นักวิชาการเผย “พาณิชย์” มี กม. คุมราคายา จวกไม่เคยทำหน้าที่ ระบุเคยตั้งอนุ กก. คุมราคายา แต่หายเข้ากลีบเมฆ ซัดค่ารักษา รพ. เอกชนแพง เหตุทุ่มงบดึงตัวแพทย์ด้วยราคาสูงจาก รพ. รัฐ ด้าน “ปรียนันท์” เสนอตั้ง คกก.กลางคุมราคายาต้องเป็นคนกลางจริงๆ
ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า การควบคุมค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชน ต้องแยกให้ชัด หากพูดถึงค่ายา เรื่องนี้เป็นอำนาจของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมี พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า “ยา” จัดเป็นวัตถุควบคุม เรียกได้ว่ากฎหมายนั้นมีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ไม่เคยนำอำนาจที่มีมาใช้ควบคุมอย่างจริงจัง ละเลยต่อสิทธิของผู้บริโภค ที่ผ่านมาแม้จะกำหนดให้ผู้ผลิตยา ต้องแจ้งราคา แต่ก็ไม่เคยตรวจสอบว่า ราคาที่แจ้งกับต้นทุนเหมาะสมหรือไม่ ที่สำคัญ ทราบมาว่าก่อนหน้านี้เคยมีอนุกรรมการควบคุมราคายา แต่กลับหายเงียบไป
ภญ.นิยดา กล่าวว่า ส่วนที่ รพ.เอกชน มักอ้างว่ามีต้นทุนสูง หรือแพง ก็ต้องมาชี้แจงว่าต้นทุนแพงเพราะอะไร มาจากส่วนไหน ซึ่งหลักๆ อยู่ที่ค่ายา การวินิจฉัยเกินจริงของแพทย์ และค่าอื่นๆ พวกเวชภัณฑ์ ค่าห้อง รวมทั้งเงินเดือนแพทย์ใน รพ.เอกชน แพงมาก จนทำให้รพ.เอกชน ต้องมาบวกคิดกับคนไข้ ทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพง ที่สำคัญ การจ้างแพทย์แพงๆ ยังทำให้เกิดปัญหาแพทย์สมองไหลจาก รพ.รัฐ มาเอกชน ตรงนี้รัฐบาลก็ต้องมาดูแลด้วย ต้องดูแลทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ควบคุมยาเท่านั้น
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวถึงกรณี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ขอพิจารณาข้อเรียกร้องยุบคณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน เพราะสงสัยมีผลประโยชน์ทับซ้อน ว่า หลายวันที่ผ่านมาข้อมูลต่างๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เครือข่ายฯประสบมา แต่การจะพิจารณาอะไรนั้น ขอให้อยู่ที่นายกฯพิจารณาเห็นสมควร เพราะเกี่ยวข้องหลายฝ่าย แต่จริงๆ หากยุบกรรมการแพทยสภาชุดนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ เพราะที่ผ่านมาชัดเจนว่าบอร์ดชุดนี้ไม่เคยทำเพื่อประชาชนเลย ส่วนข้อเสนอตั้งคณะกรรมการกลางควบคุมราคายานั้น อยากให้ใช้โมเดลของนายกฯที่ต้องการคนกลางจริงๆ ซึ่งเครือข่ายฯ เห็นว่า คนกลางต้องไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้ง อย. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) หรือแพทยสภา รวมทั้งเครือข่ายฯ แต่ต้องเป็นคนนอกที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานด้านนี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า การควบคุมค่ารักษาพยาบาล รพ.เอกชน ต้องแยกให้ชัด หากพูดถึงค่ายา เรื่องนี้เป็นอำนาจของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากมี พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า “ยา” จัดเป็นวัตถุควบคุม เรียกได้ว่ากฎหมายนั้นมีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ไม่เคยนำอำนาจที่มีมาใช้ควบคุมอย่างจริงจัง ละเลยต่อสิทธิของผู้บริโภค ที่ผ่านมาแม้จะกำหนดให้ผู้ผลิตยา ต้องแจ้งราคา แต่ก็ไม่เคยตรวจสอบว่า ราคาที่แจ้งกับต้นทุนเหมาะสมหรือไม่ ที่สำคัญ ทราบมาว่าก่อนหน้านี้เคยมีอนุกรรมการควบคุมราคายา แต่กลับหายเงียบไป
ภญ.นิยดา กล่าวว่า ส่วนที่ รพ.เอกชน มักอ้างว่ามีต้นทุนสูง หรือแพง ก็ต้องมาชี้แจงว่าต้นทุนแพงเพราะอะไร มาจากส่วนไหน ซึ่งหลักๆ อยู่ที่ค่ายา การวินิจฉัยเกินจริงของแพทย์ และค่าอื่นๆ พวกเวชภัณฑ์ ค่าห้อง รวมทั้งเงินเดือนแพทย์ใน รพ.เอกชน แพงมาก จนทำให้รพ.เอกชน ต้องมาบวกคิดกับคนไข้ ทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพง ที่สำคัญ การจ้างแพทย์แพงๆ ยังทำให้เกิดปัญหาแพทย์สมองไหลจาก รพ.รัฐ มาเอกชน ตรงนี้รัฐบาลก็ต้องมาดูแลด้วย ต้องดูแลทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ควบคุมยาเท่านั้น
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวถึงกรณี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ขอพิจารณาข้อเรียกร้องยุบคณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน เพราะสงสัยมีผลประโยชน์ทับซ้อน ว่า หลายวันที่ผ่านมาข้อมูลต่างๆ เป็นข้อเท็จจริงที่เครือข่ายฯประสบมา แต่การจะพิจารณาอะไรนั้น ขอให้อยู่ที่นายกฯพิจารณาเห็นสมควร เพราะเกี่ยวข้องหลายฝ่าย แต่จริงๆ หากยุบกรรมการแพทยสภาชุดนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ เพราะที่ผ่านมาชัดเจนว่าบอร์ดชุดนี้ไม่เคยทำเพื่อประชาชนเลย ส่วนข้อเสนอตั้งคณะกรรมการกลางควบคุมราคายานั้น อยากให้ใช้โมเดลของนายกฯที่ต้องการคนกลางจริงๆ ซึ่งเครือข่ายฯ เห็นว่า คนกลางต้องไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้ง อย. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) หรือแพทยสภา รวมทั้งเครือข่ายฯ แต่ต้องเป็นคนนอกที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานด้านนี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่