เอ็นจีโอฉะ กมธ. ยกร่างฯ คุมภาษีบาป หวังรวบอำนาจการเงินไว้ใต้เงื้อมมือรัฐ ชี้ ไร้ประสิทธิภาพ ปิดทางเก็บภาษีธุรกิจทำลายสังคมเอามาเยียวยาประเทศไทย ทั้งฟาสต์ฟูด น้ำตาล ฝุ่นควัน สารกำจัดศัตรูพืช แต่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนลอยตัว ย้ำ ภาษีบาปตรวจสอบได้ ระบุ สวนทางปฏิรูปประเทศที่ต้องการให้ ปชช.มีส่วนร่วม แย้งหลักการ “พลเมืองเป็นใหญ่”
วันนี้ (13 ส.ค.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) กล่าวว่า การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ. ยกร่างฯ) พยายามเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณภาษีที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) โดยไม่ให้นำภาษีบาปไปใช้ในองค์กรอื่นที่จะเกิดใหม่ในอนาคต ทั้งที่เป็นการเก็บเพิ่มเพื่อนำไปลดปัญหาสังคมต่าง ๆ นั้น โดยอ้างว่าเป็นการขัดวินัยทางการคลังและต้องการให้ระบบโปร่งใส ถือเป็นการทำลายกลไก ทั้งที่จริงแล้ว 2 เรื่องที่เป็นกังวลก็สามารถทำได้กับภาษีบาปอยู่แล้ว หรือให้ภาษีมีเพดานของมันก็ทำได้ แต่ประเด็นใหญ่ คือ การเขียนห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการตัดช่องทางในอนาคต ไปปิดช่องทางการนำเอาภาษีอื่น เช่น ภาษีอีโคแท็กซ์เรื่องสิ่งแวดล้อม (EcoTax) จากธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งปิดโอกาสรัฐและสังคม ที่จะเอากลไกภาษีเหล่านั้นมาป้องกัน ฟื้นฟู เยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มสแกนดิเนเวีย มีภาษีเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
“ตรงนี้เท่ากับปิดโอกาสการปฏิรูป การดำเนินงานของภาครัฐไปเลย เพราะที่ผ่านมาให้โอกาสหน่วยงานของภาครัฐ ในการดึงเอาภาษีส่วนนี้ไปใช้ในกลไกราชการแบบเดิม ๆ ซึ่งพิสูจน์มานานแล้วว่าแก้ปัญหาไม่ได้ แต่กลับไม่เปิดโอกาสให้มีแนวทางใหม่ ๆ การสร้างองค์กรใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย และเป็นที่ทราบกันว่า กลไกระบบราชการมีข้อจำกัดในตัวสูง อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 เขียนว่า ต้องมีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 25% ถึงวันนี้มีแผนพัฒนาฯ ที่ 11 แล้ว ผ่านไป 15 ปี ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ห่างไกลและเหมือนจะถอยหลัง ขณะเดียวกัน การเสนอให้เก็บภาษีสารเคมี ปุ๋ยศัตรูพืช เอามาใช้ เพื่อเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบ พัฒนาระบบ พัฒนาเกษตรอินทรีย์ เกษตรเชิงนิเวศน์ทั้งหลายต้องหยุดชะงัก รัฐบาลหลายสมัยตั้งงบไว้ แต่ถูกถลุงไปใช้ตามหน่วยงาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบราชการใช้งบประมาณบริหารจัดการกว่า 50% ของงบประมาณทั้งหมด ขณะที่องค์กรพัฒนาใหม่ ๆ ใช้ไม่ถึง 20% ท้ายที่สุดประเทศข้างเคียงเขาก้าวข้ามไทยไปหมดแล้ว ทั้ง ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย ไม่ติดฝุ่นเลยเรื่องเกษตรอินทรีย์” นายวิฑูรย์ กล่าว
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า นี่คือ การเขียนร่างรัฐธรรมนูญที่ปิดทางสังคมในระยะยาว ที่จะใช้ประโยชน์กลไกภาษีเฉพาะ สร้างหน่วยงานกลไกที่ใช้ประโยชน์อย่างน่าเสียดาย จึงไม่ต่างจากการรวมศูนย์อำนาจ กระชับอำนาจ รวมศูนย์การใช้งบให้เข้ามาอยู่ในกลไกของอำนาจรัฐ ซึ่งเห็นอยู่แล้วว่ามันไร้ประสิทธิภาพ มองไม่กว้างไม่รอบด้านท้ายที่สุดบริษัทที่ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลายลอยตัวหมด ขณะที่ต่างประเทศเขากำลังริเริ่มให้เก็บภาษีอาหารฟาสต์ฟูด เป็นต้น ต่อไปบ้านเราก็ทำไม่ได้ หรือภาษีน้ำตาล อาหารที่ทำให้เกิดไขมัน ภาษีที่ปล่อยก๊าซพิษ ฝุ่นควัน ภาษีปล่อยคาร์บอน หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ มันจะไม่มีกลไกจัดการเลย ซึ่งมันหายไปแล้ว เมื่อรัฐบาลไม่เก็บภาษีบาป รัฐบาลต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว เจียดมาทำงานนี้ แทนที่จะเก็บจากธุรกิจที่สร้างปัญหา มาแก้ปัญหา หรือไม่ก็ปล่อยให้ประชาชนรับผลจากปัญหาต่อไป
นายศรีสุวรรณ ควรขจร ประธานคณะกรรมการพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นคือการมัดมือมัดเท้าในอนาคต ที่จะมีโครงการใหม่ๆ ขึ้นอีก ซึ่งสังคมไทย จะต้องมีการทำงานด้านปฏิบัติการ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสังคม ซึ่งตนไม่เชื่อมั่นราชการ หรือรัฐบาล สามารถเข้าใจการทำงานของภาคประชาสังคมที่จะให้งบสนับสนุนเพียงพอ เห็นได้จากที่รัฐบาลชุดก่อน ตัดงบ พอช. ลงอย่างมากมายมหาศาลหลายพันล้านเหลือเพียง 1 ใน 4 ซึ่งมันจะขับเคลื่อนงานต่อเนื่องได้อย่างไร เราจะมั่นใจได้อย่างไรในอนาคต หากมีโครงการดี ๆ เกิดขึ้น ภายใต้กรอบงบปกติ จะมีหลักประกันว่า โครงการจะต่อเนื่อง สิ่งที่ทำมันไม่ต่างจากมัดมือชก ส่งผลเสียต่อสังคมไทย ดังนั้น การตีกรอบสังคมไทย ภายใต้ราชการและภาคธุรกิจมันเป็นไปไมได้ อย่าลืมว่าปัญหาที่เราเผชิญ นโยบายที่ผิดพลาด เอกชนไม่ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ แต่นี่เรากำลังวางระบบไว้ให้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและภาคเอกชน เท่านั้นหรือ
นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า ภาษีบาปหนุนเสริมภาคประชาชนในการทำงานให้ความรู้กับประชาชน เป็นการนำภาษีบาปมาไถ่บาป ซึ่งมันเป็นประโยชน์ การจำกัดไม่เกิดองค์กรใหม่ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และคนทำงานด้านสังคม การตรวจสอบความโปร่งใสทำงานได้ง่ายกว่าตรวจสอบรัฐเสียอีก ซึ่งยุ่งยากมากกว่าหลายเท่า รัฐไม่ควรนำงบมาเหนี่ยวรั้งถ่วงไว้แบบไม่เห็นประโยชน์ ซึ่งมันสวนทางกับการปฏิรูปประเทศ ที่ต้องการให้ประชาชนเข้มแข็ง ซึ่งมันขัดกับนโยบายรัฐบาล และค้านกับคำหรู ๆ ของประธาน กมธ. ยกร่างฯ ว่า “พลเมืองเป็นใหญ่” ใครจะขวางต้องข้ามศพไปก่อน อย่างไรก็ตาม การที่ กมธ.ยกร่างฯ วางแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดองค์กรใหม่ในอนาคต ทางภาคประชาชนก็ต่อสู้ในเรื่องนี้อย่างเข้มข้นโดยลำดับ
“ขณะนี้กำลังประสานงานองค์กรต่าง ๆ เพื่อปลุกพลังปกป้องหลักการที่ถูกต้องและก็จะพิสูจน์การทำงานไปข้างหน้าว่าสิ่งที่ทำมันมีผลต่อการพัฒนาสังคม ประเทศหรือไม่ วันนี้เราไม่ได้ปกป้อง 3 องค์กร แต่เรากำลังสู้กับโอกาสและอนาคตของประชาชนที่จะเติมโตเข้มแข็ง เป็นการเบาแรงของภาครัฐด้วยซ้ำ การปิดโอกาสประชาชนเช่นนี้น่าเสียใจและคิดผิดอย่างรุนแรง” นายจำนงค์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ส.ค.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) กล่าวว่า การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ. ยกร่างฯ) พยายามเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณภาษีที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) โดยไม่ให้นำภาษีบาปไปใช้ในองค์กรอื่นที่จะเกิดใหม่ในอนาคต ทั้งที่เป็นการเก็บเพิ่มเพื่อนำไปลดปัญหาสังคมต่าง ๆ นั้น โดยอ้างว่าเป็นการขัดวินัยทางการคลังและต้องการให้ระบบโปร่งใส ถือเป็นการทำลายกลไก ทั้งที่จริงแล้ว 2 เรื่องที่เป็นกังวลก็สามารถทำได้กับภาษีบาปอยู่แล้ว หรือให้ภาษีมีเพดานของมันก็ทำได้ แต่ประเด็นใหญ่ คือ การเขียนห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการตัดช่องทางในอนาคต ไปปิดช่องทางการนำเอาภาษีอื่น เช่น ภาษีอีโคแท็กซ์เรื่องสิ่งแวดล้อม (EcoTax) จากธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งปิดโอกาสรัฐและสังคม ที่จะเอากลไกภาษีเหล่านั้นมาป้องกัน ฟื้นฟู เยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มสแกนดิเนเวีย มีภาษีเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
“ตรงนี้เท่ากับปิดโอกาสการปฏิรูป การดำเนินงานของภาครัฐไปเลย เพราะที่ผ่านมาให้โอกาสหน่วยงานของภาครัฐ ในการดึงเอาภาษีส่วนนี้ไปใช้ในกลไกราชการแบบเดิม ๆ ซึ่งพิสูจน์มานานแล้วว่าแก้ปัญหาไม่ได้ แต่กลับไม่เปิดโอกาสให้มีแนวทางใหม่ ๆ การสร้างองค์กรใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย และเป็นที่ทราบกันว่า กลไกระบบราชการมีข้อจำกัดในตัวสูง อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 เขียนว่า ต้องมีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 25% ถึงวันนี้มีแผนพัฒนาฯ ที่ 11 แล้ว ผ่านไป 15 ปี ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ห่างไกลและเหมือนจะถอยหลัง ขณะเดียวกัน การเสนอให้เก็บภาษีสารเคมี ปุ๋ยศัตรูพืช เอามาใช้ เพื่อเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบ พัฒนาระบบ พัฒนาเกษตรอินทรีย์ เกษตรเชิงนิเวศน์ทั้งหลายต้องหยุดชะงัก รัฐบาลหลายสมัยตั้งงบไว้ แต่ถูกถลุงไปใช้ตามหน่วยงาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบราชการใช้งบประมาณบริหารจัดการกว่า 50% ของงบประมาณทั้งหมด ขณะที่องค์กรพัฒนาใหม่ ๆ ใช้ไม่ถึง 20% ท้ายที่สุดประเทศข้างเคียงเขาก้าวข้ามไทยไปหมดแล้ว ทั้ง ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย ไม่ติดฝุ่นเลยเรื่องเกษตรอินทรีย์” นายวิฑูรย์ กล่าว
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า นี่คือ การเขียนร่างรัฐธรรมนูญที่ปิดทางสังคมในระยะยาว ที่จะใช้ประโยชน์กลไกภาษีเฉพาะ สร้างหน่วยงานกลไกที่ใช้ประโยชน์อย่างน่าเสียดาย จึงไม่ต่างจากการรวมศูนย์อำนาจ กระชับอำนาจ รวมศูนย์การใช้งบให้เข้ามาอยู่ในกลไกของอำนาจรัฐ ซึ่งเห็นอยู่แล้วว่ามันไร้ประสิทธิภาพ มองไม่กว้างไม่รอบด้านท้ายที่สุดบริษัทที่ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลายลอยตัวหมด ขณะที่ต่างประเทศเขากำลังริเริ่มให้เก็บภาษีอาหารฟาสต์ฟูด เป็นต้น ต่อไปบ้านเราก็ทำไม่ได้ หรือภาษีน้ำตาล อาหารที่ทำให้เกิดไขมัน ภาษีที่ปล่อยก๊าซพิษ ฝุ่นควัน ภาษีปล่อยคาร์บอน หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ มันจะไม่มีกลไกจัดการเลย ซึ่งมันหายไปแล้ว เมื่อรัฐบาลไม่เก็บภาษีบาป รัฐบาลต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว เจียดมาทำงานนี้ แทนที่จะเก็บจากธุรกิจที่สร้างปัญหา มาแก้ปัญหา หรือไม่ก็ปล่อยให้ประชาชนรับผลจากปัญหาต่อไป
นายศรีสุวรรณ ควรขจร ประธานคณะกรรมการพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นคือการมัดมือมัดเท้าในอนาคต ที่จะมีโครงการใหม่ๆ ขึ้นอีก ซึ่งสังคมไทย จะต้องมีการทำงานด้านปฏิบัติการ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสังคม ซึ่งตนไม่เชื่อมั่นราชการ หรือรัฐบาล สามารถเข้าใจการทำงานของภาคประชาสังคมที่จะให้งบสนับสนุนเพียงพอ เห็นได้จากที่รัฐบาลชุดก่อน ตัดงบ พอช. ลงอย่างมากมายมหาศาลหลายพันล้านเหลือเพียง 1 ใน 4 ซึ่งมันจะขับเคลื่อนงานต่อเนื่องได้อย่างไร เราจะมั่นใจได้อย่างไรในอนาคต หากมีโครงการดี ๆ เกิดขึ้น ภายใต้กรอบงบปกติ จะมีหลักประกันว่า โครงการจะต่อเนื่อง สิ่งที่ทำมันไม่ต่างจากมัดมือชก ส่งผลเสียต่อสังคมไทย ดังนั้น การตีกรอบสังคมไทย ภายใต้ราชการและภาคธุรกิจมันเป็นไปไมได้ อย่าลืมว่าปัญหาที่เราเผชิญ นโยบายที่ผิดพลาด เอกชนไม่ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ แต่นี่เรากำลังวางระบบไว้ให้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลและภาคเอกชน เท่านั้นหรือ
นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า ภาษีบาปหนุนเสริมภาคประชาชนในการทำงานให้ความรู้กับประชาชน เป็นการนำภาษีบาปมาไถ่บาป ซึ่งมันเป็นประโยชน์ การจำกัดไม่เกิดองค์กรใหม่ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และคนทำงานด้านสังคม การตรวจสอบความโปร่งใสทำงานได้ง่ายกว่าตรวจสอบรัฐเสียอีก ซึ่งยุ่งยากมากกว่าหลายเท่า รัฐไม่ควรนำงบมาเหนี่ยวรั้งถ่วงไว้แบบไม่เห็นประโยชน์ ซึ่งมันสวนทางกับการปฏิรูปประเทศ ที่ต้องการให้ประชาชนเข้มแข็ง ซึ่งมันขัดกับนโยบายรัฐบาล และค้านกับคำหรู ๆ ของประธาน กมธ. ยกร่างฯ ว่า “พลเมืองเป็นใหญ่” ใครจะขวางต้องข้ามศพไปก่อน อย่างไรก็ตาม การที่ กมธ.ยกร่างฯ วางแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดองค์กรใหม่ในอนาคต ทางภาคประชาชนก็ต่อสู้ในเรื่องนี้อย่างเข้มข้นโดยลำดับ
“ขณะนี้กำลังประสานงานองค์กรต่าง ๆ เพื่อปลุกพลังปกป้องหลักการที่ถูกต้องและก็จะพิสูจน์การทำงานไปข้างหน้าว่าสิ่งที่ทำมันมีผลต่อการพัฒนาสังคม ประเทศหรือไม่ วันนี้เราไม่ได้ปกป้อง 3 องค์กร แต่เรากำลังสู้กับโอกาสและอนาคตของประชาชนที่จะเติมโตเข้มแข็ง เป็นการเบาแรงของภาครัฐด้วยซ้ำ การปิดโอกาสประชาชนเช่นนี้น่าเสียใจและคิดผิดอย่างรุนแรง” นายจำนงค์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่