อย. เตือนอาหารเสริมเพิ่มความสูงไม่จริง ชี้มีความผิดฐานโฆษณา ด้านหมอกระดูกระบุความสูงกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยหลัก เสริมได้ด้วยแคลเซียม แต่ต้องสะสมตั้งแต่วัยเด็ก ระบุเสริมตอนร่างกายหยุดเติบโตไม่ได้ผล ห่วงพ่อแม่แห่ปรึกษาหมอเพิ่มความสูงลูก ใช้โกรว์ธฮอร์โมนมีผลข้างเคียง
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีอาหารเสริมโฆษณาเพิ่มความสูง ว่า อย. ไม่เคยอนุญาตให้มีการโฆษณาอาหารเสริมใดๆ ว่า สามารถทำให้โครงสร้างร่างกายมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือ ทำให้สามารถรักษาโรคได้ อาหารเสริมคืออาหารชนิดหนึ่งที่มีสารอาหารเพิ่มเติมในกลุ่มที่ร่างกายต้องการเท่านั้น โดย อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์ใดๆ โฆษณาว่าเพิ่มความสูงได้ เบื้องต้นจึงถือว่าผิดในเรื่องการโฆษณา ส่วนจะผิดฐานโฆษณาเกินจริงหรือไม่ จะมีการตรวจสอบและเรียกผู้ประกอบการชี้แจงต่อไป
รศ.นพ.วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล รองหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความสูงมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ และอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียมที่ถือเป็นอาหารหลักของกระดูก แต่เมื่อเทียบกับกรรมพันธุ์จะส่งผลต่อความสูงได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้กรรมพันธุ์จะมีส่วนสำคัญ แต่กระดูกก็เหมือนธนาคาร การสะสมแคลเซียมจำเป็นต้องทำตั้งแต่วัยเด็ก หากสะสมมากๆ และออกกำลังกาย รวมทั้งนอนหลับอย่างเพียงพอ ก็สามารถช่วยเพิ่มความสูงได้ ซึ่งต้องทำตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งนี้ โดยทั่วไปผู้หญิงความสูงจะเริ่มชะลอการเพิ่มขึ้นตอนอายุ 14 ปี ส่วนผู้ชาย 16 ปี หรือบวกลบ 1 - 2 ปี แต่เกือบทั้งหมดจะเริ่มหยุดสร้างการเจริญเติบโตที่ช่วงอายุดังกล่าว โดยส่วนสูงจะมาจากสองส่วน คือ ลำตัวท่อนบนจะเริ่มสร้างถึงอายุ 10 ปี ส่วนท่อนขาจะเริ่มยืดอย่างรวดเร็วที่อายุ 7 - 14 ปี เมื่อพ้นช่วงอายุดังกล่าวไปแล้วความสูงก็แทบจะไม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการกินอาหารเสริมในผู้ใหญ่จึงไม่มีทางเป็นไปได้
“ปัจจุบันพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากต้องการให้ลูกสูงมากๆ จึงพามาปรึกษาแพทย์ ซึ่งตามปกติแล้วทางการแพทย์จะให้การรักษาในรายที่มีอาการผิดปกติ โดยความสูงจะมีผลมาจากโกรว์ธฮอร์โมนที่มาจากสมอง รายที่มีปัญหาจะสามารถรักษาได้ด้วยการฉีดโกรว์ธฮอร์โมน แต่การให้การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและตระหนักถึงผลข้างเคียง เพราะผลข้างเคียงของการรักษาวิธีดังกล่าวจะไปกระตุ้นทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ เนื้องอก จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และต้องทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างระมัดระวัง” รศ.นพ.วิชาญ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีอาหารเสริมโฆษณาเพิ่มความสูง ว่า อย. ไม่เคยอนุญาตให้มีการโฆษณาอาหารเสริมใดๆ ว่า สามารถทำให้โครงสร้างร่างกายมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปได้ หรือ ทำให้สามารถรักษาโรคได้ อาหารเสริมคืออาหารชนิดหนึ่งที่มีสารอาหารเพิ่มเติมในกลุ่มที่ร่างกายต้องการเท่านั้น โดย อย. ไม่เคยอนุญาตให้ผลิตภัณฑ์ใดๆ โฆษณาว่าเพิ่มความสูงได้ เบื้องต้นจึงถือว่าผิดในเรื่องการโฆษณา ส่วนจะผิดฐานโฆษณาเกินจริงหรือไม่ จะมีการตรวจสอบและเรียกผู้ประกอบการชี้แจงต่อไป
รศ.นพ.วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล รองหัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความสูงมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ และอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียมที่ถือเป็นอาหารหลักของกระดูก แต่เมื่อเทียบกับกรรมพันธุ์จะส่งผลต่อความสูงได้มากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้กรรมพันธุ์จะมีส่วนสำคัญ แต่กระดูกก็เหมือนธนาคาร การสะสมแคลเซียมจำเป็นต้องทำตั้งแต่วัยเด็ก หากสะสมมากๆ และออกกำลังกาย รวมทั้งนอนหลับอย่างเพียงพอ ก็สามารถช่วยเพิ่มความสูงได้ ซึ่งต้องทำตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งนี้ โดยทั่วไปผู้หญิงความสูงจะเริ่มชะลอการเพิ่มขึ้นตอนอายุ 14 ปี ส่วนผู้ชาย 16 ปี หรือบวกลบ 1 - 2 ปี แต่เกือบทั้งหมดจะเริ่มหยุดสร้างการเจริญเติบโตที่ช่วงอายุดังกล่าว โดยส่วนสูงจะมาจากสองส่วน คือ ลำตัวท่อนบนจะเริ่มสร้างถึงอายุ 10 ปี ส่วนท่อนขาจะเริ่มยืดอย่างรวดเร็วที่อายุ 7 - 14 ปี เมื่อพ้นช่วงอายุดังกล่าวไปแล้วความสูงก็แทบจะไม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการกินอาหารเสริมในผู้ใหญ่จึงไม่มีทางเป็นไปได้
“ปัจจุบันพบว่าผู้ปกครองจำนวนมากต้องการให้ลูกสูงมากๆ จึงพามาปรึกษาแพทย์ ซึ่งตามปกติแล้วทางการแพทย์จะให้การรักษาในรายที่มีอาการผิดปกติ โดยความสูงจะมีผลมาจากโกรว์ธฮอร์โมนที่มาจากสมอง รายที่มีปัญหาจะสามารถรักษาได้ด้วยการฉีดโกรว์ธฮอร์โมน แต่การให้การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและตระหนักถึงผลข้างเคียง เพราะผลข้างเคียงของการรักษาวิธีดังกล่าวจะไปกระตุ้นทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะต่อมไทรอยด์ เนื้องอก จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และต้องทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างระมัดระวัง” รศ.นพ.วิชาญ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่