ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
บทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เรื่อง "Breakdown ค่าใช้จ่ายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะ Broke หรือไม่ ?" ที่เผยแพร่ใน Manager Online เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มีเนื้อหาที่สรุปได้ว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพียงร้อยละ 40 ของงบประมาณทั้งหมดที่ สปสช.ได้รับ ส่วนที่เหลือร้อยละ 35-40 สปสช.นำเงินไปบริหารเอง ทำให้เข้าใจได้ว่า การที่โรงพยาบาลประสบกับภาวะการขาดทุน เกิดขึ้นการการที่ สปสช.จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสุขน้อยเกินไป ในตอนท้าย ดร.อานนท์ยังได้ทิ้งคำถามไว้ว่า เงินที่ สปสช.นำไปบริหารเองปีละประมาณเกือบ 50,000 ล้านบาท สปสช.นำไปใช้อะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงว่า ข้อมูลข้างต้นนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง สปสช.จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวให้ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณร้อยละ 70 ไม่ใช่ร้อยละ 40 ส่วนคำถามที่ว่าเงินที่หายไปนั้น สปสช.นำไปใช้อะไรนั้น ตอบว่า เงินส่วนที่หายไปเป็นงบประมาณส่วนของค่าแรงบุคลากรที่สำนักงบประมาณหักไว้ เพราะอย่างที่รู้กันว่า งบเหมาจ่ายรายหัวนั้นได้รวมค่าแรงหรือเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์ไว้ด้วย และไม่ได้หายไปเกือบ 50,000 ล้านบาท แต่ประมาณ 38,000 ล้านบาท
เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจในเรื่องนี้ ผมขออ้างอิงตารางการจัดสรรงบประมาณของ สปสช. ปี 2558 ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพได้มีมติให้แบ่งงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่รัฐบาลจัดสรรให้ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพต่อปี จำนวน 2,895.09 ออกเป็น 9 รายการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดสรร ดังนี้
งบแต่ละรายการ จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น บริการผู้ป่วยนอก ใช้เพื่อจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลประชาชนที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก โดยจัดสรรให้กับ รพ.ในลักษณะเหมาจ่ายรายประชากรที่ลงทะเบียนไว้ หรือ บริการกรณีเฉพาะ เป็นงบประมาณที่กันไว้เพื่อจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ โดยจัดสรรให้แก่ รพ.ตามผลงานการให้บริการจริง เป็นต้น ถึงแม้ว่า รพ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะมีจำนวนมากที่สุดและมีสัดส่วนการให้บริการมากที่สุด แต่ยังมี รพ.สังกัดอื่นในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ข้อมูลปี 57 พบว่ามีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ รพ.สังกัดต่างๆ ดังตารางข้างล่างนี้
จะเห็นว่าวงเงินที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมดในปี 57 มีน้อยกว่าตัวเลขเหมาจ่ายรายหัวที่รัฐจัดสรรให้ คูณกับจำนวนประชากร 48 ล้านคน ทั้งนี้เนื่องจากสำนักงบประมาณได้รวมค่าแรงบุคลากรภาครัฐส่วนหนึ่งราว 38,000 ล้านบาทไว้ด้วย ดังนั้นเมื่อ สปสช.จัดสรรเงินให้แก่โรงพยาบาล ก็ต้องหักค่าแรงดังกล่าวออกตามสัดส่วนเนื่องจากถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน และจะเห็นว่า รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรถึงร้อยละ 72 ไม่ใช่ร้อยละ 40 ตามที่มีการกล่าวอ้าง จึงตอบคำถามที่ว่า เงินดังกล่าว สปสช. นำไปใช้อะไรบ้าง ปีละประมาณเกือบห้าหมื่นล้านบาท
ส่วนงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่ได้จัดสรรให้ รพ.ราวร้อยละ 2.8 สปสช.ใช้ไปในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยนำงงบประมาณไปร่วมหุ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจาก มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 45 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า บริการสาธารณสุข หมายรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หากจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพได้ดีจะลดปัญหาสุขภาพของประชาชนลงได้ และในระยะยาวจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่บานปลาย เพียงแต่ต้องใช้เวลาและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
สปสช.ตระหนักดีว่า งบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพมาจากเงินภาษีอากรของประชาชน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้ออกแบบให้มีการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้หลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณบทความของ ดร.อานนท์ ที่สะท้อนความห่วงใยในมุมมองนักวิชาการที่เป็นตัวแทนคนชั้นกลางของสังคม ซึ่งหากมีคนชั้นกลางของสังคมหันมาสนใจระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น ก็จะทำเกิดการถกแถลงและแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้ระบบมีความมั่นคง และยั่งยืนในระยะยาวได้ในที่สุด
ขอบคุณครับ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
บทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เรื่อง "Breakdown ค่าใช้จ่ายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะ Broke หรือไม่ ?" ที่เผยแพร่ใน Manager Online เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 มีเนื้อหาที่สรุปได้ว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพียงร้อยละ 40 ของงบประมาณทั้งหมดที่ สปสช.ได้รับ ส่วนที่เหลือร้อยละ 35-40 สปสช.นำเงินไปบริหารเอง ทำให้เข้าใจได้ว่า การที่โรงพยาบาลประสบกับภาวะการขาดทุน เกิดขึ้นการการที่ สปสช.จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสุขน้อยเกินไป ในตอนท้าย ดร.อานนท์ยังได้ทิ้งคำถามไว้ว่า เงินที่ สปสช.นำไปบริหารเองปีละประมาณเกือบ 50,000 ล้านบาท สปสช.นำไปใช้อะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงว่า ข้อมูลข้างต้นนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง สปสช.จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวให้ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณร้อยละ 70 ไม่ใช่ร้อยละ 40 ส่วนคำถามที่ว่าเงินที่หายไปนั้น สปสช.นำไปใช้อะไรนั้น ตอบว่า เงินส่วนที่หายไปเป็นงบประมาณส่วนของค่าแรงบุคลากรที่สำนักงบประมาณหักไว้ เพราะอย่างที่รู้กันว่า งบเหมาจ่ายรายหัวนั้นได้รวมค่าแรงหรือเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์ไว้ด้วย และไม่ได้หายไปเกือบ 50,000 ล้านบาท แต่ประมาณ 38,000 ล้านบาท
เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจในเรื่องนี้ ผมขออ้างอิงตารางการจัดสรรงบประมาณของ สปสช. ปี 2558 ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพได้มีมติให้แบ่งงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่รัฐบาลจัดสรรให้ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพต่อปี จำนวน 2,895.09 ออกเป็น 9 รายการเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดสรร ดังนี้
งบแต่ละรายการ จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น บริการผู้ป่วยนอก ใช้เพื่อจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลประชาชนที่มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก โดยจัดสรรให้กับ รพ.ในลักษณะเหมาจ่ายรายประชากรที่ลงทะเบียนไว้ หรือ บริการกรณีเฉพาะ เป็นงบประมาณที่กันไว้เพื่อจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ โดยจัดสรรให้แก่ รพ.ตามผลงานการให้บริการจริง เป็นต้น ถึงแม้ว่า รพ.ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะมีจำนวนมากที่สุดและมีสัดส่วนการให้บริการมากที่สุด แต่ยังมี รพ.สังกัดอื่นในระบบหลักประกันสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ข้อมูลปี 57 พบว่ามีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ รพ.สังกัดต่างๆ ดังตารางข้างล่างนี้
จะเห็นว่าวงเงินที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมดในปี 57 มีน้อยกว่าตัวเลขเหมาจ่ายรายหัวที่รัฐจัดสรรให้ คูณกับจำนวนประชากร 48 ล้านคน ทั้งนี้เนื่องจากสำนักงบประมาณได้รวมค่าแรงบุคลากรภาครัฐส่วนหนึ่งราว 38,000 ล้านบาทไว้ด้วย ดังนั้นเมื่อ สปสช.จัดสรรเงินให้แก่โรงพยาบาล ก็ต้องหักค่าแรงดังกล่าวออกตามสัดส่วนเนื่องจากถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน และจะเห็นว่า รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรถึงร้อยละ 72 ไม่ใช่ร้อยละ 40 ตามที่มีการกล่าวอ้าง จึงตอบคำถามที่ว่า เงินดังกล่าว สปสช. นำไปใช้อะไรบ้าง ปีละประมาณเกือบห้าหมื่นล้านบาท
ส่วนงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่ได้จัดสรรให้ รพ.ราวร้อยละ 2.8 สปสช.ใช้ไปในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยนำงงบประมาณไปร่วมหุ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจาก มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 45 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า บริการสาธารณสุข หมายรวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หากจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพได้ดีจะลดปัญหาสุขภาพของประชาชนลงได้ และในระยะยาวจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่บานปลาย เพียงแต่ต้องใช้เวลาและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
สปสช.ตระหนักดีว่า งบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพมาจากเงินภาษีอากรของประชาชน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้ออกแบบให้มีการใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้หลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณบทความของ ดร.อานนท์ ที่สะท้อนความห่วงใยในมุมมองนักวิชาการที่เป็นตัวแทนคนชั้นกลางของสังคม ซึ่งหากมีคนชั้นกลางของสังคมหันมาสนใจระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้น ก็จะทำเกิดการถกแถลงและแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้ระบบมีความมั่นคง และยั่งยืนในระยะยาวได้ในที่สุด
ขอบคุณครับ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่