xs
xsm
sm
md
lg

สภา นร.หนุนนโยบายซ้ำชั้น ยื่นข้อคิดเห็น "บิ๊กเสมา" แก้ปัญหา 5 ประเด็นสังคม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สภานักเรียนยื่น 5 ข้อคิดเห็น "บิ๊กเสมา" พร้อมแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม การเรียนการสอน และนโยบาย ศธ. หนุนซ้ำชั้น ป.3 ป.6 ม.3 ยกเว้น ม.ปลาย จี้ออกข้อสอบตรงตามหลักสูตร

วันนี้ (9 ม.ค.) นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นำสภานักเรียนและครูที่ปรึกษาจำนวน 180 คน เข้าพบ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสภานักเรียนได้ยื่นข้อคิดเห็นจากการประชุมสภานักเรียนระดับประเทศประจำปี 2559 มีจำนวน 5 ประเด็น ดังนี้

1.ประเด็นปัญหาความรุนแรงทางสังคม ส่วนใหญ่คือ ครอบครัวแตกแยกหย่าร้าง การควบคุมอารมณ์ การทะเลาะวิวาทของนักเรียนต่างโรงเรียน การคุกคามทางเพศ รวมทั้งการเลียนแบบสื่อ แนวทางแก้ไข เช่น สร้างความเข้าใจกับผู้ปครอง มีมาตรการลดปัญหาทะเลาะวิวาท จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน สร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เสริมสร้างนักเรียนให้มีวิจารณญาณในการเลือกรับสื่อและข่าวสาร เป็นต้น

2.ประเด็นปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยง แนวทางการแก้ไข เช่น จัดกิจกรรมรณรงค์และเสริมสร้างความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนมีทักษะในการปฏิเสธ มีการกำหนดบทลงโทษนักเรียนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สร้างความเข้ากับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงถึงบทลงโทษของโรงเรียน นำกฎหมายมาใช้ในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด

3.ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาขยะ และการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า แนวทางแก้ไข เช่น สร้างจิตสำนึกรักษ์ป่า การทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและขยายสู่ผู้อื่น บังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาด

4.ปัญหาการศึกษา การเรียนการสอน เช่น ครูจัดการเรียนการสอนเน้นตามมาตรฐานตัวชี้วัด ออกข้อสอบเกินหลักสูตร สนับสนุนงบประมาณให้สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่าสายอื่น ครูไม่มีเวลาดูแลนักเรียน มุ่งสอนเพื่อการสอบ NT O-NET ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ โดยแนวทางแก้ไข เช่น กำหนดให้ข้อสอบเป็นไปตามหลักสูตร บรรจุครูหรือจ้างบุคลากรเพิ่มให้กับโรงเรียน ลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะนำครูออกนอกห้องเรียน ปรับแนวการสอบ NT O-NET

5.การเรียนการสอนตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และนโยบายซ้ำชั้น มีความคิดเห็นว่า การให้ซ้ำชั้นในชั้น ป.3 ป.6 และ ม.3 มีความเหมาะสม เพราะเป็นการให้โอกาสพัฒนาตนเอง แต่ไม่เหมาะกับเด็ก ม.ปลาย


ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่



กำลังโหลดความคิดเห็น