สิงห์อมควัน - นักดื่ม ระวัง ไอเรื้อรัง กลืนไม่ลง สำลักบ่อย!! สัญญาณมะเร็งกล่องเสียง พบตัวการสำคัญ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า แพทย์ เผยทางรักษาสุดท้ายต้องเจาะคอ ตัดกล่องเสียงทิ้ง ทรมานพูดไม่ได้ ชี้สังคมไทยต้องมีกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่ ทันสถานการณ์ พร้อมหนุน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ สร้างมาตรการควบคุมบุหรี่เข้มแข็งขึ้น
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่โรงแรมอลิซาเบธ สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าว “มหันตภัยบุหรี่ ทำให้พวกเราพิการตลอดชีวิต” โดย พญ.สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านระบบคุณภาพ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า บุหรี่ถือเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายโรค โดยโรคหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อย่างชัดเจน คือ โรคมะเร็งกล่องเสียง แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียง 800 กว่าราย และยังพบมะเร็งในบริเวณช่องคอส่วนล่างประมาณ 200 กว่าราย แม้ว่าอุบัติการณ์เกิดโรคจะไม่มากนัก แต่ถือว่าโรคนี้มีสาเหตุชัดเจนมาจากการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหากมีพฤติกรรมทั้งสองอย่างร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยในบุหรี่จะมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นตัวก่อมะเร็ง เมื่อควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเซลล์และเปลี่ยนแปลงจนเกิดโรคมะเร็งในที่สุด
พญ.สมจินต์ กล่าวต่อว่า อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งกล่องเสียง จะเริ่มจากเสียงแหบเรื้อรัง กลืนอาหารลำบากเหมือนมีอะไรติดคอ สำลัก มีเสมหะปนเลือด และมักมีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอบ่อยๆ ไม่หายขาด บางครั้งพบว่ามีก้อนที่คอ ทำให้หายใจขัด หายใจได้ลำบาก โดยโรคมะเร็งกล่องเสียงหากตรวจพบในระยะแรกพบว่า อัตราการรักษาหายมีสูง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นด้วย ปัจจุบันแพทย์จะพยายามให้การรักษาโดยเก็บกล่องเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด หากยังไม่เข้าสู่ระยะลุกลาม หรือมีการลามไปบริเวณกล่องเสียงมาก ก็จะไม่ตัดกล่องเสียงทิ้ง ซึ่งเมื่อตัดกล่องเสียงทิ้ง ผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดได้ และหากเป็นระยะลุกลามและอุดกั้นทางเดินหายใจ ก็จะต้องผ่าตัดก้อนเนื้อออกและเจาะคอ ต้องหายใจผ่านทางคอแทน
“โรคมะเร็งกล่องเสียงสร้างความทนมานให้ผู้ป่วยอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ อาจต้องเจาะคอ ไม่สามารถพูดได้ และเมื่อเจาะคอแล้วต้องมีการฝึกพูดด้วยการให้ลมออกมาทางช่องคอแทนกล่องเสียงที่ถูกผ่าตัดออกไป ซึ่งหากปล่อยไว้ หรือเข้าสู่ระยะลุกลาม โรคมะเร็งจะแพร่ไปยังอวัยวะและระบบอื่นของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด เป็นต้น โดยการรักษาในปัจจุบัน ในระยะต้นจะเป็นการรักษาด้วยการฉายแสง ให้คีโมบำบัด ในระยะที่เกิดก้อนจะฉายแสงร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันแพทย์จะพยายามเก็บตัวกล่องเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องทรมานหลังจากนั้น” พญ.สมจินต์ กล่าว
พญ.สมจินต์ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว ทุกฝ่ายจึงจำเป็นเป็นต้องช่วยกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ที่กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพกว่า 700 องค์กร ร่วมกับประชาชนจากทุกสาขาอาชีพกว่า 1 แสนคน ร่วมสนับสนุน หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะช่วยให้มาตรการลดผู้สูบบุหรี่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดปัญหาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ลดคนที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ลง มั่นใจว่าการปรับปรุงกฎหมายให้เท่าทันต่อสถานการณ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ เพื่อทำให้มาตรการควบคุมการบริโภคนั้นเข้มแข็งขึ้น และมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ด้าน นางสุจิตรา ชาญรถไฟ ผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ กล่าวว่า ทั้งตนเองและคนในครอบครัว ต้องป่วยจากการสูบบุหรี่ โดยพี่เขยก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งกล่องเสียง จากการสูบบุหรี่มาตั้งแต่สมัยวัยรุ่นจนกระทั่งป่วย โดยแพทย์พบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียงต้องตัดกล่องเสียงทิ้งและเจาะคอ ซึ่งหลังจากเจาะคอก็ต้องมีการฝึกพูดแต่ก็พูดได้ไม่ชัดนัก โดยมีครอบครัวดูแลให้กำลังใจตลอดเวลา ส่วนตนเองถือเป็นอีกคนหนึ่งที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ปัจจุบันก็ป่วยเป็นโรคหัวใจ กำลังรับการรักษา ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสูบบุหรี่จัด ทั้งนี้ การเลิกสูบบุหรี่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่จะเลิกจะต้องมุ่งมั่นและมีกำลังใจ ซึ่งตัวเองนั้นก็เลิกหลังจากตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ ก็รู้สึกเสียใจเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่อยากให้เด็กคิดจะลองสูบบุหรี่ เพราะเมื่อติดแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะเลิกได้หรือไม่ก็ไม่สามารถเลิกไม่ได้เลย สุดท้ายก็ต้องป่วยในที่สุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่โรงแรมอลิซาเบธ สมาคมผู้ไร้กล่องเสียงในประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าว “มหันตภัยบุหรี่ ทำให้พวกเราพิการตลอดชีวิต” โดย พญ.สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านระบบคุณภาพ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า บุหรี่ถือเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังหลายโรค โดยโรคหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อย่างชัดเจน คือ โรคมะเร็งกล่องเสียง แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียง 800 กว่าราย และยังพบมะเร็งในบริเวณช่องคอส่วนล่างประมาณ 200 กว่าราย แม้ว่าอุบัติการณ์เกิดโรคจะไม่มากนัก แต่ถือว่าโรคนี้มีสาเหตุชัดเจนมาจากการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหากมีพฤติกรรมทั้งสองอย่างร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยในบุหรี่จะมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นตัวก่อมะเร็ง เมื่อควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเซลล์และเปลี่ยนแปลงจนเกิดโรคมะเร็งในที่สุด
พญ.สมจินต์ กล่าวต่อว่า อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งกล่องเสียง จะเริ่มจากเสียงแหบเรื้อรัง กลืนอาหารลำบากเหมือนมีอะไรติดคอ สำลัก มีเสมหะปนเลือด และมักมีอาการไอเรื้อรัง เจ็บคอบ่อยๆ ไม่หายขาด บางครั้งพบว่ามีก้อนที่คอ ทำให้หายใจขัด หายใจได้ลำบาก โดยโรคมะเร็งกล่องเสียงหากตรวจพบในระยะแรกพบว่า อัตราการรักษาหายมีสูง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นด้วย ปัจจุบันแพทย์จะพยายามให้การรักษาโดยเก็บกล่องเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด หากยังไม่เข้าสู่ระยะลุกลาม หรือมีการลามไปบริเวณกล่องเสียงมาก ก็จะไม่ตัดกล่องเสียงทิ้ง ซึ่งเมื่อตัดกล่องเสียงทิ้ง ผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดได้ และหากเป็นระยะลุกลามและอุดกั้นทางเดินหายใจ ก็จะต้องผ่าตัดก้อนเนื้อออกและเจาะคอ ต้องหายใจผ่านทางคอแทน
“โรคมะเร็งกล่องเสียงสร้างความทนมานให้ผู้ป่วยอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ อาจต้องเจาะคอ ไม่สามารถพูดได้ และเมื่อเจาะคอแล้วต้องมีการฝึกพูดด้วยการให้ลมออกมาทางช่องคอแทนกล่องเสียงที่ถูกผ่าตัดออกไป ซึ่งหากปล่อยไว้ หรือเข้าสู่ระยะลุกลาม โรคมะเร็งจะแพร่ไปยังอวัยวะและระบบอื่นของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด เป็นต้น โดยการรักษาในปัจจุบัน ในระยะต้นจะเป็นการรักษาด้วยการฉายแสง ให้คีโมบำบัด ในระยะที่เกิดก้อนจะฉายแสงร่วมกับการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันแพทย์จะพยายามเก็บตัวกล่องเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องทรมานหลังจากนั้น” พญ.สมจินต์ กล่าว
พญ.สมจินต์ กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว ทุกฝ่ายจึงจำเป็นเป็นต้องช่วยกันผลักดันร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ที่กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพกว่า 700 องค์กร ร่วมกับประชาชนจากทุกสาขาอาชีพกว่า 1 แสนคน ร่วมสนับสนุน หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะช่วยให้มาตรการลดผู้สูบบุหรี่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดปัญหาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ลดคนที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ลง มั่นใจว่าการปรับปรุงกฎหมายให้เท่าทันต่อสถานการณ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ เพื่อทำให้มาตรการควบคุมการบริโภคนั้นเข้มแข็งขึ้น และมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ด้าน นางสุจิตรา ชาญรถไฟ ผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ กล่าวว่า ทั้งตนเองและคนในครอบครัว ต้องป่วยจากการสูบบุหรี่ โดยพี่เขยก็ป่วยด้วยโรคมะเร็งกล่องเสียง จากการสูบบุหรี่มาตั้งแต่สมัยวัยรุ่นจนกระทั่งป่วย โดยแพทย์พบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียงต้องตัดกล่องเสียงทิ้งและเจาะคอ ซึ่งหลังจากเจาะคอก็ต้องมีการฝึกพูดแต่ก็พูดได้ไม่ชัดนัก โดยมีครอบครัวดูแลให้กำลังใจตลอดเวลา ส่วนตนเองถือเป็นอีกคนหนึ่งที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ปัจจุบันก็ป่วยเป็นโรคหัวใจ กำลังรับการรักษา ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสูบบุหรี่จัด ทั้งนี้ การเลิกสูบบุหรี่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คนที่จะเลิกจะต้องมุ่งมั่นและมีกำลังใจ ซึ่งตัวเองนั้นก็เลิกหลังจากตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ ก็รู้สึกเสียใจเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่อยากให้เด็กคิดจะลองสูบบุหรี่ เพราะเมื่อติดแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะเลิกได้หรือไม่ก็ไม่สามารถเลิกไม่ได้เลย สุดท้ายก็ต้องป่วยในที่สุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่