ไทยตั้งเป้า ปี 2560 ลดท้องในวัยรุ่น เหลือไม่เกิน 50 คนต่อ 1,000 คน ในแต่ละปี เดินหน้า 3 ยุทธศาสตร์ สอนเพศศึกษาที่ถูกต้องในโรงเรียน ปรับทัศนคติให้ถูกต้อง มีคลินิกวัยรุ่นทุก รพ. ให้คำปรึกษาแบบเป็นมิตร ช่วยเข้าถึงบริการ ย้ายเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ไปบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ พม.
วันนี้ (12 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัลออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณืภายหลังประชุมใหญ่สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ว่า จากการที่ สธ. ทำงานใกล้ชิดสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ไทยประสบความสำเร็จการวางแผนครอบครัว อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลง ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ แต่ปัญหาหลักคือกำลังเผชิญกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ในปี 2555 ไทยมีวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี คลอดบุตรจำนวน 129,451 คน จึงได้เร่งดำเนินงานแก้ไขปัญหา โดยบูรณาการการทำงานร่วมทั้งภายในและนอกกระทรวง ตั้งเป้าภายในปี 2560 จะลดอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 53.8
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหามี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ในสถานศึกษาเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนเพศศึกษาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร และให้ความรู้การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พัฒนาแกนนำวัยรุ่นให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง 2. ในสถานบริการสาธารณสุขมีการจัดตั้ง “คลินิกวัยรุ่น” ในโรงพยาบาล โดยจัดบริการที่เป็นมิตร และให้เยาวชนเข้าถึงบริการถุงยางอนามัย การใส่ห่วงอนามัยและยาฝังคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น เน้นให้คำปรึกษาแบบมีทางเลือก ปัจจุบันมีคลินิกผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 429 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51 ของโรงพยาบาลสังกัด สธ. โดยในปี 2560 จะดำเนินการให้ครบทุกแห่ง และ 3. รณรงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ตระหนักถึงปัญหานี้ และสร้างกระแสสังคมผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันปัญหา ครอบครัวมีความรู้ และสามารถสื่อสารเรื่องเพศกับสมาชิกในครอบครัวได้
“นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. ... ซึ่งเสนอ ครม. เมื่อปี 2550 และได้อนุมัติหลักการแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอาจช้าไม่ทันต่อการแก้ปัญหา คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ จึงมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2558 ให้นำเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้บรรจุในยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ. 2558 ที่ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติเป็นไปตามแผนได้” รมช.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัลออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณืภายหลังประชุมใหญ่สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ ว่า จากการที่ สธ. ทำงานใกล้ชิดสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ไทยประสบความสำเร็จการวางแผนครอบครัว อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลง ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ แต่ปัญหาหลักคือกำลังเผชิญกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ในปี 2555 ไทยมีวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี คลอดบุตรจำนวน 129,451 คน จึงได้เร่งดำเนินงานแก้ไขปัญหา โดยบูรณาการการทำงานร่วมทั้งภายในและนอกกระทรวง ตั้งเป้าภายในปี 2560 จะลดอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 53.8
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหามี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ในสถานศึกษาเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนเพศศึกษาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร และให้ความรู้การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง พัฒนาแกนนำวัยรุ่นให้มีทัศนคติที่ถูกต้อง 2. ในสถานบริการสาธารณสุขมีการจัดตั้ง “คลินิกวัยรุ่น” ในโรงพยาบาล โดยจัดบริการที่เป็นมิตร และให้เยาวชนเข้าถึงบริการถุงยางอนามัย การใส่ห่วงอนามัยและยาฝังคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น เน้นให้คำปรึกษาแบบมีทางเลือก ปัจจุบันมีคลินิกผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 429 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51 ของโรงพยาบาลสังกัด สธ. โดยในปี 2560 จะดำเนินการให้ครบทุกแห่ง และ 3. รณรงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ตระหนักถึงปัญหานี้ และสร้างกระแสสังคมผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันปัญหา ครอบครัวมีความรู้ และสามารถสื่อสารเรื่องเพศกับสมาชิกในครอบครัวได้
“นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. ... ซึ่งเสนอ ครม. เมื่อปี 2550 และได้อนุมัติหลักการแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งอาจช้าไม่ทันต่อการแก้ปัญหา คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ จึงมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2558 ให้นำเนื้อหารายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้บรรจุในยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบบูรณาการ พ.ศ. 2558 ที่ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะสามารถปฏิบัติเป็นไปตามแผนได้” รมช.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่