กรมอนามัยเผย 10 โรคเสี่ยงรุมเร้าวัยทำงาน ทั้งโรคอ้วนพ่วงโรคเรื้อรัง มะเร็ง เครียด เอดส์ แนะดูแลสุขภาพตัวเอง กินอาหารถูกต้อง เลี่ยงหวานมันเค็ม เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ชี้สุขภาพดี ทำงานดี สถานประกอบการดี เศรษฐกิจดี
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงาน 44.8 ล้านคน หรือร้อยละ 67.9 ถือเป็นกำลังสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ แต่จากการที่ประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น การดูแลให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อมีสุขภาพดี มีความสุขกายสบายใจ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อันจะส่งผลดีต่อสถานประกอบการและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ประชากรวัยทำงานมีความเสี่ยงทางสุขภาพ 10 โรค ได้แก่ 1.โรคอ้วน จากการขาดการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป 2.โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากโรคอ้วน 3.โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์ พบมากโดยเฉพาะในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า 4.โรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ นำไปสู่การเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 5.โรคเครียด วัยทำงานเป็นวัยที่เสียงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากเรื่องเงินและเรื่องงาน 6.โรคเอดส์ จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และการใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด 7.ภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอเกิน 1 ปี แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ 8.การทำแท้ง ร้อยละ 71.1 มีสาเหตุมาจากการไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ และร้อยละ 56.5 ไม่ได้คุมกำเนิด 9.ความเสี่ยงจากงานและโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น อุบัติเหตุขณะทำงาน โรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน และโรคพิษจากสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู โรคประสาทหูเสื่อม และ 10.อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกำหนด
"วัยทำงานดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการกินอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะหากไม่กินร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล ทำให้ความคิดตื้อตัน สมองไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย และเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและรอบพุงวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวในที่ทำงาน เช่น บริหารร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประมาณ 5 นาที 2 ครั้งต่อวัน เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ขี่จักรยานหรือเดินไปทำงาน เป็นต้น รู้จักจัดการความเครียดโดยการทำงานอดิเรก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงาน 44.8 ล้านคน หรือร้อยละ 67.9 ถือเป็นกำลังสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ แต่จากการที่ประชากรวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น การดูแลให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อมีสุขภาพดี มีความสุขกายสบายใจ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อันจะส่งผลดีต่อสถานประกอบการและเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ประชากรวัยทำงานมีความเสี่ยงทางสุขภาพ 10 โรค ได้แก่ 1.โรคอ้วน จากการขาดการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป 2.โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากโรคอ้วน 3.โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์ พบมากโดยเฉพาะในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า 4.โรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ นำไปสู่การเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 5.โรคเครียด วัยทำงานเป็นวัยที่เสียงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากเรื่องเงินและเรื่องงาน 6.โรคเอดส์ จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และการใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด 7.ภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอเกิน 1 ปี แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ 8.การทำแท้ง ร้อยละ 71.1 มีสาเหตุมาจากการไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ และร้อยละ 56.5 ไม่ได้คุมกำเนิด 9.ความเสี่ยงจากงานและโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น อุบัติเหตุขณะทำงาน โรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน และโรคพิษจากสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู โรคประสาทหูเสื่อม และ 10.อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกำหนด
"วัยทำงานดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการกินอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะมื้อเช้า เพราะหากไม่กินร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล ทำให้ความคิดตื้อตัน สมองไม่ปลอดโปร่ง วิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย และเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและรอบพุงวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวในที่ทำงาน เช่น บริหารร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประมาณ 5 นาที 2 ครั้งต่อวัน เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ขี่จักรยานหรือเดินไปทำงาน เป็นต้น รู้จักจัดการความเครียดโดยการทำงานอดิเรก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่