สสส. สคล.จับมือเยาวชนบ้านกาญจนาฯ และนักเรียนนักศึกษา ดูหนังเอมี่ไวน์เฮาส์ หวังเพิ่มทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันหยุดอบายมุขในวัยโจ๋
วันนี้ (23 ก.ย.) เวลา 09.30 น. ที่โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก นำเยาวชนและนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน กว่า 250 คน เข้าชมภาพยนตร์ “เอมี่ ไวน์เฮาส์” (Amy Winehouse) เพื่อเพิ่มทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถอดบทเรียนผ่านเวทีเสวนาหัวข้อ “เอมี ไวน์เฮาส์ เหล้าหรือใคร หรืออะไรทำร้ายเธอ”
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์อุตสาหกรรมสุรา กล่าวว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตจริงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เหมาะกับทุกคนควรไปดูโดยเฉพาะคนทำงานด้านปัจจัยเสี่ยงเด็กเยาวชนและครอบครัว เพื่อรับมือหาทางป้องกันหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับตัวเอง หรือคนใกล้ตัว หนังจะบอกเล่าการพาชีวิตไปสู่วงจรเหล้าและสิ่งเสพติด ร่วมถึงการต่อสู่กับภาวะคนติดเหล้าติดยา ช่วงที่ต่ำสุดของชีวิต ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เช่น เพื่อนที่ไว้ใจ คนที่รักอย่างจริงใจ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นหนังสารคดีแต่มันมีความเป็นหนังที่สนุกมีชีวิตเข้าถึงคนดูและดำเนินเรื่องตัดต่อยอดเยี่ยมไม่น่าเบื่อ
“หนังให้คำถามข้อคิดกับคนดูว่า ถ้าคนดูเป็นอย่างตัวละครจะมีวิธีรับมืออย่างไร หรือถ้าเป็นเพื่อน เป็นคนในครอบครัว เป็นแฟน เป็นเพื่อนร่วมงาน ควรทำอย่างไรหากต้องช่วยเหลือใครสักคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ต้องมีความอดทนเข้มแข็ง ซึ่งไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา แต่ถึงที่สุดแล้วธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักฉวยโอกาสส่งเสริมการขาย ทำกลยุทธ์ซ้ำเติมมอมเมาเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางให้เข้าไปอยู่ในวังวนดำดิ่งเร็วขึ้น โอกาสกลับมาเหมือนเดิมเป็นไปได้ยาก และที่น่าห่วงคือธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เคยเข้ามารับผิดชอบสังคมเลย” นายคำรณ กล่าว
นางทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะเทือนความรู้สึกให้ข้อคิดสังคมได้มากมาย แม้เรื่องนี้จะทำให้ได้รับรู้การใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นที่สุดโต่งและจากไปก่อนวัยอันควร แต่ลึก ๆ แล้วไม่มีใครรู้ว่าอีก 80% ของชีวิตเขาต้องเผชิญกับอะไรมาบ้าง อีกทั้งปัจจัยร่วมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ต้องเป็นแบบนี้ ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น เอาบทเรียนจากสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ เช่นเดียวกับที่บ้านกาญฯได้ทำกิจกรรมให้เยาวชนดูหนังแล้วมาวิเคราะห์บทเรียน มองให้เห็นพื้นที่สีดำของตัวละคร และต้องใช้แรงกำลังก้าวข้ามมันมาให้ได้ ซึ่งพบว่า เขาเริ่มซึมซับเกิดการเปลี่ยนแปลงมีมุมมองใหม่ ๆ ทำให้เขาแข็งแกร่ง และหาทางแก้ไขต้องดีดตัวออกมาเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง อย่างหนังเรื่องนี้เยาวชนที่บ้านกาญจนาฯ และผู้ที่ได้ชมได้อะไรกลับไปมหาศาล ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนเห็นพลังในตัวเด็ก ช่วยกันปกป้องเด็กเยาวชนอย่างจริงจัง
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีจนประสบความสำเร็จระดับโลก แต่ชีวิตผ่านชะตากรรมที่โศกเศร้าตั้งแต่เด็กจนโตและจบชีวิตด้วยวัยเพียง 27 ปี ในมุมครอบครัวพบว่ามีพื้นฐานที่เปราะบาง พร้อมที่จะไหลไปทางบวกหรือลบตามสถานการณ์ ซึ่งพ่อแม่แยกทางกัน กลายเป็นโรคซึมเศร้า สูบบุหรี่ดื่มสุราใช้สารเสพติด เลือกประชดพ่อแม่ด้วยการทำตัวเหลวแหลก มีหลายช่วงที่ได้รับการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงานที่ดี คนรอบข้างพาไปบำบัดรักษาทำให้หยุดสุราและยาเสพติดกลับมาทำงานได้ ดังนั้น สิ่งที่ควรเรียนรู้อย่างยิ่งคือสังคมต้องให้โอกาส คนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความรัก ความเข้าใจอดทน อย่าสิ้นหวัง
“แม้สุราจะเป็นสินค้าถูกกฎหมาย แต่สุราเป็นสิ่งเสพติด และยังส่งผลกระทบทั้งการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิต อุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม การเข้าถึงสุราได้ง่ายทำให้ดื่มมากและเสพติด สุราจึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาต้องได้ควบคุมเป็นพิเศษ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 พบว่า เด็กเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี 9.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีกว่า 2.4 ล้านคน หรือ 16.7% ดื่มสุราและ 1.4 ล้านคน หรือ 14.7% สูบบุหรี่ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2557 พบว่า นักเรียน มัธยมปลายและอาชีวะ 11.6% เล่นพนันบอล หรือประมาณ 36,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักพนันหน้าใหม่เกือบหมื่นคน ขณะที่ปี 2554 ตัวเลขประมาณการเด็กและเยาวชนอายุ 12 - 24 ปี ใช้สารเสพติดในรอบ 1 ปี 97,000 คน หรือ 16.3% ของผู้เสพทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การนำภาพยนตร์แนวนี้มาฉายเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ช่วยสร้างเกาะป้องกันที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน หลังจากนี้ สสส. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมนำร่องตามสถานศึกษาต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา จัดกระบวนการร่วมกับศูนย์ฝึกฯบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งมีประสบการณ์พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตที่ก้าวพลาดเป็นบทเรียน” นพ.บัณฑิต กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ก.ย.) เวลา 09.30 น. ที่โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก นำเยาวชนและนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน กว่า 250 คน เข้าชมภาพยนตร์ “เอมี่ ไวน์เฮาส์” (Amy Winehouse) เพื่อเพิ่มทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถอดบทเรียนผ่านเวทีเสวนาหัวข้อ “เอมี ไวน์เฮาส์ เหล้าหรือใคร หรืออะไรทำร้ายเธอ”
นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์อุตสาหกรรมสุรา กล่าวว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตจริงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เหมาะกับทุกคนควรไปดูโดยเฉพาะคนทำงานด้านปัจจัยเสี่ยงเด็กเยาวชนและครอบครัว เพื่อรับมือหาทางป้องกันหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับตัวเอง หรือคนใกล้ตัว หนังจะบอกเล่าการพาชีวิตไปสู่วงจรเหล้าและสิ่งเสพติด ร่วมถึงการต่อสู่กับภาวะคนติดเหล้าติดยา ช่วงที่ต่ำสุดของชีวิต ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เช่น เพื่อนที่ไว้ใจ คนที่รักอย่างจริงใจ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นหนังสารคดีแต่มันมีความเป็นหนังที่สนุกมีชีวิตเข้าถึงคนดูและดำเนินเรื่องตัดต่อยอดเยี่ยมไม่น่าเบื่อ
“หนังให้คำถามข้อคิดกับคนดูว่า ถ้าคนดูเป็นอย่างตัวละครจะมีวิธีรับมืออย่างไร หรือถ้าเป็นเพื่อน เป็นคนในครอบครัว เป็นแฟน เป็นเพื่อนร่วมงาน ควรทำอย่างไรหากต้องช่วยเหลือใครสักคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ต้องมีความอดทนเข้มแข็ง ซึ่งไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา แต่ถึงที่สุดแล้วธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักฉวยโอกาสส่งเสริมการขาย ทำกลยุทธ์ซ้ำเติมมอมเมาเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางให้เข้าไปอยู่ในวังวนดำดิ่งเร็วขึ้น โอกาสกลับมาเหมือนเดิมเป็นไปได้ยาก และที่น่าห่วงคือธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เคยเข้ามารับผิดชอบสังคมเลย” นายคำรณ กล่าว
นางทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะเทือนความรู้สึกให้ข้อคิดสังคมได้มากมาย แม้เรื่องนี้จะทำให้ได้รับรู้การใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นที่สุดโต่งและจากไปก่อนวัยอันควร แต่ลึก ๆ แล้วไม่มีใครรู้ว่าอีก 80% ของชีวิตเขาต้องเผชิญกับอะไรมาบ้าง อีกทั้งปัจจัยร่วมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ต้องเป็นแบบนี้ ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น เอาบทเรียนจากสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ เช่นเดียวกับที่บ้านกาญฯได้ทำกิจกรรมให้เยาวชนดูหนังแล้วมาวิเคราะห์บทเรียน มองให้เห็นพื้นที่สีดำของตัวละคร และต้องใช้แรงกำลังก้าวข้ามมันมาให้ได้ ซึ่งพบว่า เขาเริ่มซึมซับเกิดการเปลี่ยนแปลงมีมุมมองใหม่ ๆ ทำให้เขาแข็งแกร่ง และหาทางแก้ไขต้องดีดตัวออกมาเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง อย่างหนังเรื่องนี้เยาวชนที่บ้านกาญจนาฯ และผู้ที่ได้ชมได้อะไรกลับไปมหาศาล ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนเห็นพลังในตัวเด็ก ช่วยกันปกป้องเด็กเยาวชนอย่างจริงจัง
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีจนประสบความสำเร็จระดับโลก แต่ชีวิตผ่านชะตากรรมที่โศกเศร้าตั้งแต่เด็กจนโตและจบชีวิตด้วยวัยเพียง 27 ปี ในมุมครอบครัวพบว่ามีพื้นฐานที่เปราะบาง พร้อมที่จะไหลไปทางบวกหรือลบตามสถานการณ์ ซึ่งพ่อแม่แยกทางกัน กลายเป็นโรคซึมเศร้า สูบบุหรี่ดื่มสุราใช้สารเสพติด เลือกประชดพ่อแม่ด้วยการทำตัวเหลวแหลก มีหลายช่วงที่ได้รับการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงานที่ดี คนรอบข้างพาไปบำบัดรักษาทำให้หยุดสุราและยาเสพติดกลับมาทำงานได้ ดังนั้น สิ่งที่ควรเรียนรู้อย่างยิ่งคือสังคมต้องให้โอกาส คนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความรัก ความเข้าใจอดทน อย่าสิ้นหวัง
“แม้สุราจะเป็นสินค้าถูกกฎหมาย แต่สุราเป็นสิ่งเสพติด และยังส่งผลกระทบทั้งการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิต อุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม การเข้าถึงสุราได้ง่ายทำให้ดื่มมากและเสพติด สุราจึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาต้องได้ควบคุมเป็นพิเศษ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 พบว่า เด็กเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี 9.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีกว่า 2.4 ล้านคน หรือ 16.7% ดื่มสุราและ 1.4 ล้านคน หรือ 14.7% สูบบุหรี่ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2557 พบว่า นักเรียน มัธยมปลายและอาชีวะ 11.6% เล่นพนันบอล หรือประมาณ 36,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักพนันหน้าใหม่เกือบหมื่นคน ขณะที่ปี 2554 ตัวเลขประมาณการเด็กและเยาวชนอายุ 12 - 24 ปี ใช้สารเสพติดในรอบ 1 ปี 97,000 คน หรือ 16.3% ของผู้เสพทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การนำภาพยนตร์แนวนี้มาฉายเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ช่วยสร้างเกาะป้องกันที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน หลังจากนี้ สสส. จะร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมนำร่องตามสถานศึกษาต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา จัดกระบวนการร่วมกับศูนย์ฝึกฯบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งมีประสบการณ์พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตที่ก้าวพลาดเป็นบทเรียน” นพ.บัณฑิต กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่