กรมควบคุมโรค เผยตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วกว่า 4.8 หมื่นราย ตาย 37 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน แนะมาตรการ 3 เก็บ “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย” ป้องกันตนเอง ก่อนถูกยุงลายกัด
วันนี้ (14 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนนี้โรคที่ต้องเฝ้าระวังในทุก ๆ ปี คือ โรคไข้เลือดออก เนื่องจากฝนที่ตกมาทำให้เกิดแอ่งน้ำ หรือมีน้ำขังอยู่ตามเศษวัสดุ ภาชนะต่างๆ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าที่ทิ้งไว้จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 10 สิงหาคม 2558 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 48,358 ราย เสียชีวิต 37 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15 - 24 ปี รองลงมาคือ 10 - 14 ปี และ 25 - 34 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนถึง 45.8% โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 4 อันดับแรก คือ ระยอง เพชรบุรี ราชบุรี และตาก
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ยังไม่มีวัคซีนที่สำเร็จรูป และยังไม่มียารักษาเฉพาะ จะเป็นการรักษาตามอาการ คือ มีการให้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะหากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง เจ็บชายโครงด้านขวา มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการเป็นหวัดที่จะมีน้ำมูกร่วมด้วย เว้นแต่จะเป็นไข้ทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และหากเป็นไข้เลือดออกแล้ว ช่วงที่ไข้ลดลงในวันที่ 3 - 4 แต่ผู้ป่วยซึมลงกินดื่มไม่ได้ มือเท้าเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว ปวดท้อง คือ สัญญาณอันตรายของโรคนี้ ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ในการป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ยุงลายกัด ขอแนะนำว่า ประชาชนควรนอนในมุ้ง ติดมุ้งลวด ป้องกันยุงเข้าบ้าน ทายากันยุง หรือใช้สมุนไพรไล่ยุง และปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย” เพื่อให้ทุกบ้านปรับพฤติกรรมการเก็บจนเป็นนิสัย ดังนี้ 1. เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก และ 3. เก็บน้ำให้มิดชิดปิดไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเสริมด้วยการขัดล้างไข่ยุงลายตามขอบภาชนะใส่น้ำด้วย ก็จะป้องกันการเกิดยุงลายและไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี โดยต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป ร่วมมือกันทำกิจกรรมตามมาตรการ 3 เก็บในพื้นที่ 6 ร. ดังนี้ 1. โรงเรือน (บ้าน/ชุมชน) 2. โรงเรียน (สถานศึกษา/สถานเลี้ยงเด็กเล็ก) 3. โรงพยาบาล 4. โรงแรม/รีสอร์ต 5. โรงงาน/กลุ่มอุตสาหกรรม และ 6. โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (14 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนนี้โรคที่ต้องเฝ้าระวังในทุก ๆ ปี คือ โรคไข้เลือดออก เนื่องจากฝนที่ตกมาทำให้เกิดแอ่งน้ำ หรือมีน้ำขังอยู่ตามเศษวัสดุ ภาชนะต่างๆ จานรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าที่ทิ้งไว้จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 10 สิงหาคม 2558 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 48,358 ราย เสียชีวิต 37 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15 - 24 ปี รองลงมาคือ 10 - 14 ปี และ 25 - 34 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนถึง 45.8% โดยจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 4 อันดับแรก คือ ระยอง เพชรบุรี ราชบุรี และตาก
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น ยังไม่มีวัคซีนที่สำเร็จรูป และยังไม่มียารักษาเฉพาะ จะเป็นการรักษาตามอาการ คือ มีการให้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะหากมีไข้สูงเกิน 2 วัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง เจ็บชายโครงด้านขวา มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการเป็นหวัดที่จะมีน้ำมูกร่วมด้วย เว้นแต่จะเป็นไข้ทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค และหากเป็นไข้เลือดออกแล้ว ช่วงที่ไข้ลดลงในวันที่ 3 - 4 แต่ผู้ป่วยซึมลงกินดื่มไม่ได้ มือเท้าเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว ปวดท้อง คือ สัญญาณอันตรายของโรคนี้ ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีเพราะผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ในการป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ยุงลายกัด ขอแนะนำว่า ประชาชนควรนอนในมุ้ง ติดมุ้งลวด ป้องกันยุงเข้าบ้าน ทายากันยุง หรือใช้สมุนไพรไล่ยุง และปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย” เพื่อให้ทุกบ้านปรับพฤติกรรมการเก็บจนเป็นนิสัย ดังนี้ 1. เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก และ 3. เก็บน้ำให้มิดชิดปิดไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเสริมด้วยการขัดล้างไข่ยุงลายตามขอบภาชนะใส่น้ำด้วย ก็จะป้องกันการเกิดยุงลายและไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี โดยต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป ร่วมมือกันทำกิจกรรมตามมาตรการ 3 เก็บในพื้นที่ 6 ร. ดังนี้ 1. โรงเรือน (บ้าน/ชุมชน) 2. โรงเรียน (สถานศึกษา/สถานเลี้ยงเด็กเล็ก) 3. โรงพยาบาล 4. โรงแรม/รีสอร์ต 5. โรงงาน/กลุ่มอุตสาหกรรม และ 6. โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่