สธ. เร่งพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ให้เหมาะสมกับโรคและโรงพยาบาล ขยายถึงระดับโรงพยาบาลชุมชน เชื่อมโยงทำงานทีมหมอครอบครัว ดูแลผู้ป่วยที่บ้านใน ก.ย. 2558 ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายจากการรักษา
วันนี้ (25 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดประชุมวิชาการการดูแลแบบประคับประคองแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ว่า ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต สธ.ได้จัดระบบให้ได้รับการดูแลจากบุคลากรการแพทย์ เชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงบ้าน ควบคู่การบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณ โดยให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษา โดยปี 2558 ได้มอบให้กรมการแพทย์ พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับกลุ่มโรคและวัย เช่น มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต และเหมาะสมกับสถานพยาบาลแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับสถาบันเชี่ยวชาญเฉพาะโรค โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน 300 แห่ง ให้ได้ร้อยละ 50 ภายใน ก.ย.2558 นอกจากนี้ ยังได้เร่งพัฒนาทีมหมอครอบครัว 30,000 ทีม เพื่อดูแลถึงที่บ้าน ลดการเข้าโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อน และค่าใช้จ่าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตมีมูลค่าสูงกว่าช่วงอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 8-11 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในปี 2558 กรมฯได้วางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่เป็นมาตรฐานของไทย จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบคุลมทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศ และจัดอบรมพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 16 แห่งทั่วประเทศ เพื่อขยายผลจัดอบรมพยาบาลแก่โรงพยาบาลในเขตสุขภาพ 12 เขต และในปี 2559 ได้วางแผนจัดอบรมประชาชนในการร่วมดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ทั้งโรงพยาบาลและที่บ้าน อาทิ อาสาสมัคร จิตอาสาดูแลผู้ป่วย อสม. และครอบครัวผู้ป่วย เพื่อทำงานเชื่อมโยงกับทีมหมอครอบครัวด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มี.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดประชุมวิชาการการดูแลแบบประคับประคองแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ว่า ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต สธ.ได้จัดระบบให้ได้รับการดูแลจากบุคลากรการแพทย์ เชื่อมโยงตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงบ้าน ควบคู่การบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกาย จิตใจ จิตวิญญาณ โดยให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมตัดสินใจในแนวทางการรักษา โดยปี 2558 ได้มอบให้กรมการแพทย์ พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับกลุ่มโรคและวัย เช่น มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต และเหมาะสมกับสถานพยาบาลแต่ละระดับ ตั้งแต่ระดับสถาบันเชี่ยวชาญเฉพาะโรค โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน 300 แห่ง ให้ได้ร้อยละ 50 ภายใน ก.ย.2558 นอกจากนี้ ยังได้เร่งพัฒนาทีมหมอครอบครัว 30,000 ทีม เพื่อดูแลถึงที่บ้าน ลดการเข้าโรงพยาบาลจากโรคแทรกซ้อน และค่าใช้จ่าย เนื่องจากค่าใช้จ่ายช่วง 6 เดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตมีมูลค่าสูงกว่าช่วงอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 8-11 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในปี 2558 กรมฯได้วางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายที่เป็นมาตรฐานของไทย จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบคุลมทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติเดียวกันทั่วประเทศ และจัดอบรมพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 16 แห่งทั่วประเทศ เพื่อขยายผลจัดอบรมพยาบาลแก่โรงพยาบาลในเขตสุขภาพ 12 เขต และในปี 2559 ได้วางแผนจัดอบรมประชาชนในการร่วมดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ทั้งโรงพยาบาลและที่บ้าน อาทิ อาสาสมัคร จิตอาสาดูแลผู้ป่วย อสม. และครอบครัวผู้ป่วย เพื่อทำงานเชื่อมโยงกับทีมหมอครอบครัวด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่