ภาคประชาชน ชง สตช.ใช้มาตรา 32 พ.ร.บ. คุมน้ำเมา เอาผิดร้านเหล้าสถานบันเทิง โทษคุก 1 ปี ปรับ 5 แสน จี้ คสช. หาช่องปิดถาวรหากพบทำผิดซ้ำซาก
วันนี้ (7 ก.ค.) นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองลงพื้นที่ตรวจจับสถานบันเทิงหลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำผิดกฎหมายในหลายประเด็น ว่า เครือข่ายฯขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่จริงจังกับปัญหาที่เรื้อรังมานาน ส่งผลกระทบทั้งเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ รวมถึงชาวบ้านประชาชนที่กินไม่ได้นอนไม่หลับจากพฤติกรรมท้าทายกฎหมายของบรรดาสถานบันเทิงเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการจับกุมร้านเหล้ามาอย่างต่อเนื่อง พบว่า เป็นการกระทำความผิด ฐานจำหน่ายเหล้าโดยไม่มีใบอนุญาต จำหน่ายเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ปล่อยให้เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า20ปีเข้าไปใช้บริการ รวมถึงการขายเหล้าให้เด็ก ซึ่งโทษส่วนใหญ่เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ หรือสั่งปิดช่วงสั้นๆ อีกไม่นานร้านเหล่านี้ก็กลับมาเปิดได้อีกโดยการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ และพร้อมที่จะทำผิดกฎหมาย เนื่องจากความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับรายได้และค่าปรับที่ต้องจ่ายไม่มากนัก
“แทบไม่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการดำเนินคดีในกรณีที่มีบทลงโทษหนัก ๆ เช่น การโฆษณาในมาตรา 32 ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ปรับไม่เกิน 500,000 บาท จำคุกไม่เกิน1ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงต้องถูกปรับวันละ 50,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง ซึ้งเป็นบทลงโทษที่หนัก แต่ไม่เห็นว่ามาตรการนี้จะถูกนำมาบังคับใช้ รวมถึงการห้ามส่งเสริมการขาย ตามมาตรา 31 ที่เกือบทุกร้านนิยมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ติดป้ายประชาสัมพันธ์อย่างโจ่งแจ้ง จึงเป็นจุดที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต้องเร่งทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้นำมาตรา 32 นี้ มาบังคับใช้ เป็นเครื่องมือปกป้องลูกหลาน คืนความสงบสุขให้ประชาชน หากมาตรการไม่เข้มข้นเพียงพอ ผู้ทำผิดก็ไม่หลาบจำเป็นความผิดซ้ำซากที่แก้กันไม่จบเพราะผลประโยชน์บังตา” นายชูวิทย์ กล่าว
นายชูวิทย์ กล่าวว่า หากหมดยุคสมัยของคสช.หรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน สถานการณ์การทำผิดกฎหมายในรูปแบบเดิมจะคืนกลับมา จึงจำเป็นที่ คสช. หรือรัฐบาลต้องเร่งสร้างกลไกให้ยั่งยืนในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นการบ้านที่ต้องออกแบบกลไกและกระบวนการกันโดยด่วน สามารถปิดร้านเหล้าที่พบว่ามีการทำผิดกฎหมายซ้ำซากอย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าของรายใหม่มาเปิดในที่เดิมได้อีก ในขณะที่ภาคประชาชน สังคม สถาบันการศึกนิสิตนักศึกษาเองก็ต้องตื่นตัว ช่วยกันเฝ้าระวังและแจ้งเหตุ อย่าปล่อยให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทรวงสาธารณสุข หรือสรรพสามิตเพียงฝ่ายเดียว มหาวิทยาลัยเองควรออกแบบกิจกรรม หรือกระบวนการที่สามารถทำให้นิสิตนักศึกษาสนใจทำกิจกรรม หรือมีพื้นที่สร้างสรรค์ที่มากขึ้นในมหาวิทยาลัยทดแทนการไปใช้เวลากับสถานที่อโคจร ทั้งนี้ หากรัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ กล้าตัดสินใจ เห็นชอบในมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวะ 300 เมตร ซึ่ง นิด้าโพล ระบุว่า ประชาชน 90% เห็นด้วย และมีไม่น้อยที่อยากให้ห่างไปมากกว่า 300 เมตร ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นในทางปฏิบัติ และจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มักจะเกิดขึ้นใกล้สถานศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ค.) นายชูวิทย์ จันทรส เลขานุการเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองลงพื้นที่ตรวจจับสถานบันเทิงหลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำผิดกฎหมายในหลายประเด็น ว่า เครือข่ายฯขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่จริงจังกับปัญหาที่เรื้อรังมานาน ส่งผลกระทบทั้งเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ รวมถึงชาวบ้านประชาชนที่กินไม่ได้นอนไม่หลับจากพฤติกรรมท้าทายกฎหมายของบรรดาสถานบันเทิงเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการจับกุมร้านเหล้ามาอย่างต่อเนื่อง พบว่า เป็นการกระทำความผิด ฐานจำหน่ายเหล้าโดยไม่มีใบอนุญาต จำหน่ายเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด ปล่อยให้เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า20ปีเข้าไปใช้บริการ รวมถึงการขายเหล้าให้เด็ก ซึ่งโทษส่วนใหญ่เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ หรือสั่งปิดช่วงสั้นๆ อีกไม่นานร้านเหล่านี้ก็กลับมาเปิดได้อีกโดยการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ และพร้อมที่จะทำผิดกฎหมาย เนื่องจากความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับรายได้และค่าปรับที่ต้องจ่ายไม่มากนัก
“แทบไม่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการดำเนินคดีในกรณีที่มีบทลงโทษหนัก ๆ เช่น การโฆษณาในมาตรา 32 ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ปรับไม่เกิน 500,000 บาท จำคุกไม่เกิน1ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงต้องถูกปรับวันละ 50,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง ซึ้งเป็นบทลงโทษที่หนัก แต่ไม่เห็นว่ามาตรการนี้จะถูกนำมาบังคับใช้ รวมถึงการห้ามส่งเสริมการขาย ตามมาตรา 31 ที่เกือบทุกร้านนิยมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ติดป้ายประชาสัมพันธ์อย่างโจ่งแจ้ง จึงเป็นจุดที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต้องเร่งทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้นำมาตรา 32 นี้ มาบังคับใช้ เป็นเครื่องมือปกป้องลูกหลาน คืนความสงบสุขให้ประชาชน หากมาตรการไม่เข้มข้นเพียงพอ ผู้ทำผิดก็ไม่หลาบจำเป็นความผิดซ้ำซากที่แก้กันไม่จบเพราะผลประโยชน์บังตา” นายชูวิทย์ กล่าว
นายชูวิทย์ กล่าวว่า หากหมดยุคสมัยของคสช.หรือรัฐบาลชุดปัจจุบัน สถานการณ์การทำผิดกฎหมายในรูปแบบเดิมจะคืนกลับมา จึงจำเป็นที่ คสช. หรือรัฐบาลต้องเร่งสร้างกลไกให้ยั่งยืนในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นการบ้านที่ต้องออกแบบกลไกและกระบวนการกันโดยด่วน สามารถปิดร้านเหล้าที่พบว่ามีการทำผิดกฎหมายซ้ำซากอย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อเจ้าของรายใหม่มาเปิดในที่เดิมได้อีก ในขณะที่ภาคประชาชน สังคม สถาบันการศึกนิสิตนักศึกษาเองก็ต้องตื่นตัว ช่วยกันเฝ้าระวังและแจ้งเหตุ อย่าปล่อยให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทรวงสาธารณสุข หรือสรรพสามิตเพียงฝ่ายเดียว มหาวิทยาลัยเองควรออกแบบกิจกรรม หรือกระบวนการที่สามารถทำให้นิสิตนักศึกษาสนใจทำกิจกรรม หรือมีพื้นที่สร้างสรรค์ที่มากขึ้นในมหาวิทยาลัยทดแทนการไปใช้เวลากับสถานที่อโคจร ทั้งนี้ หากรัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ กล้าตัดสินใจ เห็นชอบในมาตรการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยอาชีวะ 300 เมตร ซึ่ง นิด้าโพล ระบุว่า ประชาชน 90% เห็นด้วย และมีไม่น้อยที่อยากให้ห่างไปมากกว่า 300 เมตร ก็จะทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นในทางปฏิบัติ และจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มักจะเกิดขึ้นใกล้สถานศึกษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่