กรมศิลป์ที่ 12 นครราชสีมา พบเทวรูปหินทราย อายุ 800 ปี ที่โบราณสถานปรางค์ครบุรี
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ได้รายงานผลการตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบขณะดำเนินการรื้อส่วนฐานบรรณาลัย ระหว่างการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานปรางค์ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา คือประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ วัชรปาณีหินทราย จำนวน 1 องค์ ขนาดสูง 63 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร หนา 20 ศิลปะขอมแบบบายน หรือศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 ขณะนี้ทางสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ได้นำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เพื่อทำการอนุรักษ์ และจะได้นำมาจัดแสดงต่อไป
สำหรับโบราณสถานปรางค์ครบุรี เป็นอโรคยศาล หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณ พ.ศ. 1724 - 1763 หรือในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นกลุ่มอาคาร ประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างด้วยศิลาแลง หินทราย และอิฐ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บรรณาลัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลง มีประตูทางเข้าทางทิศตะวันตก กำแพงแก้ว ซึ่งล้อมรอบปราสาทประธานและบรรณาลัย มีซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 53 หน้า 1529 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และ ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณ เล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ได้รายงานผลการตรวจสอบโบราณวัตถุที่พบขณะดำเนินการรื้อส่วนฐานบรรณาลัย ระหว่างการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานปรางค์ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา คือประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ วัชรปาณีหินทราย จำนวน 1 องค์ ขนาดสูง 63 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร หนา 20 ศิลปะขอมแบบบายน หรือศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 ขณะนี้ทางสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ได้นำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เพื่อทำการอนุรักษ์ และจะได้นำมาจัดแสดงต่อไป
สำหรับโบราณสถานปรางค์ครบุรี เป็นอโรคยศาล หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณ พ.ศ. 1724 - 1763 หรือในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นกลุ่มอาคาร ประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างด้วยศิลาแลง หินทราย และอิฐ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บรรณาลัยอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลง มีประตูทางเข้าทางทิศตะวันตก กำแพงแก้ว ซึ่งล้อมรอบปราสาทประธานและบรรณาลัย มีซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 53 หน้า 1529 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และ ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณ เล่มที่ 98 ตอนที่ 104 วันที่ 30 มิถุนายน 2524
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่