ทารกคลอดก่อนกำหนดเสี่ยง “โรคอาร์โอพี” ชี้รุนแรงอาจถึงขั้นตาบอด เหตุออกซิเจนในตู้อบทำเส้นเลือดในตาเจริญผิดปกติ ห่วงระบบคัดกรองยังน้อย เล็งตั้งศูนย์จอตาทุกเขตสุขภาพ ประสานหมอเด็กส่งทารกคลอดก่อนกำหนดหลังคลอดแล้ว 6 สัปดาห์ ส่งหมอตาคัดกรอง ชี้ ฉีดยา - เลเซอร์ รักษาได้
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจภาวะตาบอดในเด็กไทย พบว่า อยู่ที่ประมาณ 0.1% สาเหตุเกิดจากโรคจอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ โรคอาร์โอพี (Retinopathy of Prematurity :ROP) ประมาณ 66% ส่วนที่เหลือเกิดจากโรคตาขี้เกียจ ทั้งนี้ พบว่าทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีน้ำหนักตัวน้อยจะได้รับการดูแลอยู่ภายในตู้อบ เพื่อให้การเจริญเติบโตของเด็กเป็นไปด้วยดี แต่ที่ผ่านมาพบว่า บางส่วนเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะตาบอด เนื่องจากการรับออกซิเจนในตู้อบส่งผลกระทบต่อเส้นเลือดที่ดวงตาของทารกคลอดก่อนกำหนด ทำให้เส้นเลือดเจริญเติบโตผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อจอตา เรียกว่า โรคอาร์โอพี ซึ่งบางรายที่รุนแรงมากอาจจะไปดึงจอตาให้หลุดและเกิดภาวะตาบอดได้
นพ.ไพศาล กล่าวว่า โรคอาร์โอพีสามารถตรวจคัดกรองได้ก่อนที่จะเกิดภาวะตาบอดในเด็ก โดยกุมารแพทย์ที่ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เมื่อนำเด็กเข้าตู้อบแล้ว จนครบเวลาหลังคลอด 6 สัปดาห์ ต้องส่งเด็กทารกมาให้จักษุแพทย์ตรวจโรคอาร์โอพี ซึ่งจักษุแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าทารกคลอดก่อนกำหนดรายนั้น มีลักษณะของเส้นเลือดในตาที่เข้าข่ายโรคอาร์โอพีหรือไม่ และเป็นรุนแรงในระดับใด หากเป็นโรคอาร์โอพีก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา หรือใช้เลเซอร์ เพื่อให้เส้นเลือดที่ผิดปกติในดวงตาฝ่อออกไป ก่อนที่จะเกิดภาวะตาบอด แต่หากทารกคลอดก่อนกำหนดไม่เข้าข่ายโรคอาร์โอพี ก็จะมีการตรวจติดตามรายสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
“ปัญหาคือเด็กคลอดก่อนกำหนดมีจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการคัดกรองโรคอาร์โอพี จึงมีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์จอตาให้ครบทุกเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยศูนย์จอตาจะมีความสามารถในการรักษาโรคอาร์โอพีได้ ทั้งนี้ จะขอความร่วมมือให้กุมารแพทย์ส่งเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดมายังจักษุแพทย์ให้คัดกรองโรคนี้ หากพบว่าเด็กเป็นโรคอาร์โอพีก็จะได้ส่งมารักษาที่ศูนย์จอตาได้”
นพ.ไพศาล กล่าวและว่า สำหรับโรคตาขี้เกียจเกิดจากความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ และแปลผลภาพ หรือเกิดจากการบดบังภาพที่เข้าสู่จอประสาทตา ทำให้ตาเจริญได้ไม่เต็มที่ ซึ่งพัฒนาการมองเห็นจะสมบูรณ์เมื่อตอนอายุ 6 ขวบ หากพ้นอายุดังกล่าวไปแล้วตาเจริญไม่เต็มที่ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตาขี้เกียจได้ และส่งผลต่อการมองเห็นของเด็กอย่างถาวร ปัญหาคือเมื่อเด็กมีปัญหาทางสายตามักไม่ได้บอก จึงไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้น ก่อนเข้าเรียนช่วงอายุ 6 ขวบ จึงควรพบจักษุแพทย์สักครั้งหนึ่ง หากมีความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงที
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจภาวะตาบอดในเด็กไทย พบว่า อยู่ที่ประมาณ 0.1% สาเหตุเกิดจากโรคจอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ โรคอาร์โอพี (Retinopathy of Prematurity :ROP) ประมาณ 66% ส่วนที่เหลือเกิดจากโรคตาขี้เกียจ ทั้งนี้ พบว่าทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีน้ำหนักตัวน้อยจะได้รับการดูแลอยู่ภายในตู้อบ เพื่อให้การเจริญเติบโตของเด็กเป็นไปด้วยดี แต่ที่ผ่านมาพบว่า บางส่วนเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะตาบอด เนื่องจากการรับออกซิเจนในตู้อบส่งผลกระทบต่อเส้นเลือดที่ดวงตาของทารกคลอดก่อนกำหนด ทำให้เส้นเลือดเจริญเติบโตผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อจอตา เรียกว่า โรคอาร์โอพี ซึ่งบางรายที่รุนแรงมากอาจจะไปดึงจอตาให้หลุดและเกิดภาวะตาบอดได้
นพ.ไพศาล กล่าวว่า โรคอาร์โอพีสามารถตรวจคัดกรองได้ก่อนที่จะเกิดภาวะตาบอดในเด็ก โดยกุมารแพทย์ที่ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เมื่อนำเด็กเข้าตู้อบแล้ว จนครบเวลาหลังคลอด 6 สัปดาห์ ต้องส่งเด็กทารกมาให้จักษุแพทย์ตรวจโรคอาร์โอพี ซึ่งจักษุแพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าทารกคลอดก่อนกำหนดรายนั้น มีลักษณะของเส้นเลือดในตาที่เข้าข่ายโรคอาร์โอพีหรือไม่ และเป็นรุนแรงในระดับใด หากเป็นโรคอาร์โอพีก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา หรือใช้เลเซอร์ เพื่อให้เส้นเลือดที่ผิดปกติในดวงตาฝ่อออกไป ก่อนที่จะเกิดภาวะตาบอด แต่หากทารกคลอดก่อนกำหนดไม่เข้าข่ายโรคอาร์โอพี ก็จะมีการตรวจติดตามรายสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
“ปัญหาคือเด็กคลอดก่อนกำหนดมีจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการคัดกรองโรคอาร์โอพี จึงมีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์จอตาให้ครบทุกเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยศูนย์จอตาจะมีความสามารถในการรักษาโรคอาร์โอพีได้ ทั้งนี้ จะขอความร่วมมือให้กุมารแพทย์ส่งเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดมายังจักษุแพทย์ให้คัดกรองโรคนี้ หากพบว่าเด็กเป็นโรคอาร์โอพีก็จะได้ส่งมารักษาที่ศูนย์จอตาได้”
นพ.ไพศาล กล่าวและว่า สำหรับโรคตาขี้เกียจเกิดจากความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ และแปลผลภาพ หรือเกิดจากการบดบังภาพที่เข้าสู่จอประสาทตา ทำให้ตาเจริญได้ไม่เต็มที่ ซึ่งพัฒนาการมองเห็นจะสมบูรณ์เมื่อตอนอายุ 6 ขวบ หากพ้นอายุดังกล่าวไปแล้วตาเจริญไม่เต็มที่ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาตาขี้เกียจได้ และส่งผลต่อการมองเห็นของเด็กอย่างถาวร ปัญหาคือเมื่อเด็กมีปัญหาทางสายตามักไม่ได้บอก จึงไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้น ก่อนเข้าเรียนช่วงอายุ 6 ขวบ จึงควรพบจักษุแพทย์สักครั้งหนึ่ง หากมีความผิดปกติจะได้รักษาอย่างทันท่วงที
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่