ภาคประชาชนวอน “บิ๊กตู่” เปลี่ยนตัว “ยงยุทธ” ดูแลงานสาธารณสุข เหตุมีความสัมพันธ์บริษัทยา ดันร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ไม่คืบ จี้เปลือยตัว ครม. ทั้งหมดก่อนพิจารณา ยันต้องเปิดเผยโครงสร้างราคายาใน กม. ช่วยคุมราคายาได้
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่สภาคริสตจักรหัวช้าง ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวในการแถลงข่าว “การไม่ควบคุมราคายา : บกพร่องโดยทุจริต???” ว่า การที่ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี บอกจะตัดโครงสร้างราคายาออกจาก พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามหลักสากล และไทยมีกฎหมายหลายตัวที่ครอบคลุมการดูแลราคายาอยู่ ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะตั้งแต่ปี 2538 ที่เคยมีการกำหนดให้เปิดเผยโครงสร้างราคายาเอาไว้ในประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า แต่ใช้ได้เพียง 6 เดือน ก็ยกเลิก หลังจากนั้น ก็ไม่มีการควบคุมราคายาอีกเลย ในขณะที่ ผ้าอนามัย กะปิ น้ำปลา กระดาษชำระ ถูกบังคับให้ต้องเปิดเผยโครงสร้างราคา ต้นทุนการผลิต การนำเข้า การเก็บรักษา การโฆษณา การจำหน่าย จำนวนจำหน่าย ในประกาศอย่างชัดเจน จึงขอเรียกร้องให้มีการคงข้อกำหนดเรื่องการเปิดเผยโครงสร้างราคายา และข้อมูลสิทธิบัตรยาเอาไว้ในร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ด้วย
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวี หากได้รับยาต้านไวรัสรวม 3 ตัว จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งยาตัวนี้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตและจำหน่ายในราคา 900 บาท แต่ใน รพ.เอกชน นั้น เรียกเก็บถึง 20,000 บาท คือ ราคาที่แพงแบบไม่มีเหตุผล เพราะไม่มีการเปิดเผยต้นทุน ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีการเปิดเผยโครงสร้างราคายาเอาไว้ในกฎหมาย ถ้าไม่กำหนดแล้วจะใช้กลไกอะไรไปควบคุมราคาทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตด้วยว่าเหตุใดการผลักดัน พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ใช้เวลานานมาก จึงขอเรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจสั่งการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ถ้าจะพิจารณากฎหมายด้านสุขภาพ ต้องเปลือยตัวเองว่าใครเกี่ยวข้องกับบริษัทยาข้ามชาติบ้าง ใครมีหุ้นส่วนบริษัทยาต้องออกจากห้องประชุม เพราะรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาล การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่สำคัญ และเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวรองนายกฯ ที่ดูเรื่องนี้ เพราะเป็นผู้มีความเชี่ยวข้องเชิงเครือญาติกับบริษัทยาข้ามชาติ แล้วดูว่าเรื่องนี้จะเดินหน้าได้หรือไม่ ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนตัวต้องเปลือยตัวต่อสาธารณะว่าเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทยา
“วันที่ 2 ก.ค. ช่วงเช้าจะเดินทางเข้าพบกับ รมว.พาณิชย์ เพื่อหารือถึงการยกเครื่องมาตรการคุมราคายา ที่การติดฉลากข้างกล่องยังไม่เพียงพอ และหารือเรื่องการอนุญาตจดสิทธิบัตรอย่างเป็นธรรม ไม่ปล่อยให้มีการจดสิทธิบัตรตลอดชีพอย่างที่หลายบริษัทกำลังพยายามผลักดันอยู่” นายนิมิตร์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวว่า ขอถามก่อนว่ารองนายกฯพูดในฐานะอะไร พูดในฐานะรองนายกรัฐมนตรี หรือพูดในฐานะพี่ชายที่มีน้องสาวทำงานอยู่ในบริษัทยาข้ามชาติ อะไร ต้องเคลียร์ก่อนว่าที่พูดนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และถ้ารองนายกฯ ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ส่วนตัวยินดีเข้าไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการควบคุมราคายาที่ทั่วโลกใช้กันอยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่สภาคริสตจักรหัวช้าง ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานวิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวในการแถลงข่าว “การไม่ควบคุมราคายา : บกพร่องโดยทุจริต???” ว่า การที่ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี บอกจะตัดโครงสร้างราคายาออกจาก พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามหลักสากล และไทยมีกฎหมายหลายตัวที่ครอบคลุมการดูแลราคายาอยู่ ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะตั้งแต่ปี 2538 ที่เคยมีการกำหนดให้เปิดเผยโครงสร้างราคายาเอาไว้ในประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้า แต่ใช้ได้เพียง 6 เดือน ก็ยกเลิก หลังจากนั้น ก็ไม่มีการควบคุมราคายาอีกเลย ในขณะที่ ผ้าอนามัย กะปิ น้ำปลา กระดาษชำระ ถูกบังคับให้ต้องเปิดเผยโครงสร้างราคา ต้นทุนการผลิต การนำเข้า การเก็บรักษา การโฆษณา การจำหน่าย จำนวนจำหน่าย ในประกาศอย่างชัดเจน จึงขอเรียกร้องให้มีการคงข้อกำหนดเรื่องการเปิดเผยโครงสร้างราคายา และข้อมูลสิทธิบัตรยาเอาไว้ในร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ด้วย
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อเอชไอวี หากได้รับยาต้านไวรัสรวม 3 ตัว จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งยาตัวนี้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตและจำหน่ายในราคา 900 บาท แต่ใน รพ.เอกชน นั้น เรียกเก็บถึง 20,000 บาท คือ ราคาที่แพงแบบไม่มีเหตุผล เพราะไม่มีการเปิดเผยต้นทุน ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีการเปิดเผยโครงสร้างราคายาเอาไว้ในกฎหมาย ถ้าไม่กำหนดแล้วจะใช้กลไกอะไรไปควบคุมราคาทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตด้วยว่าเหตุใดการผลักดัน พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ใช้เวลานานมาก จึงขอเรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจสั่งการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ถ้าจะพิจารณากฎหมายด้านสุขภาพ ต้องเปลือยตัวเองว่าใครเกี่ยวข้องกับบริษัทยาข้ามชาติบ้าง ใครมีหุ้นส่วนบริษัทยาต้องออกจากห้องประชุม เพราะรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาล การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นการคอร์รัปชันเชิงนโยบายที่สำคัญ และเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวรองนายกฯ ที่ดูเรื่องนี้ เพราะเป็นผู้มีความเชี่ยวข้องเชิงเครือญาติกับบริษัทยาข้ามชาติ แล้วดูว่าเรื่องนี้จะเดินหน้าได้หรือไม่ ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนตัวต้องเปลือยตัวต่อสาธารณะว่าเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทยา
“วันที่ 2 ก.ค. ช่วงเช้าจะเดินทางเข้าพบกับ รมว.พาณิชย์ เพื่อหารือถึงการยกเครื่องมาตรการคุมราคายา ที่การติดฉลากข้างกล่องยังไม่เพียงพอ และหารือเรื่องการอนุญาตจดสิทธิบัตรอย่างเป็นธรรม ไม่ปล่อยให้มีการจดสิทธิบัตรตลอดชีพอย่างที่หลายบริษัทกำลังพยายามผลักดันอยู่” นายนิมิตร์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายเอฟทีเอ ว็อทช์ กล่าวว่า ขอถามก่อนว่ารองนายกฯพูดในฐานะอะไร พูดในฐานะรองนายกรัฐมนตรี หรือพูดในฐานะพี่ชายที่มีน้องสาวทำงานอยู่ในบริษัทยาข้ามชาติ อะไร ต้องเคลียร์ก่อนว่าที่พูดนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และถ้ารองนายกฯ ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ส่วนตัวยินดีเข้าไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการควบคุมราคายาที่ทั่วโลกใช้กันอยู่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่