สปสช.เดินหน้าทำฐานข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลทุกกองทุนใกล้ครบทั้งประเทศแล้ว เผยเหลือเพียง 4 แสนคน รอนำส่งข้อมูลเพิ่มเติม ชี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ คุ้มครองประชาชนรับการดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่องแม้เปลี่ยนสิทธิ์
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีสิทธิการรักษาพยาบาลที่แยกการบริหารเป็นหลายกองทุน อาทิ สวัสดิการข้าราชการ 5 ล้านคน ประกันสังคม 10 ล้านคน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 48 ล้านคน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 6 แสนคน รวมถึงกองทุนรักษาพยาบาลอื่น เช่น กองทุนรักษาพยาบาลครู รัฐวิสาหกิจ และองค์การอิสระ เป็นต้น ส่งผลให้ช่วงเปลี่ยนและย้ายสิทธิขาดความต่อเนื่องในสิทธิการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง แต่ยังขาดการบูรณาการงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การแก้ปัญหา ครม.มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็น “หน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน” เนื่องจากดูแลสิทธิการรักษาระบบใหญ่ที่สุดในประเทศ และรองรับสิทธิรักษาพยาบาลกรณีผู้ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ และ ครม.ยังเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน” โดยให้เลขาธิการ สปสช.เป็นประธาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงานด้านทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลที่เป็นระบบเดียวกัน
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากมติ ครม.ดังกล่าวนี้ ยังได้ระบุให้หน่วยงานซึ่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลทุกหน่วยงานให้จัดส่งข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของบุคลากรในหน่วยงานรวมถึงผู้ใช้สิทธิร่วมให้กับ สปสช. เพื่อที่จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชนเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ทยอยจัดส่งข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลภายใต้กำกับดูแลให้กับ สปสช.แล้ว เหลือเพียงข้อมูลผู้มีสิทธิอีกเพียง 400,000 คนเท่านั้น สปสช.จะสามารถรวบรวมทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลจากทุกหน่วยงานครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ จำนวน 65.7 ล้านคน
“นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งการจัดฐานข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลคนไทยทั้งประเทศนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องให้กับประชาชน การบูรณาการการเข้าถึงยากำพร้าและยาต้านพิษ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างการให้วัคซีนเด็กและกลุ่มเสี่ยง และการรองรับระบบสิทธิรักษาพยาบาลในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน รวมไปถึงการสร้างความชัดเจนด้านฐานข้อมูลทะเบียนให้กับหน่วยบริการเพื่อเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีสิทธิการรักษาพยาบาลที่แยกการบริหารเป็นหลายกองทุน อาทิ สวัสดิการข้าราชการ 5 ล้านคน ประกันสังคม 10 ล้านคน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 48 ล้านคน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 6 แสนคน รวมถึงกองทุนรักษาพยาบาลอื่น เช่น กองทุนรักษาพยาบาลครู รัฐวิสาหกิจ และองค์การอิสระ เป็นต้น ส่งผลให้ช่วงเปลี่ยนและย้ายสิทธิขาดความต่อเนื่องในสิทธิการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง แต่ยังขาดการบูรณาการงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การแก้ปัญหา ครม.มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ให้ สปสช.ทำหน้าที่เป็น “หน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน” เนื่องจากดูแลสิทธิการรักษาระบบใหญ่ที่สุดในประเทศ และรองรับสิทธิรักษาพยาบาลกรณีผู้ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ และ ครม.ยังเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน” โดยให้เลขาธิการ สปสช.เป็นประธาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงานด้านทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลที่เป็นระบบเดียวกัน
ภญ.เนตรนภิส กล่าวว่า จากมติ ครม.ดังกล่าวนี้ ยังได้ระบุให้หน่วยงานซึ่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลทุกหน่วยงานให้จัดส่งข้อมูลผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของบุคลากรในหน่วยงานรวมถึงผู้ใช้สิทธิร่วมให้กับ สปสช. เพื่อที่จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชนเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ทยอยจัดส่งข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลภายใต้กำกับดูแลให้กับ สปสช.แล้ว เหลือเพียงข้อมูลผู้มีสิทธิอีกเพียง 400,000 คนเท่านั้น สปสช.จะสามารถรวบรวมทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลจากทุกหน่วยงานครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศ จำนวน 65.7 ล้านคน
“นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งการจัดฐานข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลคนไทยทั้งประเทศนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องให้กับประชาชน การบูรณาการการเข้าถึงยากำพร้าและยาต้านพิษ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างการให้วัคซีนเด็กและกลุ่มเสี่ยง และการรองรับระบบสิทธิรักษาพยาบาลในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน รวมไปถึงการสร้างความชัดเจนด้านฐานข้อมูลทะเบียนให้กับหน่วยบริการเพื่อเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่