สธ. ทยอยปล่อยตัวผู้สัมผัส “ผู้ป่วยเมอร์ส” กลับบ้าน ล็อตแรก 20 คน หลังครบกำหนดเฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน ด้านญาติผู้ป่วย 3 คน พ้นเฝ้าระวัง 2 ก.ค. ส่วนอาการผู้ป่วยดีขึ้น ไม่ต้องใช้ออกซิเจน คาด ก.ค. หายดี ออกจาก รพ. ได้
วันนี้ (29 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่สถาบันบำราศนราดูร ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวก่อนตรวจเยี่ยมการให้การดูแลผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส ซึ่งต้องรับไว้เฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน ว่า ขณะนี้มีผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเมอร์สชาวโอมานอยู่ในไทย จำนวน 154 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สัมผัสโรคเสี่ยงสูง 36 คน ประกอบด้วย ญาติผู้ป่วย ผู้เดินทางร่วมเที่ยวบิน 2 แถวหน้าหลัง บุคลากรทางการแพทย์ และคนขับรถแท็กซี่ สามารถติดตามตัวได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 20 คน ได้ครบกำหนด 14 วัน ในการเฝ้าสังเกตอาการในวันที่ 29 มิ.ย. อาการสบายดี ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อโรคเมอร์ส สามารถออกจากห้องแยกโรคและกลับบ้านได้แล้ว
“กลุ่มเสี่ยงสูง 20 คนที่ไม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการแล้วนั้น ประกอบด้วย ผู้เดินทางร่วมเที่ยวบิน 14 คน คนขับรถแท็กซี่ 2 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 4 คน จำนวนนี้แบ่งเป็น ชาวต่างชาติ 12 คน สัญชาติอังกฤษ อิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์ และ คนไทย 8 คน ซึ่งเฝ้าสังเกตอาการอนู่ที่ กทม. ชลบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ และ บุรีรัมย์ ส่วนอีก 16 คนที่เหลือยังต้องเฝ้าระวังจนครบ 14 วันตามกำหนด ซึ่งทั้งหมดไม่มีอาการป่วย และมีการตรวจเชื้อหาท้องปฏิบัติการยืนยัน สำหรับญาติผู้ป่วยจะออกจากระบบเฝ้าระวังวันที่ 2 ก.ค. นี้ เนื่องจากแต่ละคนจะหมดระยะเวลาสังเกตอาการต่างกัน โดยนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัมผู้ป่วย” รมว.สธ. กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้สัมผัสโรคเสี่ยงต่ำ ที่เหลือนั้น แนะนำให้แยกตัวเองที่บ้านก็ให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่วนอาการชายชาวโอมานทั่วไปดีขึ้น ลุกขึ้นนั่งได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ผลการเอกซเรย์ปอดดีขึ้น ส่วนอาการโรคหัวใจซึ่งเป็นโรคเดิมนั้นแพทย์ได้ดูแลอยู่ ทั้งนี้ จะได้ตรวจสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจบริเวณหลังโพรงจมูก ให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อจากทางเดินหายใจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ก่อนย้ายออกจากห้องแยกโรคความดันลบ ไปรักษาในห้องแยกโรคธรรมดา อย่างไรก็ตามมาตรการเฝ้าระวังผู้สัมผัส และผู้เดินทางเข้าประเทศจะทำอย่างเข้มงวดเหมือนเดิม ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด
พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า ขณะนี้ได้เก็บเชื้อจากผู้ป่วยส่งตรวจห้องปฏิบัติการและไม่พบเชื้อมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งการจะจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้นั้น ต้องพิจารณาจากอาการต่างๆ เป็นสำคัญ ว่า ผู้ป่วยหายดีและแข็งแรง สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ขณะนี้ถือว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติจากโรคเมอร์ส ภายใน ก.ค. น่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 3 ก.ค. จะมีการประชุมทบทวนการปฏิบัติงานตามแนวทางคำแนะนำ ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มั่นใจในการให้การรักษาด้วย
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัด สธ. กล่าวว่า แม้สถานการณ์การระบาดของโรคจะเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังกำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งโรงพยาบาลเอกชน ที่รับผู้ป่วยต่างประเทศ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาล ที่ต้องดูแลในพื้นที่ต่างๆ ทำความเข้าใจมาตรการ และกำชับในเรื่องการจัดห้องแยกโรคให้เป็นไปตามมาตรการการเตรียมความพร้อม ทั้งนี้ สำหรับประกาศตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ มีการทยอยออกประกาศเพื่อให้สามารถควบคุมได้ทุกส่วน ทั้งในส่วนผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐและเอกชน ห้องปฏิบัติการ และกำชับการนำส่งผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐาน และจะมีโทษตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้มาตรการเฝ้าระวังหย่อนยาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่สถาบันบำราศนราดูร ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวก่อนตรวจเยี่ยมการให้การดูแลผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส ซึ่งต้องรับไว้เฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน ว่า ขณะนี้มีผู้สัมผัสผู้ป่วยโรคเมอร์สชาวโอมานอยู่ในไทย จำนวน 154 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สัมผัสโรคเสี่ยงสูง 36 คน ประกอบด้วย ญาติผู้ป่วย ผู้เดินทางร่วมเที่ยวบิน 2 แถวหน้าหลัง บุคลากรทางการแพทย์ และคนขับรถแท็กซี่ สามารถติดตามตัวได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 20 คน ได้ครบกำหนด 14 วัน ในการเฝ้าสังเกตอาการในวันที่ 29 มิ.ย. อาการสบายดี ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อโรคเมอร์ส สามารถออกจากห้องแยกโรคและกลับบ้านได้แล้ว
“กลุ่มเสี่ยงสูง 20 คนที่ไม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการแล้วนั้น ประกอบด้วย ผู้เดินทางร่วมเที่ยวบิน 14 คน คนขับรถแท็กซี่ 2 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 4 คน จำนวนนี้แบ่งเป็น ชาวต่างชาติ 12 คน สัญชาติอังกฤษ อิตาลี และ สวิตเซอร์แลนด์ และ คนไทย 8 คน ซึ่งเฝ้าสังเกตอาการอนู่ที่ กทม. ชลบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ประจวบคีรีขันธ์ และ บุรีรัมย์ ส่วนอีก 16 คนที่เหลือยังต้องเฝ้าระวังจนครบ 14 วันตามกำหนด ซึ่งทั้งหมดไม่มีอาการป่วย และมีการตรวจเชื้อหาท้องปฏิบัติการยืนยัน สำหรับญาติผู้ป่วยจะออกจากระบบเฝ้าระวังวันที่ 2 ก.ค. นี้ เนื่องจากแต่ละคนจะหมดระยะเวลาสังเกตอาการต่างกัน โดยนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัมผู้ป่วย” รมว.สธ. กล่าว
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มผู้สัมผัสโรคเสี่ยงต่ำ ที่เหลือนั้น แนะนำให้แยกตัวเองที่บ้านก็ให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่วนอาการชายชาวโอมานทั่วไปดีขึ้น ลุกขึ้นนั่งได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ผลการเอกซเรย์ปอดดีขึ้น ส่วนอาการโรคหัวใจซึ่งเป็นโรคเดิมนั้นแพทย์ได้ดูแลอยู่ ทั้งนี้ จะได้ตรวจสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจบริเวณหลังโพรงจมูก ให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อจากทางเดินหายใจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ก่อนย้ายออกจากห้องแยกโรคความดันลบ ไปรักษาในห้องแยกโรคธรรมดา อย่างไรก็ตามมาตรการเฝ้าระวังผู้สัมผัส และผู้เดินทางเข้าประเทศจะทำอย่างเข้มงวดเหมือนเดิม ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด
พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า ขณะนี้ได้เก็บเชื้อจากผู้ป่วยส่งตรวจห้องปฏิบัติการและไม่พบเชื้อมากกว่า 1 ครั้ง ซึ่งการจะจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้นั้น ต้องพิจารณาจากอาการต่างๆ เป็นสำคัญ ว่า ผู้ป่วยหายดีและแข็งแรง สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ขณะนี้ถือว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติจากโรคเมอร์ส ภายใน ก.ค. น่าจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 3 ก.ค. จะมีการประชุมทบทวนการปฏิบัติงานตามแนวทางคำแนะนำ ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มั่นใจในการให้การรักษาด้วย
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัด สธ. กล่าวว่า แม้สถานการณ์การระบาดของโรคจะเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังกำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งโรงพยาบาลเอกชน ที่รับผู้ป่วยต่างประเทศ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาล ที่ต้องดูแลในพื้นที่ต่างๆ ทำความเข้าใจมาตรการ และกำชับในเรื่องการจัดห้องแยกโรคให้เป็นไปตามมาตรการการเตรียมความพร้อม ทั้งนี้ สำหรับประกาศตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ มีการทยอยออกประกาศเพื่อให้สามารถควบคุมได้ทุกส่วน ทั้งในส่วนผู้ป่วย โรงพยาบาลรัฐและเอกชน ห้องปฏิบัติการ และกำชับการนำส่งผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐาน และจะมีโทษตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้มาตรการเฝ้าระวังหย่อนยาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่