xs
xsm
sm
md
lg

5 วิธีลอยกระทงช่วยลดขยะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กรมอนามัย เผย “ซากกระทง” เป็นขยะเกลื่อนแม่น้ำเพิ่มขึ้น ชี้แม้ใช้วัสดุธรรมชาติก็ถือเป้นขยะที่ต้องนำไปกำจัด แนะ 5 วิธีลอยกระทงช่วยลดปริมาณขยะ “ลอยร่วมกัน - ใช้กระทงเล็ก - วัสดุย่อยสลายง่าย - วัสดุไม่หลากหลาย - ลอยออนไลน์"

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลังผ่านคืนลอยกระทงทุกปี สิ่งที่ตามมา คือ ซากกระทงจำนวนมากที่ลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง จากสถิติของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร พบว่า ปริมาณกระทงที่เก็บได้ในปี 2557 เฉพาะใน กทม. รวมทั้งหมด 982,064 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 116,649 ใบ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.48 แบ่งเป็น กระทงจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ต้นกล้วย ใบตอง จำนวน 885,995 ใบ และกระทงโฟม จำนวน 96,069 ใบ แม้จะมีการใช้วัสดุธรรมชาติมากขึ้น แต่กระทงทั้งหมดก็กลายเป็นขยะที่ต้องถูกนำไปกำจัด เสียงบประมาณจำนวนมากเพื่อการจัดการ รวมถึงกระทงที่ทำจากขนมปัง ที่คนให้ความสนใจนำมาลอยมากขึ้นเพื่อให้เป็นอาหารปลา หากมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ ส่วนกระทงที่ทำจากโฟม เป็นวัสดุที่ย่อยสลายในธรรมชาตินานถึง 500 ปี หลายคนเชื่อว่าสะดวกดี ลอยน้ำได้ง่าย แต่อาจไปอุดตันตามท่อ กีดขวางทางน้ำ เป็นขยะที่มีสารพิษและมีส่วนทำให้โลกร้อนได้อีกด้วย

การลอยกระทงโดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณขยะ และยังคงสืบสานประเพณีที่ดีงามนั้น สามารถปฏิบัติได้ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ ดังนี้ 1. ลอยกระทงเดียวร่วมกัน ช่วยลดขยะและประหยัดเงิน เช่น มากันเป็นครอบครัว ๆ ละ 1 ใบ มาเป็นกลุ่มเพื่อน กลุ่มละ 1 ใบ มากับแฟน ลอยกระทงร่วมกัน 1 ใบ เป็นการสานสัมพันธ์ที่ดี 2. เลือกกระทงที่ขนาดเล็กแทนขนาดใหญ่ 3. เลือกกระทงที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่ทำให้น้ำเสีย หรือวัสดุที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ 4. เลือกกระทงที่ใช้วัสดุไม่หลากหลายเกินไป เพื่อลดภาระการคัดแยกก่อนนำไปกำจัด และไม่มีองค์ประกอบที่ย่อยสลายยาก เช่น เข็มหมุด พลาสติก โฟม เพื่อลดขยะในแหล่งน้ำ และ 5. ลอยกระทงออนไลน์ เพื่อลดปริมาณขยะ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

นพ.วชิระ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้มีแนวทางการจัดการขยะ ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ อันจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้าย เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัด เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


“Gen A” อาสา สร้างนวัตกรรมทางปัญญา แก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน
“Gen A” อาสา สร้างนวัตกรรมทางปัญญา แก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน
ปัญหาขยะล้นเมืองถือเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทยและเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยสถิติในการทิ้งขยะในปี 2558 มีมากถึง 49,680 ตันต่อวัน หรือ 17.8 ล้านตันต่อปี ปัญหานี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่มองข้ามและละเลย จึงเป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมเสียสมดุล ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งขยะจากภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน รวมถึงภาคเกษตรกรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทุกคนต่างรับรู้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่มีใครให้ความสำคัญและลงมือแก้ไขปัญหาขยะอย่างจริงจังเสียที
กำลังโหลดความคิดเห็น