รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคน เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ระยะฟักตัวนานประมาณ 5 - 8 วัน และมีอาการไข้ประมาณ 2 - 7 วัน ซึ่งในช่วงนี้หากยุงกัดผู้ป่วยก็จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไป
สังเกตตนเอง อาจเป็นไข้เลือดออก
- มักจะมีไข้ขึ้นสูง 2-7วัน (อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส)
- เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง
- ในรายที่มีเกล็ดเลือดต่ำ อาจเห็นจุดเลือดออกสีแดงเล็ก ๆ ตามผิวหนัง เนื่องจากมีเลือดออกที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคไข้เลือดออก
- อาจมีอาการปวดท้อง เนื่องจากมีตับโตในช่องท้อง
วินิจฉัยได้ง่ายหรือไม่
อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ไม่ได้สรุปว่าคนนั้นเป็นไข้เลือดออก แต่หากมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามลำตัว ก็จะทำให้แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไข้แบบเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว แต่แพทย์ตรวจไม่พบแหล่งติดเชื้อเฉพาะที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย ก็จะต้องทำการซักประวัติและสอบถามถึงสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัย ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก คือ ผู้อยู่ในละแวกที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างดี
ปัจจุบันสามารถนำการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นบางกรณี อาทิ การตรวจนับเม็ดเลือด และจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยเชิงลึก ซึ่งต้องพิจารณาจากอาการเป็นกรณี ๆ ไป
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีอาการไม่มาก เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก็จะหายเป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีอาการรุนแรง เลือดออกมาก โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร ถ่ายดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด มือเท้าเย็น ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายว่า ผู้ป่วยอาจมีความดันเลือดต่ำ ช็อก และหมดสติได้
สำหรับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว จะมีเพียงภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งอาจมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้อีกหากต่างสายพันธุ์ แต่โรคนี้จะไม่ติดต่อทางการสัมผัส หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ฉะนั้น การป้องกัน โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณ หรือภาชนะที่อาจมีน้ำขัง และที่สำคัญ ป้องกันไม่ให้ยุงลายมากัดเราได้ เช่น นอนในมุ้ง หรือทาโลชั่นกันยุง เป็นต้น
-------
พบกิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
กิจกรรมให้ความรู้สู่ประชาชน ไม่เสียค่าใช้จ่าย
•2 ต.ค.58 เวลา 08.00 - 16.30 น. งาน “มหัศจรรย์ยิ้มสู้มะเร็ง ครั้งที่ 3” ที่โถงอาคาร ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระศรีนครินทร์ ฟังเสวนาให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ตรง เทศนาธรรมโดย พระมหาสมปอง ตาลปุตุโต ฯลฯ สำรองที่นั่ง โทร. 083 2911188
•9 ต.ค.58 กันไว้ดีกว่าแก้ เรื่องแรก งาน “รู้ทันสู้ศัตรูเต้านม... มะเร็ง” พบสาระมากมาย เวลา
08.30 - 15.00 น. ที่อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 โทร.สมัคร 0 2419 4474 เรื่องที่สอง รับความรู้ดูแลสุขภาพในหัวข้อ “มะเร็งตับ” เวลา 10.00 - 12.00 น. ที่ห้อง 7009 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 7419
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคน เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ระยะฟักตัวนานประมาณ 5 - 8 วัน และมีอาการไข้ประมาณ 2 - 7 วัน ซึ่งในช่วงนี้หากยุงกัดผู้ป่วยก็จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไป
สังเกตตนเอง อาจเป็นไข้เลือดออก
- มักจะมีไข้ขึ้นสูง 2-7วัน (อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส)
- เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง
- ในรายที่มีเกล็ดเลือดต่ำ อาจเห็นจุดเลือดออกสีแดงเล็ก ๆ ตามผิวหนัง เนื่องจากมีเลือดออกที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคไข้เลือดออก
- อาจมีอาการปวดท้อง เนื่องจากมีตับโตในช่องท้อง
วินิจฉัยได้ง่ายหรือไม่
อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ไม่ได้สรุปว่าคนนั้นเป็นไข้เลือดออก แต่หากมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามลำตัว ก็จะทำให้แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไข้แบบเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว แต่แพทย์ตรวจไม่พบแหล่งติดเชื้อเฉพาะที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย ก็จะต้องทำการซักประวัติและสอบถามถึงสภาพแวดล้อมของที่พักอาศัย ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออก คือ ผู้อยู่ในละแวกที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างดี
ปัจจุบันสามารถนำการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นบางกรณี อาทิ การตรวจนับเม็ดเลือด และจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิจฉัยเชิงลึก ซึ่งต้องพิจารณาจากอาการเป็นกรณี ๆ ไป
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีอาการไม่มาก เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก็จะหายเป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีอาการรุนแรง เลือดออกมาก โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร ถ่ายดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด มือเท้าเย็น ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายว่า ผู้ป่วยอาจมีความดันเลือดต่ำ ช็อก และหมดสติได้
สำหรับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว จะมีเพียงภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งอาจมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้อีกหากต่างสายพันธุ์ แต่โรคนี้จะไม่ติดต่อทางการสัมผัส หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ฉะนั้น การป้องกัน โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณ หรือภาชนะที่อาจมีน้ำขัง และที่สำคัญ ป้องกันไม่ให้ยุงลายมากัดเราได้ เช่น นอนในมุ้ง หรือทาโลชั่นกันยุง เป็นต้น
-------
พบกิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
กิจกรรมให้ความรู้สู่ประชาชน ไม่เสียค่าใช้จ่าย
•2 ต.ค.58 เวลา 08.00 - 16.30 น. งาน “มหัศจรรย์ยิ้มสู้มะเร็ง ครั้งที่ 3” ที่โถงอาคาร ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระศรีนครินทร์ ฟังเสวนาให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ตรง เทศนาธรรมโดย พระมหาสมปอง ตาลปุตุโต ฯลฯ สำรองที่นั่ง โทร. 083 2911188
•9 ต.ค.58 กันไว้ดีกว่าแก้ เรื่องแรก งาน “รู้ทันสู้ศัตรูเต้านม... มะเร็ง” พบสาระมากมาย เวลา
08.30 - 15.00 น. ที่อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 โทร.สมัคร 0 2419 4474 เรื่องที่สอง รับความรู้ดูแลสุขภาพในหัวข้อ “มะเร็งตับ” เวลา 10.00 - 12.00 น. ที่ห้อง 7009 ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 7419
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่