โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
“เมืองน่าอยู่ที่สุดเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นเมืองเดินได้ - เมืองเดินดี ทั้งสิ้น” ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย้ำข้อสำคัญของการที่จะทำให้ กรุงเทพมหานคร กลายเป็นเมืองน่าอยู่ ที่จะช่วยสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนเมืองหลวง ภายในงานประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แล้วเมืองเดินได้ เมืองเดินดี นั้น เป็นอย่างไร มีความพิเศษอย่างไร ถึงจะทำให้คนเมืองมีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้
ผศ.ดร.นิรมล อธิบายว่า เมืองเดินได้ คือ เมืองที่ผู้คนสามารถเข้าถึงจุดหมายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยการเดิน ส่วนเมืองเดินดี คือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดิน การออกแบบเมืองเดินได้ - เดินดี จึงมีความกระชับ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ที่อยู่ ที่กิน ที่ทำงาน ที่สาธารณะต่าง ๆ อยู่ในระยะเดิน ทำให้คนไปไหนมาไหนได้ด้วยการเดินเท้า หรือระบบขนส่งมวลชน
ตัวอย่างของเมืองเดินได้เมืองเดินดีของโลก เช่น นครโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมืองบริสตอล และ นครเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล หรือเมืองพอร์ตแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยประโยชน์ของการเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีคือ
1. ด้านสุขภาวะ เมืองเดินดีจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ 10% เพราะมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น
2. ด้านเศรษฐกิจ ย่านที่มีการเดินเท้า หรือจักรยาน จะช่วยให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า นั่นเป็นเพราะคนที่เดินเท้า หรือขี่จักรยานมีโอกาสหยุดจับจ่ายใช้สอยมากกว่าคนขับรถยนต์ ซึ่งจะมาซื้อของไปตุนทีละเป็นอาทิตย์ จึงเป็นการกระจายรายได้สู่ร้านค้ารายย่อย
และ 3. ด้านสังคม ช่วยให้ย่านนั้นน่าอยู่มากขึ้น เกิดความเป็นย่านสูงขึ้น คนรู้จักกัน และเกิดความผูกพันต่อพื้นที่
“ การปรับปรุงพื้นที่เมือง หรือบางส่วนของเมืองให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดี จึงกลายเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมือง ซึ่งเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกก็ให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในเชิงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการแก้ปัญหาจราจร นอกจากนี้ ยังสามารถส่งเสริมสุขภาวะของผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่ในเมืองได้พร้อม ๆ กัน ” ผศ.ดร.นิรมล กล่าว
สำหรับ “กรุงเทพมหานคร” เองก็มีความพยายามที่จะทำให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดี แต่สภาพความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะการสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ล้วนแต่ส่งเสริมต่อการขับรถ มิใช่การเดินเท้า
ผศ.ดร.นิรมล กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าสภาพความเป็นเมืองของ กทม. ขยายออกไปสู่ชานเมืองมากขึ้น มีการสร้างทางยกระดับต่าง ๆ มุ่งออกไปสู่ชานเมือง ขณะที่การเดินเท้าในเมืองก็ต้องมีการสร้างสะพานลอยเพื่อให้คนหลบหลีกรถยนต์ไม่ให้เกิดสภาพการจราจรติดขัด แม้แต่เดินเท้าธรรมดาก็ต้องระมัดระวังตัวสูงมาก ไม่สามารถเดินเที่ยวชมที่ต่างๆ อย่างอ้อยอิ่งสบายใจได้เหมือนอย่างในยุโรป รวมไปถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการเดิน มี 3 ปัญหา คือ
1. ปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดิน แบ่งเป็นอันตรายจากอาชญากรรม 32.5% อันตรายจากอุบัติเหตุบนทางเท้า 31.5% และอันตรายในการเดินยามค่ำคืน 31.5% 2. ปัญหาด้านความสะดวกสบาย แบ่งเป็น ไม่มีสถานีรถโดยสารประจำทางในระยะเดินเท้า 26.9% ไม่มีทางเท้า หรือทางเท้าไม่ต่อเนื่อง 21.6% และทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ 18.4% และ 3. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเดิน แบ่งเป็น ไม่มีร้านค้าระหว่างทา' 44% สภาพแวดล้อมไม่สวยงาม 23.3% และทางเท้าสกปรก มีขยะ 16.8%
“แต่ถามว่า คน กทม. ไม่เดินจริงหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่จริง เพราะจากการสำรวจพบว่าระยะทางเฉลี่ยที่คน กทม. พอใจที่จะเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ คือ 800 เมตร หรือ 10 นาที ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ที่ 820 เมตร ส่วนlหรัฐฯ อยู่ที่ 805 เมตร จะเห็นว่าไม่แตกต่างกันมากเพียงแต่งบประมาณที่ลงทุนและโครงสร้างของเมืองยังคงเอื้อให้เฉพาะรถยนต์เท่านั้น”
การเปลี่ยนแปลง กทม. ให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีนั้น ล่าสุด มีโครงการ Good Walk เมืองเดินได้ - เมืองเดินดี ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ โดย นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้จัดการโครงการ Good Walk ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง กล่าวว่า การดำเนินการนั้น ระยะแรกจะศึกษาเพื่อคัดกรองพื้นที่เมืองเดินได้มีกี่แห่ง ระยะที่สอง ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเดิน และระยะที่ 3 จะนำข้อมูลที่ได้มา นำมาออกแบบดีไซน์เมืองเดินได้เดินดี โดยจะนำร่องประมาณ 3 - 4 พื้นที่ ก่อนเสนอต่อ กทม. ต่อไป
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า พื้นที่ กทม. ที่มีกว่า 1,500 ตารางกิโลเมตร แต่จากการสำรวจตามการดำเนินการระยะแรกพบว่ามีอยู่ 9 พื้นที่ รวมมากกว่า 30 ย่าน หรือประมาณ 11% ของพื้นที่ กทม.ทั้งหมดที่สามารถทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีได้ ประกอบด้วย 1. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรม เช่น ย่านสยาม - ปทุมวัน ย่านประตูน้ำ ย่านสีลม - สาทร ย่านบางรัก และย่านอารีย์ เป็นต้น 2. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมสำนักงาน เช่น ย่านเทเวศร์ - สามเสน ย่านอารีย์สัมพันธ์ เป็นต้น
3. พื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร เช่น ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ย่านพญาไท ย่านมักกะสัน ย่านสะพานตากสิน ย่านสุขุมวิท - อโศก เป็นต้น 4. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมตามแนวรถไฟฟ้า เช่น ย่านสถานีพหลโยธิน ย่านสถานีห้วยขวาง ย่านสถานีสามย่าน เป็นต้น 5. พื้นที่ย่านสถานศึกษา เช่น ย่านบ้านแขก ย่านโบ๊เบ๊ - หัวเฉียว ย่านสีลม - ศาลาแดง ย่านศิริราช - บางกอกน้อย เป็นต้น
6. พื้นที่ย่านการท่องเที่ยว เช่น ย่านบางกอกน้อย - วัดระฆัง ย่านท่าพระจันทร์ - ท่าพระอาทิตย์ ย่านข้าวสาร - บางลำภู เป็นต้น 7. พื้นที่ย่านที่อยู่อาศัย เช่น ย่านลาดพร้าว - วังหิน ย่านบางปะกอก เป็นต้น 8. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมชานเมือง เช่น ย่านนวมินทร์ ย่านบางกะปิ ย่านมีนบุรี ย่านสะพานใหม่ ย่านหลักสี เป็นต้น และ 9. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมอื่น ๆ เช่น ย่านปิ่นเกล้า ย่านเยาวราช เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบแต่ละพื้นที่ด้วยคะแนนศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดิน แบ่งเป็น 0 - 15 คะแนน คือ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดิน 16 - 32 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ลำบาก 33 - 48 เข้าถึงด้วยการเดินได้เล็กน้อย 49 - 65 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ปานกลาง และ 66 - 100 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ดี โดยพื้นที่ที่มีคะแนนศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดีสูงสุด และเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นเมืองเดินดี 10 อันดับ ประกอบด้วย
1. ย่านสยาม - ปทุมวัน 82 คะแนน 2. ย่านราชประสงค์ - ประตูน้ำ 76 คะแนน 3. ย่านสีลม - สาทร 75 คะแนน 4. ย่านอโศก - เพชรบุรี 75 คะแนน 5. ย่านพร้อมพงษ์ 75 คะแนน 6.ย่านบางรัก 75 คะแนน 7.ย่านอารีย์ 72 คะแนน 8.ย่านราชเทวี - พญาไท 72 คะแนน 9.ย่านสามย่าน 72 คะแนน และ 10.ย่านบางกอกน้อย 72 คะแนน
“ขณะนี้อยู่ในช่วงการดำเนินงานในระยะที่สอง ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินในพื้นที่ คาดว่าจะสำเร็จในช่วงต้นปี 2559 ซึ่งหลังจากได้ข้อมูลแล้วจะมาเลือกพื้นที่นำร่องในการออกแบบเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีว่าจะทำปรับปรุงเมืองอย่างไร ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะต่างกัน ส่วนการเลือกพื้นที่นั้นอาจเลือกทั้งพื้นที่ที่ได้คะแนนสูง เพราะมีความพร้อมในการปรับเป็นเมืองเดินได้เดินดี หรืออาจมีพื้นที่ที่คะแนนต่ำ เพื่อเป็นตัวอย่างว่าจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เป็นต้น”
การทำเมืองเดินได้ เมืองเดินดี ไม่เพียงแต่ กทม. เท่านั้น แต่ทุกจังหวัดก็สามารถดำเนินการได้ด้วย 3 ขั้นตอนดังกล่าว โดย นายอดิศักดิ์ ระบุว่า ในส่วนภูมิภาคนั้นก็เริ่มมีการดำเนินการบ้างแล้วเช่นกัน ในพื้นที่เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก ชลบุรี หาดใหญ่ และภูเก็ต
คงต้องมาจับตาดูว่าหน่วยงานสำคัญอย่าง กทม. จะใส่ใจคุณภาพชีวิตของคนเมืองมากแค่ไหน และจะทำให้คน กทม. ได้ใช้ชีวิตศิวิไลซ์อย่างเมืองเดินได้-เมืองเดินดีเช่นเดียวกับต่างประเทศหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
“เมืองน่าอยู่ที่สุดเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นเมืองเดินได้ - เมืองเดินดี ทั้งสิ้น” ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย้ำข้อสำคัญของการที่จะทำให้ กรุงเทพมหานคร กลายเป็นเมืองน่าอยู่ ที่จะช่วยสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนเมืองหลวง ภายในงานประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แล้วเมืองเดินได้ เมืองเดินดี นั้น เป็นอย่างไร มีความพิเศษอย่างไร ถึงจะทำให้คนเมืองมีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้
ผศ.ดร.นิรมล อธิบายว่า เมืองเดินได้ คือ เมืองที่ผู้คนสามารถเข้าถึงจุดหมายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยการเดิน ส่วนเมืองเดินดี คือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดิน การออกแบบเมืองเดินได้ - เดินดี จึงมีความกระชับ สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ที่อยู่ ที่กิน ที่ทำงาน ที่สาธารณะต่าง ๆ อยู่ในระยะเดิน ทำให้คนไปไหนมาไหนได้ด้วยการเดินเท้า หรือระบบขนส่งมวลชน
ตัวอย่างของเมืองเดินได้เมืองเดินดีของโลก เช่น นครโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมืองบริสตอล และ นครเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เมืองคูริติบา ประเทศบราซิล หรือเมืองพอร์ตแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยประโยชน์ของการเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีคือ
1. ด้านสุขภาวะ เมืองเดินดีจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ 10% เพราะมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น
2. ด้านเศรษฐกิจ ย่านที่มีการเดินเท้า หรือจักรยาน จะช่วยให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า นั่นเป็นเพราะคนที่เดินเท้า หรือขี่จักรยานมีโอกาสหยุดจับจ่ายใช้สอยมากกว่าคนขับรถยนต์ ซึ่งจะมาซื้อของไปตุนทีละเป็นอาทิตย์ จึงเป็นการกระจายรายได้สู่ร้านค้ารายย่อย
และ 3. ด้านสังคม ช่วยให้ย่านนั้นน่าอยู่มากขึ้น เกิดความเป็นย่านสูงขึ้น คนรู้จักกัน และเกิดความผูกพันต่อพื้นที่
“ การปรับปรุงพื้นที่เมือง หรือบางส่วนของเมืองให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดี จึงกลายเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมือง ซึ่งเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกก็ให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในเชิงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการแก้ปัญหาจราจร นอกจากนี้ ยังสามารถส่งเสริมสุขภาวะของผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่ในเมืองได้พร้อม ๆ กัน ” ผศ.ดร.นิรมล กล่าว
สำหรับ “กรุงเทพมหานคร” เองก็มีความพยายามที่จะทำให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดี แต่สภาพความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะการสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ล้วนแต่ส่งเสริมต่อการขับรถ มิใช่การเดินเท้า
ผศ.ดร.นิรมล กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าสภาพความเป็นเมืองของ กทม. ขยายออกไปสู่ชานเมืองมากขึ้น มีการสร้างทางยกระดับต่าง ๆ มุ่งออกไปสู่ชานเมือง ขณะที่การเดินเท้าในเมืองก็ต้องมีการสร้างสะพานลอยเพื่อให้คนหลบหลีกรถยนต์ไม่ให้เกิดสภาพการจราจรติดขัด แม้แต่เดินเท้าธรรมดาก็ต้องระมัดระวังตัวสูงมาก ไม่สามารถเดินเที่ยวชมที่ต่างๆ อย่างอ้อยอิ่งสบายใจได้เหมือนอย่างในยุโรป รวมไปถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการเดิน มี 3 ปัญหา คือ
1. ปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดิน แบ่งเป็นอันตรายจากอาชญากรรม 32.5% อันตรายจากอุบัติเหตุบนทางเท้า 31.5% และอันตรายในการเดินยามค่ำคืน 31.5% 2. ปัญหาด้านความสะดวกสบาย แบ่งเป็น ไม่มีสถานีรถโดยสารประจำทางในระยะเดินเท้า 26.9% ไม่มีทางเท้า หรือทางเท้าไม่ต่อเนื่อง 21.6% และทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อ 18.4% และ 3. ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเดิน แบ่งเป็น ไม่มีร้านค้าระหว่างทา' 44% สภาพแวดล้อมไม่สวยงาม 23.3% และทางเท้าสกปรก มีขยะ 16.8%
“แต่ถามว่า คน กทม. ไม่เดินจริงหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่จริง เพราะจากการสำรวจพบว่าระยะทางเฉลี่ยที่คน กทม. พอใจที่จะเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ คือ 800 เมตร หรือ 10 นาที ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ที่ 820 เมตร ส่วนlหรัฐฯ อยู่ที่ 805 เมตร จะเห็นว่าไม่แตกต่างกันมากเพียงแต่งบประมาณที่ลงทุนและโครงสร้างของเมืองยังคงเอื้อให้เฉพาะรถยนต์เท่านั้น”
การเปลี่ยนแปลง กทม. ให้เป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีนั้น ล่าสุด มีโครงการ Good Walk เมืองเดินได้ - เมืองเดินดี ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ โดย นายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้จัดการโครงการ Good Walk ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง กล่าวว่า การดำเนินการนั้น ระยะแรกจะศึกษาเพื่อคัดกรองพื้นที่เมืองเดินได้มีกี่แห่ง ระยะที่สอง ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเดิน และระยะที่ 3 จะนำข้อมูลที่ได้มา นำมาออกแบบดีไซน์เมืองเดินได้เดินดี โดยจะนำร่องประมาณ 3 - 4 พื้นที่ ก่อนเสนอต่อ กทม. ต่อไป
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า พื้นที่ กทม. ที่มีกว่า 1,500 ตารางกิโลเมตร แต่จากการสำรวจตามการดำเนินการระยะแรกพบว่ามีอยู่ 9 พื้นที่ รวมมากกว่า 30 ย่าน หรือประมาณ 11% ของพื้นที่ กทม.ทั้งหมดที่สามารถทำสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีได้ ประกอบด้วย 1. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรม เช่น ย่านสยาม - ปทุมวัน ย่านประตูน้ำ ย่านสีลม - สาทร ย่านบางรัก และย่านอารีย์ เป็นต้น 2. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมสำนักงาน เช่น ย่านเทเวศร์ - สามเสน ย่านอารีย์สัมพันธ์ เป็นต้น
3. พื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร เช่น ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ย่านพญาไท ย่านมักกะสัน ย่านสะพานตากสิน ย่านสุขุมวิท - อโศก เป็นต้น 4. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมตามแนวรถไฟฟ้า เช่น ย่านสถานีพหลโยธิน ย่านสถานีห้วยขวาง ย่านสถานีสามย่าน เป็นต้น 5. พื้นที่ย่านสถานศึกษา เช่น ย่านบ้านแขก ย่านโบ๊เบ๊ - หัวเฉียว ย่านสีลม - ศาลาแดง ย่านศิริราช - บางกอกน้อย เป็นต้น
6. พื้นที่ย่านการท่องเที่ยว เช่น ย่านบางกอกน้อย - วัดระฆัง ย่านท่าพระจันทร์ - ท่าพระอาทิตย์ ย่านข้าวสาร - บางลำภู เป็นต้น 7. พื้นที่ย่านที่อยู่อาศัย เช่น ย่านลาดพร้าว - วังหิน ย่านบางปะกอก เป็นต้น 8. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมชานเมือง เช่น ย่านนวมินทร์ ย่านบางกะปิ ย่านมีนบุรี ย่านสะพานใหม่ ย่านหลักสี เป็นต้น และ 9. พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมอื่น ๆ เช่น ย่านปิ่นเกล้า ย่านเยาวราช เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบแต่ละพื้นที่ด้วยคะแนนศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดิน แบ่งเป็น 0 - 15 คะแนน คือ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดิน 16 - 32 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ลำบาก 33 - 48 เข้าถึงด้วยการเดินได้เล็กน้อย 49 - 65 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ปานกลาง และ 66 - 100 คะแนน คือ เข้าถึงด้วยการเดินได้ดี โดยพื้นที่ที่มีคะแนนศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินได้ดีสูงสุด และเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นเมืองเดินดี 10 อันดับ ประกอบด้วย
1. ย่านสยาม - ปทุมวัน 82 คะแนน 2. ย่านราชประสงค์ - ประตูน้ำ 76 คะแนน 3. ย่านสีลม - สาทร 75 คะแนน 4. ย่านอโศก - เพชรบุรี 75 คะแนน 5. ย่านพร้อมพงษ์ 75 คะแนน 6.ย่านบางรัก 75 คะแนน 7.ย่านอารีย์ 72 คะแนน 8.ย่านราชเทวี - พญาไท 72 คะแนน 9.ย่านสามย่าน 72 คะแนน และ 10.ย่านบางกอกน้อย 72 คะแนน
“ขณะนี้อยู่ในช่วงการดำเนินงานในระยะที่สอง ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินในพื้นที่ คาดว่าจะสำเร็จในช่วงต้นปี 2559 ซึ่งหลังจากได้ข้อมูลแล้วจะมาเลือกพื้นที่นำร่องในการออกแบบเป็นเมืองเดินได้ เมืองเดินดีว่าจะทำปรับปรุงเมืองอย่างไร ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะต่างกัน ส่วนการเลือกพื้นที่นั้นอาจเลือกทั้งพื้นที่ที่ได้คะแนนสูง เพราะมีความพร้อมในการปรับเป็นเมืองเดินได้เดินดี หรืออาจมีพื้นที่ที่คะแนนต่ำ เพื่อเป็นตัวอย่างว่าจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เป็นต้น”
การทำเมืองเดินได้ เมืองเดินดี ไม่เพียงแต่ กทม. เท่านั้น แต่ทุกจังหวัดก็สามารถดำเนินการได้ด้วย 3 ขั้นตอนดังกล่าว โดย นายอดิศักดิ์ ระบุว่า ในส่วนภูมิภาคนั้นก็เริ่มมีการดำเนินการบ้างแล้วเช่นกัน ในพื้นที่เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก ชลบุรี หาดใหญ่ และภูเก็ต
คงต้องมาจับตาดูว่าหน่วยงานสำคัญอย่าง กทม. จะใส่ใจคุณภาพชีวิตของคนเมืองมากแค่ไหน และจะทำให้คน กทม. ได้ใช้ชีวิตศิวิไลซ์อย่างเมืองเดินได้-เมืองเดินดีเช่นเดียวกับต่างประเทศหรือไม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่