บอร์ด สปสช. เห็นชอบจัดสรรงบบัตรทองปี 59 เป็น 8 หมวด เพิ่มหมวดดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 600 ล้านบาท หลัง ครม. อนุมัติงบ ส่วนงบค่าเสื่อมยังต้องรอตีความใหม่ เผยขยายสิทธิคลอดฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง จากเดิมให้แค่ 2 ครั้ง หวังส่งเสริมการมีลูก พร้อมให้ใช้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีดแทนหยอด
วันนี้ (3 ส.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สปสช. ซึ่งมีวาระพิจารณาหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช. โดยจัดสรรงบกองทุนที่จะได้รับกว่า 1.6 แสนล้านบาท ออกเป็น 8 หมวด ประกอบด้วย งบบริหารจัดการภาพรวม งบเหมาจ่ายรายหัว งบผู้ป่วยเอดส์ งบผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง งบสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย 3 จังหวัดชายแดนใต้ ค่าตอบแทนกำลังคนสาธารณสุข และที่เพิ่มมาใหม่คือค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือติดบ้านติดเตียง จำนวน 600 ล้านบาท ที่ ครม. มีมติอนุมัติ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ แต่ยังต้องมีการพิจารณารายละเอียดในการประชุมบอร์ด สปสช. ครั้งต่อไป
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัวยังคงมีปัญหาอยู่ 2 ส่วน คือ 1. ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน หรืองบค่าเสื่อม ที่ห้ามเบิกจ่ายกรณีก่อสร้างและซ่อมแซม แต่การโอนงบประมาณเข้าไปเป็นเงินบำรุงโรงพยาบาล ต้องการความชัดเจนว่าสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างซ่อมแซมได้หรือไม่ ที่ประชุมจึงมีมติทำหนังสือเสนอเข้า ครม. เพื่อขอพิจารณาตีความใหม่อีกครั้ง โดยจะนำเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช. ในวันที่ 14 ก.ย. 2558 และ 2. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการ โดย ครม. มีมติให้หาแหล่งเงินอื่นในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการ เพราะที่ผ่านมา สปสช. ใช้เงินกองทุนช่วยเหลือตามมาตรา 41 ซึ่งผิดหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ช่วยเหลือเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ขณะนี้จึงใช้งบส่งเสริมกิจกรรมภาครัฐขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ดำเนินการ พร้อมกำลังทำให้มาตรา 41 มีความชัดเจนในทางกฎหมาย
“นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการมติขยายสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ปีงบประมาณ 2559 คือ ขยายสิทธิการคลอดโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จากเดิมให้คลอดตามสิทธิเพียง 2 ครั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จากการพิจารณา ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรวัยแรงงานเริ่มน้อยลง จำเป็นต้องมีการส่งเสริมประชากรมากขึ้น โดยจะมีผลวันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป และเห็นชอบการให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด หรือ IPV จากเดิมที่มีกำหนดเพียงชนิดรับประทานเท่านั้น เพราะมีความปลอดภัยกว่า แต่วัคซีน IPV ต้องได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติก่อน รวมทั้งเพิ่มขอบเขตบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมโรค เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่” ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ส.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สปสช. ซึ่งมีวาระพิจารณาหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง สปสช. โดยจัดสรรงบกองทุนที่จะได้รับกว่า 1.6 แสนล้านบาท ออกเป็น 8 หมวด ประกอบด้วย งบบริหารจัดการภาพรวม งบเหมาจ่ายรายหัว งบผู้ป่วยเอดส์ งบผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง งบสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย 3 จังหวัดชายแดนใต้ ค่าตอบแทนกำลังคนสาธารณสุข และที่เพิ่มมาใหม่คือค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือติดบ้านติดเตียง จำนวน 600 ล้านบาท ที่ ครม. มีมติอนุมัติ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ แต่ยังต้องมีการพิจารณารายละเอียดในการประชุมบอร์ด สปสช. ครั้งต่อไป
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัวยังคงมีปัญหาอยู่ 2 ส่วน คือ 1. ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน หรืองบค่าเสื่อม ที่ห้ามเบิกจ่ายกรณีก่อสร้างและซ่อมแซม แต่การโอนงบประมาณเข้าไปเป็นเงินบำรุงโรงพยาบาล ต้องการความชัดเจนว่าสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างซ่อมแซมได้หรือไม่ ที่ประชุมจึงมีมติทำหนังสือเสนอเข้า ครม. เพื่อขอพิจารณาตีความใหม่อีกครั้ง โดยจะนำเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช. ในวันที่ 14 ก.ย. 2558 และ 2. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการ โดย ครม. มีมติให้หาแหล่งเงินอื่นในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการ เพราะที่ผ่านมา สปสช. ใช้เงินกองทุนช่วยเหลือตามมาตรา 41 ซึ่งผิดหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ช่วยเหลือเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ขณะนี้จึงใช้งบส่งเสริมกิจกรรมภาครัฐขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ดำเนินการ พร้อมกำลังทำให้มาตรา 41 มีความชัดเจนในทางกฎหมาย
“นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการมติขยายสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ปีงบประมาณ 2559 คือ ขยายสิทธิการคลอดโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จากเดิมให้คลอดตามสิทธิเพียง 2 ครั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จากการพิจารณา ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรวัยแรงงานเริ่มน้อยลง จำเป็นต้องมีการส่งเสริมประชากรมากขึ้น โดยจะมีผลวันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป และเห็นชอบการให้วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด หรือ IPV จากเดิมที่มีกำหนดเพียงชนิดรับประทานเท่านั้น เพราะมีความปลอดภัยกว่า แต่วัคซีน IPV ต้องได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติก่อน รวมทั้งเพิ่มขอบเขตบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมโรค เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่” ศ.นพ.รัชตะ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่