อย.แนะวิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไล่ยุง สกัดไข้เลือดออกช่วงหน้าฝน เตือนไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ย้ำผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทแป้งหรือโลชั่น ไม่ควรใช้แทนแป้งหรือโลชั่นปกติ และไม่ควรใช้บ่อย
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสุง โดยมียุงลายเป็นพาหะ วิธีป้องกันคือระวังไม่ให้ถูกยุงกัด เบื้องต้นที่ประชาชนนิยมทำคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ทั้งรูปแบบการทาหรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยออกฤทธิ์ไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง จึงสามารถใช้ไล่ยุงได้ แต่ไม่สามารถฆ่ายุง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการไล่ยุงจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือสาธารณสุข โดยสารออกฤทธิ์ไล่ยุงที่พบบ่อย ได้แก่ ดีอีอีที (DEET), เอทิล บิวทิลอะซีทิล อะมิโนโพรไพโอเนต (Elthyl butylacetyl aminopropionate), อิคาริดิน (Icaridin) และน้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งมีวิธีการเลือกซื้อที่แตกต่างกันตามชนิดของสารออกฤทธิ์
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีสาร DEET, Icaridin และ Elthyl butylacetyl aminopropionate ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. ดังนั้น ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากมีการแสดงเลขทะเบียน อย. วอส.ในกรอบเครื่องหมาย อย. และแสดงระยะเวลาในการป้องกันยุง ส่วนผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีน้ำมันตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนแต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อ อย. จึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพควรมีฤทธิ์ ในการไล่ยุงลายบ้านได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
"การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ยุงกัด แต่ผู้ใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง ควรปิดฝาให้สนิทและอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือความร้อน ห้ามรับประทาน ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงส่วนใหญ่ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี (แต่อาจต่ำกว่า 4 ปีได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์) สำหรับผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรใช้เฉพาะที่เมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ ก่อนใช้ ควรทดสอบการแพ้โดยการทาหรือพ่นที่บริเวณข้อพับแขน หากไม่เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองจึงใช้บริเวณอื่นได้ อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณแผลและล้างมือทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์" รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และโฆษก อย. กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสุง โดยมียุงลายเป็นพาหะ วิธีป้องกันคือระวังไม่ให้ถูกยุงกัด เบื้องต้นที่ประชาชนนิยมทำคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ทั้งรูปแบบการทาหรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยออกฤทธิ์ไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง จึงสามารถใช้ไล่ยุงได้ แต่ไม่สามารถฆ่ายุง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการไล่ยุงจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือสาธารณสุข โดยสารออกฤทธิ์ไล่ยุงที่พบบ่อย ได้แก่ ดีอีอีที (DEET), เอทิล บิวทิลอะซีทิล อะมิโนโพรไพโอเนต (Elthyl butylacetyl aminopropionate), อิคาริดิน (Icaridin) และน้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งมีวิธีการเลือกซื้อที่แตกต่างกันตามชนิดของสารออกฤทธิ์
ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีสาร DEET, Icaridin และ Elthyl butylacetyl aminopropionate ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. ดังนั้น ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากมีการแสดงเลขทะเบียน อย. วอส.ในกรอบเครื่องหมาย อย. และแสดงระยะเวลาในการป้องกันยุง ส่วนผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีน้ำมันตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนแต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อ อย. จึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพควรมีฤทธิ์ ในการไล่ยุงลายบ้านได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
"การใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ยุงกัด แต่ผู้ใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง ควรปิดฝาให้สนิทและอย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือความร้อน ห้ามรับประทาน ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงส่วนใหญ่ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี (แต่อาจต่ำกว่า 4 ปีได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์) สำหรับผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรใช้เฉพาะที่เมื่อจำเป็นเท่านั้น อย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ ก่อนใช้ ควรทดสอบการแพ้โดยการทาหรือพ่นที่บริเวณข้อพับแขน หากไม่เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองจึงใช้บริเวณอื่นได้ อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณแผลและล้างมือทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์" รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่