กรมสุขภาพจิตวอนประชาชนพบเห็นคนเร่ร่อนให้แจ้ง จนท.สธ.- พม. ช่วยคัดกรอง “ป่วยกาย - จิต” หรือไม่ หากป่วยส่งตัวเข้าสู่การรักษา เผยคนเร่ร่อนมี 3 กลุ่ม “สมัครใจ - ติดเหล้า - ป่วยกายและจิต”
วันนี้ (15 ต.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีชายหนุ่มเร่ร่อน ที่คาดเป็นผู้ป่วยจิตเวชไล่ทำร้ายคนเดินถนนย่านลาดพร้าว ว่า คนเร่ร่อนที่พบตามท้องถนนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่สมัครใจออกมาเร่ร่อน 2. ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 3. ผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตเวชที่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ว่าตัวเองเป็นใคร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี พ.ร.บ. สุขภาพจิต ที่กำหนดให้ญาติหรือผู้ที่พบเห็นผู้ป่วยจิตเวชสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำตัวเข้าสู่ระบบการรักษา และ พ.ร.บ. คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะนำตัวมาสู่จุดให้การดูแล หากตรวจคัดกรองพบปัญหาสุขภาพทางกายก็จะส่งต่อมาที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถ้ามีปัญหาด้านสุขภาพจิตก็มีทีมสุขภาพจิตลงไปประเมินให้การรักษา และสืบหาที่มาของผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมา พบว่า กว่าครึ่งเมื่อรับการรักษาแล้วสามารถจำตัวเองได้ ซึ่งก็จะนำส่งต่อให้ครอบครัวดูแลต่อไป
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า สำหรับผู้ที่เข้าสู่การรักษาจนอาการดีขึ้นแล้วแต่ไม่มีครอบครัวดูแล จะนำสู่สถานสงเคราะห์ที่มีบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 แห่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลหากรู้ตัวตน สืบหาเลขประจำตัวประชาชนได้ ก็จะดูแลด้วยใช้สิทธิบัตรทอง แต่ถ้าไม่มีหลักฐานแสดงตัวตนใด ๆ ก็จะใช้ระบบสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 300 กว่าราย ใช้งบประมาณรวม 4 - 5 แสนบาทต่อปี ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ป่วยโรคจิตเวชเรื้อรังใน รพ. พบว่า ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาจนกระทั่งเป็นผู้สูงอายุร่วมด้วย จึงต้องมาวางแผนการช่วยเหลือ ขณะที่ผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาใน รพ. จนอาการดีขึ้น พร้อมจำหน่ายออกจาก รพ.จิตเวช ก็ต้องมีระบบติดตามตัวอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับ รพ.ชุมชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้หายออกไปจากระบบการรักษา เช่น ย้ายไปทำงานต่างถิ่น เป็นต้น ถือเป็นที่หายจากการติดตามและมีโอกาสขาดยา
“ผู้ที่พบเห็นผู้ป่วยจิตเวชแล้วไม่แจ้ง หรือญาติไม่นำส่งผู้ป่วยจิตเวชเข้าสู่การรักษา ตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นความผิด เพราะสังคมไทยตอนนี้ยังไม่พร้อมเรื่องการกำหนดโทษ แต่เป็นจุดที่ต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือทางครอบครัวว่า ทำไมถึงไม่ส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารักษา เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่ยอมทานยา คนอื่นอาจจะมองว่าก็ต้องบังคับให้ทาน แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจิตเวชจะมีอาการหวาดระแวงสังคม ดังนั้น ถ้าพบเห็นก็พยายามอย่าเข้าไปอยู่ใกล้” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ต.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีชายหนุ่มเร่ร่อน ที่คาดเป็นผู้ป่วยจิตเวชไล่ทำร้ายคนเดินถนนย่านลาดพร้าว ว่า คนเร่ร่อนที่พบตามท้องถนนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มคนที่สมัครใจออกมาเร่ร่อน 2. ผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 3. ผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตเวชที่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ว่าตัวเองเป็นใคร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี พ.ร.บ. สุขภาพจิต ที่กำหนดให้ญาติหรือผู้ที่พบเห็นผู้ป่วยจิตเวชสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนำตัวเข้าสู่ระบบการรักษา และ พ.ร.บ. คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะนำตัวมาสู่จุดให้การดูแล หากตรวจคัดกรองพบปัญหาสุขภาพทางกายก็จะส่งต่อมาที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถ้ามีปัญหาด้านสุขภาพจิตก็มีทีมสุขภาพจิตลงไปประเมินให้การรักษา และสืบหาที่มาของผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมา พบว่า กว่าครึ่งเมื่อรับการรักษาแล้วสามารถจำตัวเองได้ ซึ่งก็จะนำส่งต่อให้ครอบครัวดูแลต่อไป
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า สำหรับผู้ที่เข้าสู่การรักษาจนอาการดีขึ้นแล้วแต่ไม่มีครอบครัวดูแล จะนำสู่สถานสงเคราะห์ที่มีบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 แห่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลหากรู้ตัวตน สืบหาเลขประจำตัวประชาชนได้ ก็จะดูแลด้วยใช้สิทธิบัตรทอง แต่ถ้าไม่มีหลักฐานแสดงตัวตนใด ๆ ก็จะใช้ระบบสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 300 กว่าราย ใช้งบประมาณรวม 4 - 5 แสนบาทต่อปี ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ป่วยโรคจิตเวชเรื้อรังใน รพ. พบว่า ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาจนกระทั่งเป็นผู้สูงอายุร่วมด้วย จึงต้องมาวางแผนการช่วยเหลือ ขณะที่ผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาใน รพ. จนอาการดีขึ้น พร้อมจำหน่ายออกจาก รพ.จิตเวช ก็ต้องมีระบบติดตามตัวอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับ รพ.ชุมชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้หายออกไปจากระบบการรักษา เช่น ย้ายไปทำงานต่างถิ่น เป็นต้น ถือเป็นที่หายจากการติดตามและมีโอกาสขาดยา
“ผู้ที่พบเห็นผู้ป่วยจิตเวชแล้วไม่แจ้ง หรือญาติไม่นำส่งผู้ป่วยจิตเวชเข้าสู่การรักษา ตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นความผิด เพราะสังคมไทยตอนนี้ยังไม่พร้อมเรื่องการกำหนดโทษ แต่เป็นจุดที่ต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือทางครอบครัวว่า ทำไมถึงไม่ส่งตัวผู้ป่วยเข้ามารักษา เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่ยอมทานยา คนอื่นอาจจะมองว่าก็ต้องบังคับให้ทาน แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจิตเวชจะมีอาการหวาดระแวงสังคม ดังนั้น ถ้าพบเห็นก็พยายามอย่าเข้าไปอยู่ใกล้” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่