สคสท. เสนอไอเดีย ตั้ง “สหกรณ์สุขภาพ” แก้ปัญหาความยั่งยืนระบบหลักประกันสุขภาพ สร้างความมั่นคง เน้นออมเพื่อรักษาพยาบาล และออมเพื่อสุขภาพ ชี้ถึงภาวะจำเป็นต้องหาทางออก
นางทัศนีย์ บัวคำ ประธานคณะทำงานก่อตั้งสมาพันธ์เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไทย (สคสท.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพของไทยที่เข้าสู่ขั้นวิกฤต จนทำให้ระบบบริการสุขภาพอาจล้มเหลว และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสุขภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ที่ผ่านมา มีการพูดถึงการร่วมจ่ายเพื่อความยั่งยืนของระบบ ซึ่ง สคสท. ขอเสนอของการร่วมจ่าย โดยมุ่งให้ประชาชนรู้จักการออมสุขภาพพึ่งตนเอง โดยที่รัฐ เอกชน ภาคีเครือข่าย และประชาชนคนไทย จะต้องร่วมมือกันสนับสนุนและจัดตั้งระบบสหกรณ์สุขภาพ ซึ่ง สคสท. ที่มีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร จะขับเคลื่อนเรื่องนี้เพื่อช่วยกันหาทางออกให้รัฐบาล
นางทัศนีย์ กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเปิดทางให้มีสหกรณ์เพื่อบริการสังคมที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ สหกรณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลากหลายกลุ่มเข้ามารวมตัวเป็นสมาชิกร่วมลงทุนและร่วมดำเนินกิจการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เพื่อให้บริการทางสังคม เช่น การรักษาพยาบาล การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น และกลุ่มที่สอง เป็นรูปแบบการออมเพื่อสุขภาพ เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมาชิกและประชาชนทั่วไป
“ส่วนตัวเห็นถึงภาวะความจำเป็นในการช่วยกันหาทางออกกับปัญหาหลักประกันสุขภาพที่อาจล้มเหลวขึ้นได้ โดยรัฐ เอกชน ท้องถิ่น องค์กรเครือข่ายทางสังคม ทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข และเครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงน่าที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเข้ามาเป็นสมาชิกและบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์เพื่อดูแลสุขภาพและดูแลสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพ ซึ่งมีความเป็นรูปธรรม” นางทัศนีย์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางทัศนีย์ บัวคำ ประธานคณะทำงานก่อตั้งสมาพันธ์เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไทย (สคสท.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพของไทยที่เข้าสู่ขั้นวิกฤต จนทำให้ระบบบริการสุขภาพอาจล้มเหลว และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสุขภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ที่ผ่านมา มีการพูดถึงการร่วมจ่ายเพื่อความยั่งยืนของระบบ ซึ่ง สคสท. ขอเสนอของการร่วมจ่าย โดยมุ่งให้ประชาชนรู้จักการออมสุขภาพพึ่งตนเอง โดยที่รัฐ เอกชน ภาคีเครือข่าย และประชาชนคนไทย จะต้องร่วมมือกันสนับสนุนและจัดตั้งระบบสหกรณ์สุขภาพ ซึ่ง สคสท. ที่มีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร จะขับเคลื่อนเรื่องนี้เพื่อช่วยกันหาทางออกให้รัฐบาล
นางทัศนีย์ กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเปิดทางให้มีสหกรณ์เพื่อบริการสังคมที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ สหกรณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลากหลายกลุ่มเข้ามารวมตัวเป็นสมาชิกร่วมลงทุนและร่วมดำเนินกิจการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เพื่อให้บริการทางสังคม เช่น การรักษาพยาบาล การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น และกลุ่มที่สอง เป็นรูปแบบการออมเพื่อสุขภาพ เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมาชิกและประชาชนทั่วไป
“ส่วนตัวเห็นถึงภาวะความจำเป็นในการช่วยกันหาทางออกกับปัญหาหลักประกันสุขภาพที่อาจล้มเหลวขึ้นได้ โดยรัฐ เอกชน ท้องถิ่น องค์กรเครือข่ายทางสังคม ทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข และเครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงน่าที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเข้ามาเป็นสมาชิกและบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์เพื่อดูแลสุขภาพและดูแลสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพ ซึ่งมีความเป็นรูปธรรม” นางทัศนีย์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่