นักวิจัย สวรส. ชี้ แผนกำลังคนด้านสุขภาพของไทยมีปัญหา ผู้ผลิตบุคลากร - สถานพยาบาลขาดการประสาน ส่งผลผลิตไม่ตรงความต้องการ บางวิชาชีพขาดแคลน บางวิชาชีพแทบเกินต้องการ ด้าน จุฬาฯ ระบุ ร.ร. แพทย์เน้นผลิตเก่งที่สุด สวนทาง สธ. ผลิตให้พอบริการประชาชน ชูใช้ระบบธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนช่วยวางแผน
ผศ.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 “ปฏิรูปการเรียนรู้ สู่สมรรถนะและหัวใจ” ว่า ที่ผ่านมา การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของไทยยังขาดรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนจากทุกภาคส่วน เช่น ขาดกลไกการประสานระหว่างสถาบันผลิตและสถานพยาบาล ทำให้การผลิตบุคลากรสาธารณสุขอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพ บางวิชาชีพขาดแคลน ขณะที่บางวิชาชีพมีแนวโน้มจะเกินความต้องการ ทั้งนี้ การนำแนวคิดระบบธรรมาภิบาลมาใช้วางแผนกำลังคนฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต แต่จะต้องมีการศึกษาวิจัยให้เห็นชัดเจน ซึ่งขณะนี้ สวรส.กำลังดำเนินการวิจัย “ทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนทางด้านสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ” โดยมอบให้สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) ทำการศึกษารูปแบบของบทบาทและความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ ผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ทุกวันนี้เห็นได้ว่าแผนกำลังคนด้านสุขภาพ มีในหลาย ๆ หน่วยงาน แต่ก็ต่างคนต่างทำ การวางแผนก็จะกระโดดไปที่ความต้องการกำลังคน แต่ไม่ได้มองไปที่ความจำเป็นทางด้านความต้องการรับบริการ จึงต้องกลับมาคิดกลไกการบูรณาการจัดทำแผนเพื่อความสมดุลของระบบกำลังคน สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายอยากได้จากงานวิจัย คือ บทเรียนจากความล้มเหลวจากที่ผ่านมา ว่ามีเรื่องใดที่ต้องการอุดช่องว่างของปัญหาบ้าง ทั้งนี้ การจัดทำแผนกำลังคนด้านสุขภาพต้องคำนึงถึง 3 ประเด็น คือ การวางแผนโดยมองระยะยาว การรีบดำเนินการตามแผน และการปรับแผนการดำเนินการตามสถานการณ์บ่อย ๆ
รศ.พญ.นันทนา ศิริทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การใช้แนวคิดธรรมาภิบาลเข้ามาจับกับการวางแผนกำลังคนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ในอดีตมีความพยายามในการสร้างหลักสูตรเพื่อเอื้อให้มีแพทย์มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชนบท แต่พบว่ายังมีแนวคิดที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับการผลิต เช่น โรงเรียนแพทย์ใช้หลักคิดการผลิตเพื่อให้ได้กำลังคนที่เก่งที่สุด แต่ สธ. ใช้หลักคิดการผลิตเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอต่อการให้บริการ ดังนั้น ต้องคำนึงถึงกระบวนการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตามหลักธรรมาภิบาล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผศ.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 “ปฏิรูปการเรียนรู้ สู่สมรรถนะและหัวใจ” ว่า ที่ผ่านมา การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพของไทยยังขาดรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนจากทุกภาคส่วน เช่น ขาดกลไกการประสานระหว่างสถาบันผลิตและสถานพยาบาล ทำให้การผลิตบุคลากรสาธารณสุขอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพ บางวิชาชีพขาดแคลน ขณะที่บางวิชาชีพมีแนวโน้มจะเกินความต้องการ ทั้งนี้ การนำแนวคิดระบบธรรมาภิบาลมาใช้วางแผนกำลังคนฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต แต่จะต้องมีการศึกษาวิจัยให้เห็นชัดเจน ซึ่งขณะนี้ สวรส.กำลังดำเนินการวิจัย “ทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนทางด้านสุขภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ” โดยมอบให้สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) ทำการศึกษารูปแบบของบทบาทและความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ ผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ทุกวันนี้เห็นได้ว่าแผนกำลังคนด้านสุขภาพ มีในหลาย ๆ หน่วยงาน แต่ก็ต่างคนต่างทำ การวางแผนก็จะกระโดดไปที่ความต้องการกำลังคน แต่ไม่ได้มองไปที่ความจำเป็นทางด้านความต้องการรับบริการ จึงต้องกลับมาคิดกลไกการบูรณาการจัดทำแผนเพื่อความสมดุลของระบบกำลังคน สิ่งหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายอยากได้จากงานวิจัย คือ บทเรียนจากความล้มเหลวจากที่ผ่านมา ว่ามีเรื่องใดที่ต้องการอุดช่องว่างของปัญหาบ้าง ทั้งนี้ การจัดทำแผนกำลังคนด้านสุขภาพต้องคำนึงถึง 3 ประเด็น คือ การวางแผนโดยมองระยะยาว การรีบดำเนินการตามแผน และการปรับแผนการดำเนินการตามสถานการณ์บ่อย ๆ
รศ.พญ.นันทนา ศิริทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การใช้แนวคิดธรรมาภิบาลเข้ามาจับกับการวางแผนกำลังคนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ในอดีตมีความพยายามในการสร้างหลักสูตรเพื่อเอื้อให้มีแพทย์มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชนบท แต่พบว่ายังมีแนวคิดที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับการผลิต เช่น โรงเรียนแพทย์ใช้หลักคิดการผลิตเพื่อให้ได้กำลังคนที่เก่งที่สุด แต่ สธ. ใช้หลักคิดการผลิตเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอต่อการให้บริการ ดังนั้น ต้องคำนึงถึงกระบวนการที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนตามหลักธรรมาภิบาล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่