บอร์ด สสส. ไฟเขียว 3 แผนงาน จับมือ WHO ช่วยประเทศอาเซียนสร้างกองทุนภาษีบาป หวังลดอัตราตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังพบในภูมิภาคตายมากถึงปีละ 8 ล้านคน เดินหน้าส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพิ่มความเข้มแข็งการควบคุมเหล้า
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) กล่าวว่า สสส. มีความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ในการสร้างองค์กรรูปแบบกองทุนเช่นเดียวกับ สสส. ในประเทศต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงร้อยละ 62 หรือราว 8 ล้านคนต่อปี จำนวนนี้ร้อยละ 34 เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 23 นอกจากนี้ ยังพบว่าการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 21 ในอีก 10 ปี ข้างหน้า โดยที่ประชุมบอร์ด สสส. ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการ 3 แผนงานในการดำเนินงานดังกล่าวร่วมกับ WHO
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า แผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย 1. จัดประชุมการพัฒนากลไกและการเงินเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน ให้แก่ผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพจาก 11 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้รูปแบบกองทุนภาษีบาปจากเหล้าและบุหรี่ เช่นเดียวกับ สสส. เป็นต้นแบบกระตุ้นให้ประเทศอื่น ๆ นำรูปแบบดังกล่าวมาใช้ในงานสร้างเสริมสุขภาพ เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าการรักษาพยาบาล โดยหลังประชุม WHO และ สสส. จะร่วมกันติดตามและสนับสนุน รวมทั้งถอดบทเรียนด้านการป้องกันโรค NCDs ของ สสส. เป็นต้นแบบการทำงาน และวิเคราะห์นโยบายการคลังเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศด้วย
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า 2. แผนงานขับเคลื่อนนโยบายระดับโลกด้านกิจกรรมทางกาย โดยพัฒนาแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับชาติและระดับนานาชาติในการประชุม ISPAH 2016 และผลักดันนโยบายสุขภาพโลกว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก ปี 2017 และ 3. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการศึกษาวิจัยระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องอันตรายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลกระทบต่อสังคม รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการเพื่อลดการบริโภคและอันตรายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง รวมทั้งการศึกษาและทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ ต่อนโยบายการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวทีการค้าโลก
ดร.ริชาร์ด บราวน์ รักษาการผู้แทน WHO ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ไทยเป็นตัวอย่างด้านสร้างเสริมสุขภาพของโลก และการจัดตั้งกองทุน สสส. ถือเป็นนวัตกรรมของการสร้างเสริมสุขภาพระดับโลกที่สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มาเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศไทยสามารถทำงานข้ามหน่วยงานนอกเหนือจากหน่วยงานสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้โดยเฉพาะการถอดบทเรียนเรื่องการป้องกันโรค NCDs จะใช้ตัวอย่างของประเทศไทยเพื่อยกระดับการทำงานป้องกันในระหว่างประเทศ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนากลไกสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาสัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) กล่าวว่า สสส. มีความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) ในการสร้างองค์กรรูปแบบกองทุนเช่นเดียวกับ สสส. ในประเทศต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงร้อยละ 62 หรือราว 8 ล้านคนต่อปี จำนวนนี้ร้อยละ 34 เป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ร้อยละ 23 นอกจากนี้ ยังพบว่าการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 21 ในอีก 10 ปี ข้างหน้า โดยที่ประชุมบอร์ด สสส. ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการ 3 แผนงานในการดำเนินงานดังกล่าวร่วมกับ WHO
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า แผนปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย 1. จัดประชุมการพัฒนากลไกและการเงินเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน ให้แก่ผู้นำด้านการสร้างเสริมสุขภาพจาก 11 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้รูปแบบกองทุนภาษีบาปจากเหล้าและบุหรี่ เช่นเดียวกับ สสส. เป็นต้นแบบกระตุ้นให้ประเทศอื่น ๆ นำรูปแบบดังกล่าวมาใช้ในงานสร้างเสริมสุขภาพ เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่าการรักษาพยาบาล โดยหลังประชุม WHO และ สสส. จะร่วมกันติดตามและสนับสนุน รวมทั้งถอดบทเรียนด้านการป้องกันโรค NCDs ของ สสส. เป็นต้นแบบการทำงาน และวิเคราะห์นโยบายการคลังเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศด้วย
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า 2. แผนงานขับเคลื่อนนโยบายระดับโลกด้านกิจกรรมทางกาย โดยพัฒนาแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับชาติและระดับนานาชาติในการประชุม ISPAH 2016 และผลักดันนโยบายสุขภาพโลกว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก ปี 2017 และ 3. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการศึกษาวิจัยระหว่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องอันตรายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลกระทบต่อสังคม รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการเพื่อลดการบริโภคและอันตรายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง รวมทั้งการศึกษาและทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ ต่อนโยบายการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวทีการค้าโลก
ดร.ริชาร์ด บราวน์ รักษาการผู้แทน WHO ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ไทยเป็นตัวอย่างด้านสร้างเสริมสุขภาพของโลก และการจัดตั้งกองทุน สสส. ถือเป็นนวัตกรรมของการสร้างเสริมสุขภาพระดับโลกที่สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ มาเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาสุขภาพของประเทศไทยสามารถทำงานข้ามหน่วยงานนอกเหนือจากหน่วยงานสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้โดยเฉพาะการถอดบทเรียนเรื่องการป้องกันโรค NCDs จะใช้ตัวอย่างของประเทศไทยเพื่อยกระดับการทำงานป้องกันในระหว่างประเทศ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนากลไกสร้างเสริมสุขภาพระดับนานาชาติให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่