วธ. เร่งปั้นแผนกองทุนสื่อปลอดภัยฯคาดแล้วเสร็จใน 3 เดือน พร้อมระบุจะทำให้เยาวชนรู้เท่าทันสื่อ และเชื่อมโยงการของบประมาณ
ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่า ขณะนี้ วธ. ได้ร่างกรอบการจัดทำแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเบื้องต้นได้หารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกับคณะนักวิจัย จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทั้งนี้ จะเริ่มจากการศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างองค์กรการดำเนินงานของกองทุนสื่อฯที่ประสบความสำเร็จของต่างประเทศอย่างน้อย 5 ประเทศ จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เช่น จัดประชุมปฏิบัติการกับกลุ่มต่าง ๆ อาทิ สื่อสารมวลชน นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เด็กและเยาวชน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้าน ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัด วธ. กล่าวว่า การดำเนินการร่างแผนดังกล่าว จะเชื่อมโยงไปสู่การขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้น จะต้องเตรียมการอย่างรอบคอบ เพื่ออธิบายให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ อย่างชัดเจน ถ้าหากแผนการดำเนินงานสมบูรณ์และสามารถขับเคลื่อนกองทุนพัฒนา สื่อปลอดภัยฯ ได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่าง ๆ อย่างมาก อาทิ การรณรงค์ ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเองได้ รวมถึงสนับสนุนงบประมาณให้เครือข่ายศิลปิน และกลุ่มนักคิดสร้างสรรค์ นำไปจัดกิจกรรมและพัฒนาผลงานต่าง ๆ เชิงสร้างสรรค์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่า ขณะนี้ วธ. ได้ร่างกรอบการจัดทำแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเบื้องต้นได้หารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกับคณะนักวิจัย จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทั้งนี้ จะเริ่มจากการศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างองค์กรการดำเนินงานของกองทุนสื่อฯที่ประสบความสำเร็จของต่างประเทศอย่างน้อย 5 ประเทศ จากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เช่น จัดประชุมปฏิบัติการกับกลุ่มต่าง ๆ อาทิ สื่อสารมวลชน นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เด็กและเยาวชน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน
ด้าน ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัด วธ. กล่าวว่า การดำเนินการร่างแผนดังกล่าว จะเชื่อมโยงไปสู่การขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้น จะต้องเตรียมการอย่างรอบคอบ เพื่ออธิบายให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เข้าใจเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ อย่างชัดเจน ถ้าหากแผนการดำเนินงานสมบูรณ์และสามารถขับเคลื่อนกองทุนพัฒนา สื่อปลอดภัยฯ ได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่าง ๆ อย่างมาก อาทิ การรณรงค์ ส่งเสริมการพัฒนาสื่อ การพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเองได้ รวมถึงสนับสนุนงบประมาณให้เครือข่ายศิลปิน และกลุ่มนักคิดสร้างสรรค์ นำไปจัดกิจกรรมและพัฒนาผลงานต่าง ๆ เชิงสร้างสรรค์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่