สธ. แนะ ปชช. พื้นที่เสี่ยงภัยหมอกควัน ฝุ่นละออง ทำ “ห้องสะอาด” ภายในบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ รองรับเหตุการณ์ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ “ห้องสะอาด” ในชุมชน
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ปัญหาหมอกควันอาจจะกลับมาได้ตลอดเวลาเนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศแห้ง มีไฟป่าเกิดขึ้นได้ง่าย รวมทั้งจะมีบางส่วนเผาทำลายวัชพืชภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่มีปัญหาในพื้นที่ทุกปี ซึ่งค่าปริมาณฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา สธ.ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. ให้พื้นที่ที่มีปัญหาภัยจากหมอกควัน สำรวจและจัดทำทะเบียนประชากรเสี่ยงในชุมชน ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 2. จัดระบบเฝ้าระวังและรายงานเป็นรอบปีตามฤดู เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชน และ 3. ให้โรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง จัดเตรียม “ห้องสะอาด” รองรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ “ห้องสะอาด” ในชุมชน รองรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ที่ไม่สามารถจัดทำ ห้องสะอาดในบ้านได้
“ทุกบ้านสามารถจัดทำ “ห้องสะอาด” ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาภัยจากหมอกควันเป็นประจำ เช่น จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งพื้นที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นละอองจำนวนมาก ทำได้ง่ายๆ โดยหาห้องโล่ง ๆ ในบ้าน ที่มีเฟอร์นิเจอร์น้อย มีประตูหน้าต่างมิดชิด ถ้ามีระบบปรับอากาศที่ติดตัวกรองอากาศก็จะช่วยได้มาก ส่วนวิธีการทำความสะอาดภายในบ้าน ขอให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ไม่ปัดให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ไม่จุดธูปเทียนในบ้าน ไม่เผาขยะ หรืออาจใช้วิธีฉีดละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละออง” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ปัญหาหมอกควันอาจจะกลับมาได้ตลอดเวลาเนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศแห้ง มีไฟป่าเกิดขึ้นได้ง่าย รวมทั้งจะมีบางส่วนเผาทำลายวัชพืชภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่มีปัญหาในพื้นที่ทุกปี ซึ่งค่าปริมาณฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา สธ.ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. ให้พื้นที่ที่มีปัญหาภัยจากหมอกควัน สำรวจและจัดทำทะเบียนประชากรเสี่ยงในชุมชน ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ 2. จัดระบบเฝ้าระวังและรายงานเป็นรอบปีตามฤดู เพื่อเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชน และ 3. ให้โรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง จัดเตรียม “ห้องสะอาด” รองรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ “ห้องสะอาด” ในชุมชน รองรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ที่ไม่สามารถจัดทำ ห้องสะอาดในบ้านได้
“ทุกบ้านสามารถจัดทำ “ห้องสะอาด” ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปัญหาภัยจากหมอกควันเป็นประจำ เช่น จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งพื้นที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นละอองจำนวนมาก ทำได้ง่ายๆ โดยหาห้องโล่ง ๆ ในบ้าน ที่มีเฟอร์นิเจอร์น้อย มีประตูหน้าต่างมิดชิด ถ้ามีระบบปรับอากาศที่ติดตัวกรองอากาศก็จะช่วยได้มาก ส่วนวิธีการทำความสะอาดภายในบ้าน ขอให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ไม่ปัดให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย ไม่จุดธูปเทียนในบ้าน ไม่เผาขยะ หรืออาจใช้วิธีฉีดละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละออง” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่