สปสช.เผยข้อมูลเรื่องวัคซีนและยาที่มีการเผยแพร่เป็นข้อมูลไม่ถูกต้อง เข้าใจคลาดเคลื่อน แจงข้อมูลการจัดการวัคซีน ยัน 15 ปีบัตรทองมีวัคซีนเพิ่ม ทั้งวัคซีน MMR วัคซีน JE เมื่อคอตีบระบาด ก็จัดหาวัคซีน 1 ล้านโด๊สภายในเดือนแรกที่พบการระบาดและอีก 7 ล้านโด๊สใน 2 เดือนต่อมา ไม่ใช่ต้องรอถึง 3 ปี ส่วนวัคซีนโปลิโอชนิดฉีดให้ 1 เข็มเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ให้ 1 เข็มก็เพียงพอป้องกระตุ้นร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว
ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงข้อเขียนของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ที่เขียนถึง 30 บาทว่า มีหลายเรื่องที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน จึงต้องขอชี้แจงดังนี้
1.ในช่วง 15 ปีที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีวัคซีนใหม่เพิ่มให้แก่เด็กไทย 5รายการ ดังนี้ ในปีงบ 51 บอร์ด สปสช.มีมติให้เพิ่มวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนในชุดสิทธิประโยชน์ โดยให้ในประชาชนกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน ในปีงบ 54 สปสช.ได้จัดซื้อวัคซีนป้องกันหัด คางทูมและหัดเยอรมัน (MMR) ทดแทนวัคซีน หัด (M) ในเด็ก 9 เดือน ซึ่งทำให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดและคางทูมเพิ่มขึ้น และสามารถลดอัตราการสูญเสียวัคซีนจาก 37% เหลือเพียง 3 % ปีงบ 57 สปสช.นำร่องเพิ่มวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE) เชื้อเป็น และจะขยายครอบคลุมทั้งประเทศในปีงบ 58 นอกจากนี้ในปีงบ 59 ยังมีการเพิ่มวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) และวัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV bivalent) ในชุดสิทธิประโยชน์อีกด้วย
2.เมื่อคอตีบระบาดในเดือน พ.ย. 55 หรือปีงบ 56 สปสช.ได้จัดหาวัคซีนคอตีบทั้งหมด 13 ล้านโด๊ส และยาดีฟธีเรีย แอนติทอกซิน (Diphtherai antitoxin) ซึ่งจัดเป็นยากำพร้าและใช้รักษาโรคคอตีบ จำนวน 4,000 ขวด เพื่อรองรับการระบาดดังกล่าว โดยสามารถจัดหาวัคซีน 1 ล้านโด๊สแรกได้ในเดือน พ.ย. 55 อีก 7 ล้านโด๊สในเดือน ม.ค. 56 และอีก 5 ล้านโด๊สในเดือน พ.ค. 56 ซึ่งการจัดซื้อวัคซีน dT ตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งชาติ (EPI) ปกตินั้น ใช้ปีละ 4-5 ล้านโด๊ส เท่ากับว่า สปสช.จัดหาวัคซีนที่มากกว่าปกติ 2 เท่าภายในเวลา 3 เดือน ซึ่งการจัดหาดังกล่าวได้วัคซีนเร็วกว่าการคาดประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น
3.ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ ยังไม่เป็นวัคซีนตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของไทย ดังนั้น สปสช.จึงไม่ได้จัดซื้อวัคซีนดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ จำหน่ายในประเทศ และกรมควบคุมโรคกำหนดให้เป็นวัคซีนทางเลือก ส่วนการตอบสนองต่อการระบาดของโรค กรณีไวรัสตับอักเสบเอ อยู่ที่กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
4.ประเด็นที่ว่ามาเลเซียมีวัคซีนให้เด็กฟรีมากกว่าไทยนั้น ภายใต้บริบทที่ประเทศมาเลเซียมีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวประชากร (GDP Per capita) มากกว่าประเทศไทยเท่าตัว (มาเลเซีย10,933.5 USDไทย 5,519.4 USD) ทำให้มาเลเซียมีความสามารถในการจัดซื้อวัคซีนสูงกว่าประเทศไทย อย่างไรก็ตามภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวประเทศไทยกำลังขยายสิทธิประโยชน์ครอบคลุมวัคซีนหลายรายการ เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ซึ่งผ่านคณะอนุกรรมการ EPI ของกรมควบคุมโรคเมื่อปลายปี 58 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ในส่วนของ สปสช.มีการนำมติคณะอนุกรรมการ EPI มานำเข้าคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และได้เตรียมงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัคซีนในปีงบ 60 ไว้แล้ว
วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเจอีเชื้อเป็น ไทยได้นำร่องมาตั้งแต่ปีงบ 57 และได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศในปีงบ 58
วัคซีน Rota หรือวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงในเด็ก นำร่องโดย สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แต่ยังไม่มีการคัดเลือกวัคซีนดังกล่าวเข้าเป็นวัคซีน EPI ของประเทศ ขณะที่มาเลเซียเองวัคซีน Rota จัดเป็นวัคซีนทางเลือก ไม่ใช่วัคซีนตามแผน EPI เช่นกัน
ส่วน วัคซีนฮิบ (HIB) และวัคซีนคอตีบบาดทะยัก (DTaP) ปัจจุบันยังไม่
มีการพิจารณาเข้าเป็นวัคซีนตามแผน EPI อย่างไรก็ตามเด็กไทยสามารถรับวัคซีน DTP ชนิดเชื้อตายตามแผน EPI และมีบริษัทเอกชนจำหน่ายวัคซีน HIB ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือก
5.ในปัจจุบันมีการจัดซื้อวัคซีนในภาพรวมโดยองค์การยูนิเซฟ เพื่อสนับสนุนให้กับประเทศที่มีรายได้รวมต่ำ (Low income country) ในขณะที่ประเทศซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง (middle income country) และรายได้สูง (High income country) ต้องบริหารจัดการจัดหาวัคซีนตามกลไกตลาดด้วยตนเอง ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มของประเทศรายได้ปานกลางระดับบน (Upper middle income) จึงไม่ได้รับการสนับสนุนวัคซีนดังกล่าวจากยูนิเซฟ หรือ GAVI ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญและจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อให้สามารถสนับสนุนวัคซีนได้เพียงพอสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้วัคซีนอย่างครบถ้วนครอบคลุมและยั่งยืนจึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยมากกว่า
6.การให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ร่วมกับวัคซีนชนิดหยอดนั้น การให้ 1 ครั้ง ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 3/2558 ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีการแจ้งข้อมูลว่า ตามที่ Strategic Advisory Group of Expert (SAGE) on Immunization ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ให้คำแนะนำแก่องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับเรื่องของการให้วัคซีน ได้ทบทวนข้อมูลทางวิชาการและข้อแนะนำเมื่อปี 2556 ว่าการให้บริการ IPV อย่างน้อย 1 ครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 14 สัปดาห์ขึ้นไปก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่งเป็นการปูพื้น รวมทั้งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจดจำเชื้อไวรัสโปลิโอได้ ส่งผลให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในภายหลังได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันต่อโปลิโอ type 2
ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มปรับเปลี่ยนการให้วัคซีนโปลิโอ จากชนิดหยอดเป็นชนิดฉีดตั้งแต่เดือนธันวาคม2558 เป็นต้นมา
7.การรักษาไวรัสตับอักเสบซี สาเหตุที่ยังไม่ได้ใช้ยาใหม่ หรือยาโซฟอสบูเวียร์ (sofosbovir)เนื่องจากยานี้ เพิ่งผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม และคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการและได้มอบหมายให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP ทำการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบทางด้านงบประมาณของการรักษาด้วยยานี้ ก่อนจะนำเข้าสู่สิทธิประโยชน์บัตรทองต่อไปได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติในการดำเนินงานที่ต้องมีข้อมูลวิชาการมารองรับ นอกจากนี้การที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับบน ทำให้เกิดความยากในการต่อรองราคากับบริษัทผู้ผลิตแม้จะดำเนินการจัดหายาจาบริษัทในประเทศอินเดียก็ตามเพราะบริษัทเหล่านั้นเป็นบริษัทมีสัญญาทางการค้ากับบริษัทยาต้นแบบแล้ว อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สปสช. และภาคส่วนอื่น ในการเจรจาต่อรองระดับประเทศกับบริษัทยาต้นแบบ รวมทั้ง มีความพยายามโดย WHO ที่จะสนับสนุนให้ประเทศที่มีรายได้ปานกลางรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาต่อรองกับบริษัทยาอีกทางหนึ่งด้วย
8.การรักษาไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบัน นอกจาก สปสช.ได้จัดหายา เพกอินเตอร์ฟีรอน(peginterfron) และ ยาไรบาไวริน (ribavirin) แล้ว สปสช.ยังมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องรับการรักษาตามแนวทางที่บัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด ประมาณ 10,000 - 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบซี และอยู่ระหว่างการจ่ายให้หน่วยบริการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการและเวชภัณฑ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงข้อเขียนของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ที่เขียนถึง 30 บาทว่า มีหลายเรื่องที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน จึงต้องขอชี้แจงดังนี้
1.ในช่วง 15 ปีที่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น มีวัคซีนใหม่เพิ่มให้แก่เด็กไทย 5รายการ ดังนี้ ในปีงบ 51 บอร์ด สปสช.มีมติให้เพิ่มวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนในชุดสิทธิประโยชน์ โดยให้ในประชาชนกลุ่มที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน ในปีงบ 54 สปสช.ได้จัดซื้อวัคซีนป้องกันหัด คางทูมและหัดเยอรมัน (MMR) ทดแทนวัคซีน หัด (M) ในเด็ก 9 เดือน ซึ่งทำให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดและคางทูมเพิ่มขึ้น และสามารถลดอัตราการสูญเสียวัคซีนจาก 37% เหลือเพียง 3 % ปีงบ 57 สปสช.นำร่องเพิ่มวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี (JE) เชื้อเป็น และจะขยายครอบคลุมทั้งประเทศในปีงบ 58 นอกจากนี้ในปีงบ 59 ยังมีการเพิ่มวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) และวัคซีนโปลิโอชนิดกิน (OPV bivalent) ในชุดสิทธิประโยชน์อีกด้วย
2.เมื่อคอตีบระบาดในเดือน พ.ย. 55 หรือปีงบ 56 สปสช.ได้จัดหาวัคซีนคอตีบทั้งหมด 13 ล้านโด๊ส และยาดีฟธีเรีย แอนติทอกซิน (Diphtherai antitoxin) ซึ่งจัดเป็นยากำพร้าและใช้รักษาโรคคอตีบ จำนวน 4,000 ขวด เพื่อรองรับการระบาดดังกล่าว โดยสามารถจัดหาวัคซีน 1 ล้านโด๊สแรกได้ในเดือน พ.ย. 55 อีก 7 ล้านโด๊สในเดือน ม.ค. 56 และอีก 5 ล้านโด๊สในเดือน พ.ค. 56 ซึ่งการจัดซื้อวัคซีน dT ตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งชาติ (EPI) ปกตินั้น ใช้ปีละ 4-5 ล้านโด๊ส เท่ากับว่า สปสช.จัดหาวัคซีนที่มากกว่าปกติ 2 เท่าภายในเวลา 3 เดือน ซึ่งการจัดหาดังกล่าวได้วัคซีนเร็วกว่าการคาดประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น
3.ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ ยังไม่เป็นวัคซีนตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของไทย ดังนั้น สปสช.จึงไม่ได้จัดซื้อวัคซีนดังกล่าว อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ จำหน่ายในประเทศ และกรมควบคุมโรคกำหนดให้เป็นวัคซีนทางเลือก ส่วนการตอบสนองต่อการระบาดของโรค กรณีไวรัสตับอักเสบเอ อยู่ที่กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
4.ประเด็นที่ว่ามาเลเซียมีวัคซีนให้เด็กฟรีมากกว่าไทยนั้น ภายใต้บริบทที่ประเทศมาเลเซียมีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวประชากร (GDP Per capita) มากกว่าประเทศไทยเท่าตัว (มาเลเซีย10,933.5 USDไทย 5,519.4 USD) ทำให้มาเลเซียมีความสามารถในการจัดซื้อวัคซีนสูงกว่าประเทศไทย อย่างไรก็ตามภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวประเทศไทยกำลังขยายสิทธิประโยชน์ครอบคลุมวัคซีนหลายรายการ เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ซึ่งผ่านคณะอนุกรรมการ EPI ของกรมควบคุมโรคเมื่อปลายปี 58 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ในส่วนของ สปสช.มีการนำมติคณะอนุกรรมการ EPI มานำเข้าคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และได้เตรียมงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัคซีนในปีงบ 60 ไว้แล้ว
วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเจอีเชื้อเป็น ไทยได้นำร่องมาตั้งแต่ปีงบ 57 และได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศในปีงบ 58
วัคซีน Rota หรือวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงในเด็ก นำร่องโดย สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แต่ยังไม่มีการคัดเลือกวัคซีนดังกล่าวเข้าเป็นวัคซีน EPI ของประเทศ ขณะที่มาเลเซียเองวัคซีน Rota จัดเป็นวัคซีนทางเลือก ไม่ใช่วัคซีนตามแผน EPI เช่นกัน
ส่วน วัคซีนฮิบ (HIB) และวัคซีนคอตีบบาดทะยัก (DTaP) ปัจจุบันยังไม่
มีการพิจารณาเข้าเป็นวัคซีนตามแผน EPI อย่างไรก็ตามเด็กไทยสามารถรับวัคซีน DTP ชนิดเชื้อตายตามแผน EPI และมีบริษัทเอกชนจำหน่ายวัคซีน HIB ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือก
5.ในปัจจุบันมีการจัดซื้อวัคซีนในภาพรวมโดยองค์การยูนิเซฟ เพื่อสนับสนุนให้กับประเทศที่มีรายได้รวมต่ำ (Low income country) ในขณะที่ประเทศซึ่งอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง (middle income country) และรายได้สูง (High income country) ต้องบริหารจัดการจัดหาวัคซีนตามกลไกตลาดด้วยตนเอง ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มของประเทศรายได้ปานกลางระดับบน (Upper middle income) จึงไม่ได้รับการสนับสนุนวัคซีนดังกล่าวจากยูนิเซฟ หรือ GAVI ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญและจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อให้สามารถสนับสนุนวัคซีนได้เพียงพอสำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้วัคซีนอย่างครบถ้วนครอบคลุมและยั่งยืนจึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยมากกว่า
6.การให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ร่วมกับวัคซีนชนิดหยอดนั้น การให้ 1 ครั้ง ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 3/2558 ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีการแจ้งข้อมูลว่า ตามที่ Strategic Advisory Group of Expert (SAGE) on Immunization ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ให้คำแนะนำแก่องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับเรื่องของการให้วัคซีน ได้ทบทวนข้อมูลทางวิชาการและข้อแนะนำเมื่อปี 2556 ว่าการให้บริการ IPV อย่างน้อย 1 ครั้ง ในเด็กอายุตั้งแต่ 14 สัปดาห์ขึ้นไปก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่งเป็นการปูพื้น รวมทั้งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจดจำเชื้อไวรัสโปลิโอได้ ส่งผลให้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในภายหลังได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันต่อโปลิโอ type 2
ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มปรับเปลี่ยนการให้วัคซีนโปลิโอ จากชนิดหยอดเป็นชนิดฉีดตั้งแต่เดือนธันวาคม2558 เป็นต้นมา
7.การรักษาไวรัสตับอักเสบซี สาเหตุที่ยังไม่ได้ใช้ยาใหม่ หรือยาโซฟอสบูเวียร์ (sofosbovir)เนื่องจากยานี้ เพิ่งผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม และคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลทางวิชาการและได้มอบหมายให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP ทำการประเมินความคุ้มค่าทางการแพทย์และผลกระทบทางด้านงบประมาณของการรักษาด้วยยานี้ ก่อนจะนำเข้าสู่สิทธิประโยชน์บัตรทองต่อไปได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติในการดำเนินงานที่ต้องมีข้อมูลวิชาการมารองรับ นอกจากนี้การที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับบน ทำให้เกิดความยากในการต่อรองราคากับบริษัทผู้ผลิตแม้จะดำเนินการจัดหายาจาบริษัทในประเทศอินเดียก็ตามเพราะบริษัทเหล่านั้นเป็นบริษัทมีสัญญาทางการค้ากับบริษัทยาต้นแบบแล้ว อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สปสช. และภาคส่วนอื่น ในการเจรจาต่อรองระดับประเทศกับบริษัทยาต้นแบบ รวมทั้ง มีความพยายามโดย WHO ที่จะสนับสนุนให้ประเทศที่มีรายได้ปานกลางรวมกลุ่มกันเพื่อเจรจาต่อรองกับบริษัทยาอีกทางหนึ่งด้วย
8.การรักษาไวรัสตับอักเสบซีในปัจจุบัน นอกจาก สปสช.ได้จัดหายา เพกอินเตอร์ฟีรอน(peginterfron) และ ยาไรบาไวริน (ribavirin) แล้ว สปสช.ยังมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ต้องรับการรักษาตามแนวทางที่บัญชียาหลักแห่งชาติกำหนด ประมาณ 10,000 - 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบซี และอยู่ระหว่างการจ่ายให้หน่วยบริการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่