - 29 ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในจากการศึกษา พบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 80,780 บาท ในปีสุดท้ายของชีวิต และมีวันนอนเฉลี่ย 29.2 วันต่อคน
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ให้ได้รับการดูแลจากบุคลากรการแพทย์ จนกระทั่งอยู่ในวาระท้ายของชีวิตอย่างต่อเนื่องโดยเชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงบ้าน เป็นการรักษาโรคตามมาตรฐานพร้อมกับบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณตามหลักศาสนา ผู้ป่วย และญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษา โดยสนับสนุนให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งจัดตั้งหน่วยดูแลและทีมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ป้องกัน และลดความทุกข์ทรมาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงดูแลครอบครัวของผู้ป่วยในทุกมิติ และจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษา ประสานงานส่งต่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยกรมการแพทย์ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จึงได้จัดการประชุม 2ndNational Palliative and Hospice Care Conference ขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแก่บุคลากรทางการแพทย์ และสร้างเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และร่วมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการดำเนินการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย สมาคมพยาบาลโรคมะเร็ง
แห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลแบบประคับประคอง สภาการพยาบาล เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและผลักดันผลงานรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายและแนวทางการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน เพื่อให้การดูแลสุขภาพคนไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับและทุกมิติ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำมาตรฐานที่จำเป็นของระบบดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐาน หรือขั้นต่ำของครุภัณฑ์ การบริการและสถานที่ที่มีความจำเป็นในการจัดหอผู้ป่วย หรือมุมให้บริการตามระบบการดูแล ผู้ป่วยแบบประคับประคอง ให้ครอบคลุมในทุกบริบทจำนวน 11 กลุ่มโรค อาทิ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งจัดให้มีโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประชาคมอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับประเทศต่าง ๆ และนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดต่อไป โดยในปีที่ผ่านมามีการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับกลุ่มโรคและวัย ให้เหมาะสมกับสถานพยาบาลแต่ละระดับตามวัฒนธรรมประเพณีไทย ตั้งแต่ระดับสถาบันเชี่ยวชาญเฉพาะโรคและโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง และขยายไปสู่โรงพยาบาลชุมชน 300 แห่งทั่วประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่