กรมศิลป์เตรียมแผนทดลองยกเสาเอกพระเมรุมาศต้นแรก วิศวกรมั่นใจยอดฉัตรพระเมรุมาศต้านแรงลม ด้านช่างประติมากรรมเริ่มปั้นครุฑ สูง 2 เมตร ศิลปะรัชกาลที่ ๙
นายอารักษ์ สังหิตกุล อดีตอธิบดีกรมศิลปากร วิศวกร ที่ปรึกษาวิศวกรรมด้านโครงสร้างพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม สำนักสถาปัตยกรรม ได้ลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมแผนสำหรับรองรับการทดลองยกเสาเอกต้นแรก หลังจากเคลื่อนย้ายคานเหล็ก หรือ Supper truss จากโรงงานที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี จะมาซักซ้อมในวันที่ 24 ก.พ. นี้ เพื่อเตรียมการสำหรับพิธีบวงสรวงยกเสาเอกพระเมรุมาศจริงในวันที่ 27 ก.พ. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธาน
นายเจษฎา กล่าวว่า การทดสอบการติดตั้งฐานโครงสร้างเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่พบปัญหาใดๆ ซึ่งการติดตั้งฐานโครงสร้างเพื่อรับเสาเอกพระเมรุมาศนี้ ก็เพื่อกระจายแรงของตัวเสาลงสู่ฐานรากให้เท่าๆ กัน ทั้งนี้ หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว รองนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาทดสอบการติดตั้งเสาเอก ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสนามหลวง โดยโรงงานจะทยอยส่งเสาอีก 3 เสา มาให้จนครบภายในวัน 25 ก.พ. และด้วยเพราะโครงสร้างทั้งหมดเป็นเหล็ก รูปแบบสถาปัตยกรรมทรงเสาสอบ จึงเอียงเข้าหาศูนย์กลาง จึงต้องเร่งประกอบให้แล้วเสร็จพร้อมกันทั้ง 4 ต้น และต้องมีโครงสร้างช่วยยึดเพื่อป้องกันเสาเซ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการลงเสาเอกได้มีการเทฐานรากรองรับแล้วทั้ง 9 จุด แบ่งเป็น หอเปลื้อง 4 จุด สร้างหรือลำสร้าง 4 จุด และฐานรากบุษบกอีก 1 จุด โดยคาดว่าโครงสร้างพระเมรุมาศ จะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่อไป
“ความสูงของพระเมรุมาศตั้งแต่ฐานรากจนถึงยอดฉัตรนั้นจะอยู่ที่ 50.49 เมตร ดังนั้นการออกแบบสำหรับการรองรับบริเวณยอดฉัตรนั้น จึงคำนึงถึงการรองรับการต้านแรงลมในระดับสูงสุดที่ 160 กม./ตารางเมตร ซึ่งถือว่าเป็นไปตามค่าเฉลี่ยการต้านแรงลมที่สูงสุดตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. ควบคุมอาคารของกรุงเทพฯ จึงมั่นใจในการวางระบบฐานโครงสร้าง ว่า มีความมั่นคงสามารถต้านทานแรงลมได้แน่นอน อีกทั้งในขั้นตอนการวางระบบนั้น ยังได้จัดทำโมเดลตัวอย่างในคอมพิวเตอร์ในทุกๆ ด้าน ส่วนแผนสำหรับการรองรับแรงสั่นสะเทือนนั้น ได้มีการวางระบบป้องกันด้วยการขุดรางน้ำรอบบริเวณฐานราก และใช้กล้องตรวจสอบวัดเพื่อระดับการทรุดตัว” นายเจษฎา กล่าว
ด้าน นายสมบัติ ถนัดกิจ ช่างปั้น กลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ดูแลรับผิดชอบงานหล่อไฟเบอร์กลาส กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทำพิมพ์ยาง และเก็บรายละเอียดการหล่อไฟเบอร์กลาส รูปปั้นม้า ซึ่งเป็นสัตว์มงคลประจำทิศ 1 คู่ และองค์มหาเทพพระพรหม 1 องค์ ที่มีความสูง 2.75 เมตร ซึ่งอยู่ระหว่างประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้สมบูรณ์ เพื่อทยอยส่งให้กลุ่มจิตรกรรมพ่นสี คาดว่า ภายในกลางเดือน มี.ค. นี้ พร้อมกันนี้ ตนยังได้รับมอบหมายให้ปั้นพิมพ์ต้นแบบคุณทองแดง เพื่อใช้ประดับพระเมรุมาศ โดยจะเริ่มปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์กลางเดือน มี.ค. นี้
ขณะที่ นายพิทักษ์ เฉลิมเล่า ประติมากรชำนาญการ กลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ในฐานะผู้ปั้นมหาพรหม และครุฑ กล่าวว่า ได้เริ่มขึ้นรูปปั้นแบบครุฑ 2 ตัวแรก ซึ่งมีความสูงจากเศียรถึงปลายเท้ากว่า 2 เมตร คาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์ จะทำการปั้นเสร็จ ก่อนที่จะมีการทำพิมพ์ และนำมาหล่อไฟเบอร์กลาส ก่อนเข้าสู่กระบวนการลงสี โดยกลุ่มงานจิตกรรม ประมาณกลางเดือนมีนาคม ส่วนแนวคิดของการออกแบบครุฑครั้งนี้ จะมีความผสมผสานกันระหว่างศิลปะไทยแบบดั้งเดิมกับศิลปะในสมัยรัชกาลที่ ๙ จึงออกมาเป็นลักษณะร่วมสมัย แต่สื่อถึงความเป็นไทยผ่านลายเส้น มีใบหน้าเป็นครุฑ กายมีลักษณะของมนุษย์ แต่งองค์ทรงเครื่อง และเสริมด้วยปีกด้านหลัง
นายอารักษ์ สังหิตกุล อดีตอธิบดีกรมศิลปากร วิศวกร ที่ปรึกษาวิศวกรรมด้านโครงสร้างพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วย นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิศวกรรม สำนักสถาปัตยกรรม ได้ลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการเตรียมแผนสำหรับรองรับการทดลองยกเสาเอกต้นแรก หลังจากเคลื่อนย้ายคานเหล็ก หรือ Supper truss จากโรงงานที่ จ.พระนครศรีอยุธยา โดย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี จะมาซักซ้อมในวันที่ 24 ก.พ. นี้ เพื่อเตรียมการสำหรับพิธีบวงสรวงยกเสาเอกพระเมรุมาศจริงในวันที่ 27 ก.พ. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธาน
นายเจษฎา กล่าวว่า การทดสอบการติดตั้งฐานโครงสร้างเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่พบปัญหาใดๆ ซึ่งการติดตั้งฐานโครงสร้างเพื่อรับเสาเอกพระเมรุมาศนี้ ก็เพื่อกระจายแรงของตัวเสาลงสู่ฐานรากให้เท่าๆ กัน ทั้งนี้ หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว รองนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาทดสอบการติดตั้งเสาเอก ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสนามหลวง โดยโรงงานจะทยอยส่งเสาอีก 3 เสา มาให้จนครบภายในวัน 25 ก.พ. และด้วยเพราะโครงสร้างทั้งหมดเป็นเหล็ก รูปแบบสถาปัตยกรรมทรงเสาสอบ จึงเอียงเข้าหาศูนย์กลาง จึงต้องเร่งประกอบให้แล้วเสร็จพร้อมกันทั้ง 4 ต้น และต้องมีโครงสร้างช่วยยึดเพื่อป้องกันเสาเซ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการลงเสาเอกได้มีการเทฐานรากรองรับแล้วทั้ง 9 จุด แบ่งเป็น หอเปลื้อง 4 จุด สร้างหรือลำสร้าง 4 จุด และฐานรากบุษบกอีก 1 จุด โดยคาดว่าโครงสร้างพระเมรุมาศ จะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่อไป
“ความสูงของพระเมรุมาศตั้งแต่ฐานรากจนถึงยอดฉัตรนั้นจะอยู่ที่ 50.49 เมตร ดังนั้นการออกแบบสำหรับการรองรับบริเวณยอดฉัตรนั้น จึงคำนึงถึงการรองรับการต้านแรงลมในระดับสูงสุดที่ 160 กม./ตารางเมตร ซึ่งถือว่าเป็นไปตามค่าเฉลี่ยการต้านแรงลมที่สูงสุดตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. ควบคุมอาคารของกรุงเทพฯ จึงมั่นใจในการวางระบบฐานโครงสร้าง ว่า มีความมั่นคงสามารถต้านทานแรงลมได้แน่นอน อีกทั้งในขั้นตอนการวางระบบนั้น ยังได้จัดทำโมเดลตัวอย่างในคอมพิวเตอร์ในทุกๆ ด้าน ส่วนแผนสำหรับการรองรับแรงสั่นสะเทือนนั้น ได้มีการวางระบบป้องกันด้วยการขุดรางน้ำรอบบริเวณฐานราก และใช้กล้องตรวจสอบวัดเพื่อระดับการทรุดตัว” นายเจษฎา กล่าว
ด้าน นายสมบัติ ถนัดกิจ ช่างปั้น กลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ดูแลรับผิดชอบงานหล่อไฟเบอร์กลาส กล่าวว่า ขณะนี้ได้ทำพิมพ์ยาง และเก็บรายละเอียดการหล่อไฟเบอร์กลาส รูปปั้นม้า ซึ่งเป็นสัตว์มงคลประจำทิศ 1 คู่ และองค์มหาเทพพระพรหม 1 องค์ ที่มีความสูง 2.75 เมตร ซึ่งอยู่ระหว่างประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้สมบูรณ์ เพื่อทยอยส่งให้กลุ่มจิตรกรรมพ่นสี คาดว่า ภายในกลางเดือน มี.ค. นี้ พร้อมกันนี้ ตนยังได้รับมอบหมายให้ปั้นพิมพ์ต้นแบบคุณทองแดง เพื่อใช้ประดับพระเมรุมาศ โดยจะเริ่มปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์กลางเดือน มี.ค. นี้
ขณะที่ นายพิทักษ์ เฉลิมเล่า ประติมากรชำนาญการ กลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ในฐานะผู้ปั้นมหาพรหม และครุฑ กล่าวว่า ได้เริ่มขึ้นรูปปั้นแบบครุฑ 2 ตัวแรก ซึ่งมีความสูงจากเศียรถึงปลายเท้ากว่า 2 เมตร คาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์ จะทำการปั้นเสร็จ ก่อนที่จะมีการทำพิมพ์ และนำมาหล่อไฟเบอร์กลาส ก่อนเข้าสู่กระบวนการลงสี โดยกลุ่มงานจิตกรรม ประมาณกลางเดือนมีนาคม ส่วนแนวคิดของการออกแบบครุฑครั้งนี้ จะมีความผสมผสานกันระหว่างศิลปะไทยแบบดั้งเดิมกับศิลปะในสมัยรัชกาลที่ ๙ จึงออกมาเป็นลักษณะร่วมสมัย แต่สื่อถึงความเป็นไทยผ่านลายเส้น มีใบหน้าเป็นครุฑ กายมีลักษณะของมนุษย์ แต่งองค์ทรงเครื่อง และเสริมด้วยปีกด้านหลัง