โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โปรโมตจังหวัดท่องเที่ยวใหม่ตลอดปี 2558 ในแคมเปญ 12 เมืองต้องห้าม...พลาด เน้นนำเสนอจุดเด่นจังหวัดที่มีความพร้อม ทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากการท่องเที่ยว
แต่การท่องเที่ยวที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดปัจจัยในเรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นความสะอาดของห้องน้ำ ถนนหนทางต่างๆ การกำจัดขยะ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พยายามดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
โดย จ.น่าน ตำนานแห่งขุนเขา เมืองเก่าที่มีชีวิต และวัฒนธรรมที่โดดเด่น ปฐมบทของการกระซิบรักของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่ 1 ใน 12 เมือง...ต้องห้ามพลาด ที่มีมาตรการจัดการขยะและส้วมสาธารณะได้เป็นอย่างดี เพื่อรองรับการโปรโมตการท่องเที่ยว
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังลงพื้นที่ดูงานศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำนักงานเทศบาลตำบลท่าวังผา อ.เท่าวังผา จ.น่าน ว่า หลายชุมชนใน จ.น่าน มีมาตรการลดการใช้สารเคมี มีแหล่งจำหน่ายผักปลอดสารพิษ มีการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ชุมชนมีการจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า มีการดูแลส้วมสาธารณะ มีกิจกรรมควบคุมป้องกันแหล่งพาหะนำโรค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านที่ผ่านการตรวจประเมินของคณะกรรมการตามเกณฑ์บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ จำนวน 11 หมู่บ้าน ถือเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความใส่ใจต่อสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
สำหรับการจัดการกับขยะแบบครบวงจรของศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายวุฒิชัย วงศ์ปัญโญ ปลัดเทศบาลตำบลท่าวังผา เล่าว่า เดิมเทศบาลตำบลท่าวังผาจัดเก็บขยะได้วันละ 2 ตัน แต่ระยะหลังเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วยนั้น ทำให้จัดเก็บขยะได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 5 ตัน และที่ผ่านมาการจัดการขยะก็ยังทำได้ไม่ถูกต้อง จึงได้จัดตั้งศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมฯ ขึ้น มีคณะกรรมการจากทุกฝ่ายในพื้นที่ ทั้งเทศบาล ประชาคมหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วม โดยศูนย์มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2555 การดำเนินการอาศัยขอความร่วมมือกับชาวบ้านช่วยแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์วิธีแยกขยะอย่างถูกต้อง
“เมื่อจัดเก็บขยะมาแล้วก็จะนำมาคัดแยกขยะอีกครั้งหนึ่ง หากเป็นเศษเหล็ก โลหะก็นำไปขาย ส่วนจำพวกพลาสติกจะนำมาผ่านกระบวนการล้างทำความสะอาด เข้าเครื่องปั่นแห้ง จากนั้นจึงนำมาบดอัดเป้นเม็ดพลาสติกส่งขาย ส่วนขยะที่เหลือจากการคัดแยก จะนำเข้าเครื่องสับขยะ แล้วใช้กระบวนการบำบัดด้วยวิธีการแบบเชิงกลชีวภาพ (MBT-Mechanical and Biological Waste Treatment) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถปรับเสถียรภาพของขยะ โดยอาศัยขบวนการทางชีวภาพของแบคทีเรียในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในขยะมูลฝอย ทำให้สามารถลดระยะเวลาการหมักเหลือเพียง 15-30 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ และบางส่วนสามารถนำมาทำเป็นแท่งเชื้อเพลิงขายได้อีก ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถช่วยลดปริมาณขยะที่จะนำไปฝังกลบลงเหลือประมาณ 25-40% โดยมีระบบรองรับการบำบัดน้ำเสีย และระบบฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาล”
ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา คสช.มีมติให้เทศบาลตำบลท่าวังผา เป็นองค์กรนำร่องรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายแบบเล็ก รองรับปริมาณขยะมูลฝอยน้อยกว่า 50 ตันต่อวัน โดยให้งบประมาณ 54 ล้านบาทเพื่อขยายศูนย์ดังกล่าวให้รองรับการจัดการขยะมากขึ้น คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในปี 2560
นางสุพิศ อินต๊ะแสน ชาวบ้านชุมชนบ้านหนองบัว ต.ปากคา อ.ท่าวังผา กล่าวว่า การคัดแยกขยะนั้นไม่ยุ่งยากเลย ดีเสียอีกที่ช่วยให้บ้านสะอาด ไม่รกรุงรัง ซึ่งการรณรงค์คัดแยกขยะนั้นได้ทำมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว โดยเทศบาลจะมีเสียงตามสายมาในหมู่บ้าน เพื่อรณรงค์และมีคนมาสอนวิธีคัดแยกขยะและทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ส่วนใหญ่ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี และมีความเข้าใจ
สำหรับการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น นพ.วชิระกล่าวว่า จ.น่านมีการพัฒนา จนในปี 2557 มีส้วมที่ได้รับรางวัลสุดยอดส้อมระดับจังหวัด จำนวน 3 รางวัล คือ ประเภทสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานน่าน ประเภทสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ท่าวังผา และประเภทศาสนสถาน ได้แก่ วัดหัวข่วง ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อเพื่อประกวดระดับภูมิภาคต่อไป
น่านถือเป็นพื้นที่ต้นแบบของการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการกำจัดขยะที่ถูกสุขาภิบาล ส้วมสาธารณะสะอาด ช่วยให้ปลดทุกข์อย่างมีความสุข ไม่ต้องทนกับความสกปรก และกลิ่นที่ไม่น่าพิสมัย ทำให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น และหากสามารถทำได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ก็จะทำให้ประเทศไทยน่าอยู่และน่าท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โปรโมตจังหวัดท่องเที่ยวใหม่ตลอดปี 2558 ในแคมเปญ 12 เมืองต้องห้าม...พลาด เน้นนำเสนอจุดเด่นจังหวัดที่มีความพร้อม ทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากการท่องเที่ยว
แต่การท่องเที่ยวที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดปัจจัยในเรื่องของอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นความสะอาดของห้องน้ำ ถนนหนทางต่างๆ การกำจัดขยะ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พยายามดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
โดย จ.น่าน ตำนานแห่งขุนเขา เมืองเก่าที่มีชีวิต และวัฒนธรรมที่โดดเด่น ปฐมบทของการกระซิบรักของประเทศไทย ถือเป็นพื้นที่ 1 ใน 12 เมือง...ต้องห้ามพลาด ที่มีมาตรการจัดการขยะและส้วมสาธารณะได้เป็นอย่างดี เพื่อรองรับการโปรโมตการท่องเที่ยว
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังลงพื้นที่ดูงานศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำนักงานเทศบาลตำบลท่าวังผา อ.เท่าวังผา จ.น่าน ว่า หลายชุมชนใน จ.น่าน มีมาตรการลดการใช้สารเคมี มีแหล่งจำหน่ายผักปลอดสารพิษ มีการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ชุมชนมีการจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า มีการดูแลส้วมสาธารณะ มีกิจกรรมควบคุมป้องกันแหล่งพาหะนำโรค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านที่ผ่านการตรวจประเมินของคณะกรรมการตามเกณฑ์บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ จำนวน 11 หมู่บ้าน ถือเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความใส่ใจต่อสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
สำหรับการจัดการกับขยะแบบครบวงจรของศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายวุฒิชัย วงศ์ปัญโญ ปลัดเทศบาลตำบลท่าวังผา เล่าว่า เดิมเทศบาลตำบลท่าวังผาจัดเก็บขยะได้วันละ 2 ตัน แต่ระยะหลังเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วยนั้น ทำให้จัดเก็บขยะได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 5 ตัน และที่ผ่านมาการจัดการขยะก็ยังทำได้ไม่ถูกต้อง จึงได้จัดตั้งศูนย์จัดการสิ่งแวดล้อมฯ ขึ้น มีคณะกรรมการจากทุกฝ่ายในพื้นที่ ทั้งเทศบาล ประชาคมหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วม โดยศูนย์มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2555 การดำเนินการอาศัยขอความร่วมมือกับชาวบ้านช่วยแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์วิธีแยกขยะอย่างถูกต้อง
“เมื่อจัดเก็บขยะมาแล้วก็จะนำมาคัดแยกขยะอีกครั้งหนึ่ง หากเป็นเศษเหล็ก โลหะก็นำไปขาย ส่วนจำพวกพลาสติกจะนำมาผ่านกระบวนการล้างทำความสะอาด เข้าเครื่องปั่นแห้ง จากนั้นจึงนำมาบดอัดเป้นเม็ดพลาสติกส่งขาย ส่วนขยะที่เหลือจากการคัดแยก จะนำเข้าเครื่องสับขยะ แล้วใช้กระบวนการบำบัดด้วยวิธีการแบบเชิงกลชีวภาพ (MBT-Mechanical and Biological Waste Treatment) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถปรับเสถียรภาพของขยะ โดยอาศัยขบวนการทางชีวภาพของแบคทีเรียในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในขยะมูลฝอย ทำให้สามารถลดระยะเวลาการหมักเหลือเพียง 15-30 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพไว้ใช้ และบางส่วนสามารถนำมาทำเป็นแท่งเชื้อเพลิงขายได้อีก ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถช่วยลดปริมาณขยะที่จะนำไปฝังกลบลงเหลือประมาณ 25-40% โดยมีระบบรองรับการบำบัดน้ำเสีย และระบบฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาล”
ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา คสช.มีมติให้เทศบาลตำบลท่าวังผา เป็นองค์กรนำร่องรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายแบบเล็ก รองรับปริมาณขยะมูลฝอยน้อยกว่า 50 ตันต่อวัน โดยให้งบประมาณ 54 ล้านบาทเพื่อขยายศูนย์ดังกล่าวให้รองรับการจัดการขยะมากขึ้น คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จได้ในปี 2560
นางสุพิศ อินต๊ะแสน ชาวบ้านชุมชนบ้านหนองบัว ต.ปากคา อ.ท่าวังผา กล่าวว่า การคัดแยกขยะนั้นไม่ยุ่งยากเลย ดีเสียอีกที่ช่วยให้บ้านสะอาด ไม่รกรุงรัง ซึ่งการรณรงค์คัดแยกขยะนั้นได้ทำมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว โดยเทศบาลจะมีเสียงตามสายมาในหมู่บ้าน เพื่อรณรงค์และมีคนมาสอนวิธีคัดแยกขยะและทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ส่วนใหญ่ชาวบ้านให้ความร่วมมือดี และมีความเข้าใจ
สำหรับการพัฒนาส้วมสาธารณะนั้น นพ.วชิระกล่าวว่า จ.น่านมีการพัฒนา จนในปี 2557 มีส้วมที่ได้รับรางวัลสุดยอดส้อมระดับจังหวัด จำนวน 3 รางวัล คือ ประเภทสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานน่าน ประเภทสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ สถานีบริการน้ำมัน ปตท.ท่าวังผา และประเภทศาสนสถาน ได้แก่ วัดหัวข่วง ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อเพื่อประกวดระดับภูมิภาคต่อไป
น่านถือเป็นพื้นที่ต้นแบบของการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการกำจัดขยะที่ถูกสุขาภิบาล ส้วมสาธารณะสะอาด ช่วยให้ปลดทุกข์อย่างมีความสุข ไม่ต้องทนกับความสกปรก และกลิ่นที่ไม่น่าพิสมัย ทำให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น และหากสามารถทำได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ก็จะทำให้ประเทศไทยน่าอยู่และน่าท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่