อย. วิจัยจัดแผนกิจกรรมเรียนรู้การบริโภคอาหารปลอดภัยให้ นร. ม.1 จำนวน 4 แห่ง พบ มีความรู้เลือกกินอาหารปลอดภัยดีขึ้น รู้อะไรดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ฟุ้งช่วยเด็กลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ไม่เลือกกินอาหารทำลายสุขภาพหน้าโรงเรียน ป้องกันโรคเรื้อรัง ถือเป็นโมเดลต้นแบบ
วันนี้ (26 ส.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวปลุกกระแสเด็กไทยใส่ใจสุขภาพเปลี่ยนพฤติกรรมผลักดันรูปแบบ (Model) ให้ใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ว่า การป้องกันโรคก่อนป่วยแล้วรักษาเป็นเรื่องสำคัญตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดังนั้น การเริ่มต้นให้เด็กไทยหันมารักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ จากการดำเนินโครงการอาหารปลอดภัยของ อย. ในปีนี้ ได้ทำวิจัยเพื่อหารูปแบบ (model) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ โรงเรียนต้นแบบ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงเรียนต้นแบบตั้งอยู่ โดยหาสาเหตุและสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนำผลที่ได้มาสร้างรูปแบบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 9 แผน รวมถึงได้จัดทำสื่อต้นแบบประกอบการจัดกิจกรรมตามแผน เช่น สารคดีสั้น สื่อวีดิทัศน์ประกอบ infographic ชุดนิทรรศการ หนังสือเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภค ฯลฯ
นพ.บุญชัย กล่าวว่า จากการนำแผนการจัดกิจกรรมทั้ง 9 แผนทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนต้นแบบ 4 โรงเรียน จาก 4 ภาค ได้แก่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จ.ระยอง, โรงเรียนภูเขียว จ.ชัยภูมิ, โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จ.กระบี่ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในทางที่ดีขึ้น ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 60.1 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.1 รับรู้โอกาสเสี่ยงจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยจากร้อยละ 71.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 93.2 รับรู้ความรุนแรงจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยจากร้อยละ 80.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 89.4 รับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยจากร้อยละ 84.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 93.6 รับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยจากร้อยละ 55.4 ลดลงเหลือ ร้อยละ 40.6 มีสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 81.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 90.8 มีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 78.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 86.4 สิ่งสำคัญที่ต้องการปรับเปลี่ยน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย พบว่า ก่อนการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 68.5 เพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 75.5
“หลังทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยมากกว่าก่อนการทดลอง โมเดลต้นแบบจากแผนการเรียนรู้ดังกล่าวนับว่าประสบผลสำเร็จสูง ทำให้เด็กไทยลดการบริโภคขนม หรืออาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ทำให้เด็กรู้จักอ่านฉลากก่อนการเลือกซื้ออาหาร โดยเฉพาะการอ่านและใช้ประโยชน์จากฉลากหวาน มัน เค็ม บนซองขนมกรุบกรอบ รวมทั้งมีความรู้ในการเลือกซื้อเลือกบริโภคอาหารที่ขายตามหน้าโรงเรียน เช่น อาหารทอด ปิ้ง ย่าง ใส่สี เป็นต้น ถือเป็นมิติใหม่ของ อย. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน ซึ่งการลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคอ้วน” เลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ส.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวปลุกกระแสเด็กไทยใส่ใจสุขภาพเปลี่ยนพฤติกรรมผลักดันรูปแบบ (Model) ให้ใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ว่า การป้องกันโรคก่อนป่วยแล้วรักษาเป็นเรื่องสำคัญตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดังนั้น การเริ่มต้นให้เด็กไทยหันมารักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ จากการดำเนินโครงการอาหารปลอดภัยของ อย. ในปีนี้ ได้ทำวิจัยเพื่อหารูปแบบ (model) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ โรงเรียนต้นแบบ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงเรียนต้นแบบตั้งอยู่ โดยหาสาเหตุและสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนำผลที่ได้มาสร้างรูปแบบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 9 แผน รวมถึงได้จัดทำสื่อต้นแบบประกอบการจัดกิจกรรมตามแผน เช่น สารคดีสั้น สื่อวีดิทัศน์ประกอบ infographic ชุดนิทรรศการ หนังสือเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภค ฯลฯ
นพ.บุญชัย กล่าวว่า จากการนำแผนการจัดกิจกรรมทั้ง 9 แผนทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ม.1 ในโรงเรียนต้นแบบ 4 โรงเรียน จาก 4 ภาค ได้แก่ โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จ.ระยอง, โรงเรียนภูเขียว จ.ชัยภูมิ, โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จ.กระบี่ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยในทางที่ดีขึ้น ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 60.1 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.1 รับรู้โอกาสเสี่ยงจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยจากร้อยละ 71.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 93.2 รับรู้ความรุนแรงจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยจากร้อยละ 80.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 89.4 รับรู้ประโยชน์จากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยจากร้อยละ 84.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 93.6 รับรู้อุปสรรคจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยจากร้อยละ 55.4 ลดลงเหลือ ร้อยละ 40.6 มีสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 81.0 เพิ่มเป็นร้อยละ 90.8 มีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย จากร้อยละ 78.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 86.4 สิ่งสำคัญที่ต้องการปรับเปลี่ยน คือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย พบว่า ก่อนการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 68.5 เพิ่มขึ้นเป็นระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 75.5
“หลังทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยมากกว่าก่อนการทดลอง โมเดลต้นแบบจากแผนการเรียนรู้ดังกล่าวนับว่าประสบผลสำเร็จสูง ทำให้เด็กไทยลดการบริโภคขนม หรืออาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ทำให้เด็กรู้จักอ่านฉลากก่อนการเลือกซื้ออาหาร โดยเฉพาะการอ่านและใช้ประโยชน์จากฉลากหวาน มัน เค็ม บนซองขนมกรุบกรอบ รวมทั้งมีความรู้ในการเลือกซื้อเลือกบริโภคอาหารที่ขายตามหน้าโรงเรียน เช่น อาหารทอด ปิ้ง ย่าง ใส่สี เป็นต้น ถือเป็นมิติใหม่ของ อย. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน ซึ่งการลดบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคอ้วน” เลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่