กรมอนามัยเตรียมทำ “สมุดสุขภาพ” ผู้สูงอายุ คล้ายสมุดฝากครรภ์ ใช้บันทึกการตรวจคัดกรองทั้งจากตนเอง ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ แลพการรักษาพยาบาล รองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยนั้น กรมฯมีแผนรองรับหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นคือการเตรียมจัดทำสมุดบันทึกผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายสมุดเล่มสีชมพูสำหรับหญิงฝากครรภ์ โดยจะแจกสมุดให้กับผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พกติดตัวทุกครั้งที่ไปรับบริการในสถานพยาบาลทุกแห่ง โดยสมุดบันทึกดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1. บันทึกการประเมินด้วยตนเองหรือครอบครัว โดยจะมีการประเมินด้านต่างๆ เช่น การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะ การประเมินปัญหาการนอน การตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การประเมินอาการเตือนของโรคมะเร็ง เป็นต้น
นพ.พรเทพ กล่าวว่า 2. บันทึกการประเมินโดยอาสาสมัคร หรือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การบันทึกคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประเมินภาวะหกล้ม การประเมินข้อเข่าเสื่อม การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง การคัดกรองสุขภาวะทางตา และ การประเมินมาตรฐานสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ และ 3. บันทึกการตรวจรักษาพยาบาล ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจร่างกายและรักษาพยาบาล การได้รับวัคซีนป้องกันโรค และการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัคร เป็นต้น
“ในสมุดดังกล่าวยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุอีกหลายอย่าง เช่น การให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และแหล่งข้อมูลสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุเป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรมฯคาดหวังว่าสมุดบันทึกนี้จะช่วยคัดกรอกสุขภาพผู้สูงอายุในเบื้องต้นได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยนั้น กรมฯมีแผนรองรับหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นคือการเตรียมจัดทำสมุดบันทึกผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายสมุดเล่มสีชมพูสำหรับหญิงฝากครรภ์ โดยจะแจกสมุดให้กับผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พกติดตัวทุกครั้งที่ไปรับบริการในสถานพยาบาลทุกแห่ง โดยสมุดบันทึกดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ 1. บันทึกการประเมินด้วยตนเองหรือครอบครัว โดยจะมีการประเมินด้านต่างๆ เช่น การประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะ การประเมินปัญหาการนอน การตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง การประเมินอาการเตือนของโรคมะเร็ง เป็นต้น
นพ.พรเทพ กล่าวว่า 2. บันทึกการประเมินโดยอาสาสมัคร หรือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การบันทึกคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประเมินภาวะหกล้ม การประเมินข้อเข่าเสื่อม การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง การคัดกรองสุขภาวะทางตา และ การประเมินมาตรฐานสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุ และ 3. บันทึกการตรวจรักษาพยาบาล ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจร่างกายและรักษาพยาบาล การได้รับวัคซีนป้องกันโรค และการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาสาสมัคร เป็นต้น
“ในสมุดดังกล่าวยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุอีกหลายอย่าง เช่น การให้คำแนะนำเรื่องการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และแหล่งข้อมูลสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุเป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรมฯคาดหวังว่าสมุดบันทึกนี้จะช่วยคัดกรอกสุขภาพผู้สูงอายุในเบื้องต้นได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่