“หมอประกิต” แฉสมาคมค้ายาสูบค้านขึ้นภาษีบุหรี่ เหตุ บ.บุหรี่ข้ามชาติได้รับผลกระทบ คนหันสูบบุหรี่ราคาถูกลง แต่ไม่มีสินค้าตลาดล่างรองรับ ยันขึ้นภาษีช่วยรัฐได้งบเพิ่มขึ้น ชะลอการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายรักษาโรค
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เหตุผลที่แท้จริงที่สมาคมการค้ายาสูบไทย ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอร์ริส ออกมาคัดค้านการขึ้นภาษียาสูบ เพราะหากมีการขึ้นภาษี บุหรี่ของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากคนจะหันไปสูบบุหรี่ราคาถูกกว่า โดยปัจจุบันบุหรี่พรีเมียมยี่ห้อมาร์ลโบโร ราคาซองละ 95 บาท ครองตลาด 6.3% และบุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม ที่อยู่ระดับกลาง - บน ราคาซองละ 68 บาท ครองส่วนแบ่งตลาด 20.7% ขณะที่บุหรี่ระดับกลางของโรงงานยาสูบ คือ กรองทิพย์ ครองตลาด 18.3% ที่เหลือ 42.7% เป็นบุหรี่ตลาดล่าง ได้แก่ ยี่ห้อวอนเดอร์ และ เอสเอ็มเอส ซึ่งมีราคาไม่ถึงซองละ 50 บาท การขึ้นภาษีจะทำให้บุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม มีราคาสูงกว่า 70 บาทต่อซอง ผู้สูบจะหันไปสูบบุหรี่วอนเดอร์ SMS และบุหรี่ถูกยี่ห้ออื่น เพราะฟิลลิป มอร์ริส ไม่มีสินค้าในตลาดระดับล่าง จะทำให้ฟิลลิป มอร์ริส เสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยที่ครองอยู่
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ส่วนที่ว่ารัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีลดลงหากมีการขึ้นภาษีนั้น ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ การขึ้นภาษียาสูบสิบครั้งที่ผ่านมาของประเทศไทย รัฐบาลไทยได้รับภาษีเพิ่มขึ้นทุกครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าบุหรี่หนีภาษีมีปริมาณเพิ่มขึ้นเลย โดยการขึ้นภาษีสิบครั้งที่ผ่านมาระหว่างปี 2536 - 2555 ทำให้รัฐบาลเก็บภาษียาสูบเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จาก 15,345 ล้านบาทในปี 2536 ด้วยยอดขายบุหรี่ 2,135 ล้านซอง เป็น 61,001 ล้านบาท ในปี 2557 ด้วยยอดขาย 2,003 ล้านซอง ซึ่งเป็นการยืนยันว่า การขึ้นภาษีทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การสูบบุหรี่ทรงตัว ชะลอภาระการเจ็บป่วยและค่าใช้จ่ายรักษาโรค และการขึ้นภาษีครั้งนี้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น ปีละไม่ต่ำกว่าหลายพันล้านบาท
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เหตุผลที่แท้จริงที่สมาคมการค้ายาสูบไทย ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ ฟิลลิป มอร์ริส ออกมาคัดค้านการขึ้นภาษียาสูบ เพราะหากมีการขึ้นภาษี บุหรี่ของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากคนจะหันไปสูบบุหรี่ราคาถูกกว่า โดยปัจจุบันบุหรี่พรีเมียมยี่ห้อมาร์ลโบโร ราคาซองละ 95 บาท ครองตลาด 6.3% และบุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม ที่อยู่ระดับกลาง - บน ราคาซองละ 68 บาท ครองส่วนแบ่งตลาด 20.7% ขณะที่บุหรี่ระดับกลางของโรงงานยาสูบ คือ กรองทิพย์ ครองตลาด 18.3% ที่เหลือ 42.7% เป็นบุหรี่ตลาดล่าง ได้แก่ ยี่ห้อวอนเดอร์ และ เอสเอ็มเอส ซึ่งมีราคาไม่ถึงซองละ 50 บาท การขึ้นภาษีจะทำให้บุหรี่ยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม มีราคาสูงกว่า 70 บาทต่อซอง ผู้สูบจะหันไปสูบบุหรี่วอนเดอร์ SMS และบุหรี่ถูกยี่ห้ออื่น เพราะฟิลลิป มอร์ริส ไม่มีสินค้าในตลาดระดับล่าง จะทำให้ฟิลลิป มอร์ริส เสียส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยที่ครองอยู่
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ส่วนที่ว่ารัฐบาลจะมีรายได้จากภาษีลดลงหากมีการขึ้นภาษีนั้น ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ การขึ้นภาษียาสูบสิบครั้งที่ผ่านมาของประเทศไทย รัฐบาลไทยได้รับภาษีเพิ่มขึ้นทุกครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าบุหรี่หนีภาษีมีปริมาณเพิ่มขึ้นเลย โดยการขึ้นภาษีสิบครั้งที่ผ่านมาระหว่างปี 2536 - 2555 ทำให้รัฐบาลเก็บภาษียาสูบเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า จาก 15,345 ล้านบาทในปี 2536 ด้วยยอดขายบุหรี่ 2,135 ล้านซอง เป็น 61,001 ล้านบาท ในปี 2557 ด้วยยอดขาย 2,003 ล้านซอง ซึ่งเป็นการยืนยันว่า การขึ้นภาษีทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การสูบบุหรี่ทรงตัว ชะลอภาระการเจ็บป่วยและค่าใช้จ่ายรักษาโรค และการขึ้นภาษีครั้งนี้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น ปีละไม่ต่ำกว่าหลายพันล้านบาท
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่