ดันไทยศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เร่งทำระบบเก็บค่าประกันสุขภาพชาวต่างชาติ ขยายเวลาพำนักในไทย กรณีรักษาพยาบาลกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน เดิม 14 - 30 วัน เป็น 90 วัน ส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ แพกเกจสุขภาพ และพัฒนาสถานบริการรองรับนักท่องเที่ยว
วันนี้ (12 ต.ค.) ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ประชุมคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ครั้งที่ 1/2558 เพื่อพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ 10 ปี (พ.ศ.2559 - 2568) และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานทุก 3 เดือน
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย ทำให้การท่องเที่ยวของประเทศดีขึ้น โดย สธ. มีความพร้อมในเรื่องบริการทางการแพทย์ที่ไม่เป็นรองใครในภูมิภาค รวมทั้งบริการสุขภาพที่ไทยมีความโดดเด่นระดับโลก ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. 2559 - 2568) 4 ข้อ คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถในการจัดบริการสุขภาพ 2. พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการทุกระดับ 3. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการรายย่อย รองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4. การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
“สำหรับการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน เพื่อให้เห็นผลภายใน 2 ปี 2559 - 2560 จะเร่งจัดทำระบบประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติ (Landed Fee) การพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนนำร่อง 7 จังหวัด ขยายเวลาพำนักในไทย กรณีเข้ารักษาพยาบาลกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน จาก 14 - 30 วัน เป็น 90 วัน จัดทำแพกเกจสุขภาพพัฒนาสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน รองรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ” รมว.สธ. กล่าว
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การดำเนินงานพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นการบูรณาการกับกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนและเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติ โดยนโยบายด้านสาธารณสุขอยู่ในนโยบายที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน และอยู่ในคลัสเตอร์ที่ 4 ของนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศผลการดำเนินงาน ในปี 2557 มีชาวต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพในประเทศไทย 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่ไทยได้รับการยอมรับ คือ ราคาเหมาะสม บริการมีคุณภาพ มาตรฐานสากล บุคลากรเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีทันสมัย คนอัธยาศัยดี และมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 ต.ค.) ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ประชุมคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ครั้งที่ 1/2558 เพื่อพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ 10 ปี (พ.ศ.2559 - 2568) และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานทุก 3 เดือน
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย ทำให้การท่องเที่ยวของประเทศดีขึ้น โดย สธ. มีความพร้อมในเรื่องบริการทางการแพทย์ที่ไม่เป็นรองใครในภูมิภาค รวมทั้งบริการสุขภาพที่ไทยมีความโดดเด่นระดับโลก ขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาและส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. 2559 - 2568) 4 ข้อ คือ 1. เพิ่มขีดความสามารถในการจัดบริการสุขภาพ 2. พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการทุกระดับ 3. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการรายย่อย รองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4. การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์
“สำหรับการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน เพื่อให้เห็นผลภายใน 2 ปี 2559 - 2560 จะเร่งจัดทำระบบประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างชาติ (Landed Fee) การพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนนำร่อง 7 จังหวัด ขยายเวลาพำนักในไทย กรณีเข้ารักษาพยาบาลกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน จาก 14 - 30 วัน เป็น 90 วัน จัดทำแพกเกจสุขภาพพัฒนาสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน รองรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ” รมว.สธ. กล่าว
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การดำเนินงานพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นการบูรณาการกับกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนและเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติ โดยนโยบายด้านสาธารณสุขอยู่ในนโยบายที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน และอยู่ในคลัสเตอร์ที่ 4 ของนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศผลการดำเนินงาน ในปี 2557 มีชาวต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพในประเทศไทย 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่ไทยได้รับการยอมรับ คือ ราคาเหมาะสม บริการมีคุณภาพ มาตรฐานสากล บุคลากรเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีทันสมัย คนอัธยาศัยดี และมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่