กรมอนามัยเผยกิจการในครัวเรือน - อุตสาหกรรมขนาดเล็กในชุมชน ส่วนใหญ่สร้างอันตรายต่อสุขภาพ เหตุไร้ระบบจัดการ ก่อมลพิษ ระบุ กทม. ถูกร้องกลิ่นเหม็น - ฝุ่นละออง - เสียงดัง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการขยายตัวของเมืองที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการมีการเติบโต รวมไปถึงสถานประกอบกิจการในครัวเรือน อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่แทรกตัวอยู่ในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการประกอบกิจการที่เข้าข่ายเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และบ่อยครั้งที่พบว่าไม่มีระบบการจัดการที่ดี และไม่ดำเนินการตามกฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดมลพิษ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่พักอาศัยบริเวณใกล้เคียง พื้นที่ที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ในเรื่องกลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง/เขม่าควัน และเสียง คิดเป็น ร้อยละ 85 รองลงมา คือ กากของเสียและสารอันตราย ร้อยละ 10 และปัญหาน้ำเสีย ร้อยละ 5
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข แผนบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปีงบประมาณ 2558 กำหนดมาตรการดำเนินการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย ด้วยการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบังคับ และมีกระบวนการจัดบริการได้มาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งมีตัวชี้วัด อาทิ ร้อยละ 50 ของเทศบาลทุกระดับมีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน และร้อยละ 50 ของเทศบาลทุกระดับมีระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐาน รวมถึง จังหวัดมีระบบฐานข้อมูล สถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพระบบเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นต้น
อนึ่ง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5 / 2538 เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้กิจการที่เป็นอันตรายตอสุขภาพ ได้แก่ 1. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว 2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ 3. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม 4. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ อุปกรณการแพทย เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑชำระลาง 5. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร 6. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร 7. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนตเครื่องจักรหรือเครองกล ื่ 8. กิจการที่เกี่ยวกับไม 9. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ 10. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ 11. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนตหรือวัตถุที่คลายคลึง 12. กิจการที่เกี่ยวกับปโตรเลี่ยม ถานหิน สารเคมี 13. กิจการอื่นๆ อาทิ การพิมพหนังสือหรือสิ่งพิมพที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร, การผลิต การซอมเครื่องอิเล็กทรอนิกสเครื่องไฟฟ้า อุปกรณอิเล็กทรอนิกสอุปกรณไฟฟา ,การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คลายคลึง, การพิมพแบบ พิมพเขียว หรือการถายเอกสาร, การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใชแล้วหรือเหลือใช และการประกอบกิจการโกดังสินค้า เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่