อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ช่วยทำให้ผิวขาว ขยายขนาดทรวงอก ป้องกันผมหลุดร่วง ฯลฯ หากผู้บริโภคซื้อมาใช้อาจทำให้เสียเงินฟรี และเสี่ยงต่อการได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีการลักลอบใส่สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาของผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ปัจจุบันพบการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงจำนวนมาก ผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และโดยเฉพาะ สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยพบว่ามีการอวดอ้างสรรพคุณของเครื่องสำอางบำรุงผิว เช่น “... ช่วยให้ผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา เปลี่ยนจากผิวดำเป็นผิวขาว เห็นผล 100%” “... ช่วยปรับผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง พิสูจน์เลย” เครื่องสำอางบำรุงผิวทรวงอก เช่น “... ใช้แล้วช่วยขยายทรวงอกให้ทรวงอกอวบอิ่ม” เครื่องสำอางบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น “... ป้องกันผมหลุดร่วง กระตุ้นการสร้างเส้นผมใหม่” ซึ่งข้อความโฆษณาเหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถลบริ้วรอยเหี่ยวย่น ไม่สามารถกระตุ้นให้ทรวงอกขยายขนาด หรือไม่สามารถทำให้ผมงอกขึ้นใหม่ได้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนสื่อโฆษณาหรือ ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หากพบการกระทำความผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อไป จะถูกส่งดำเนินคดีทางศาล
รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าจึงมีช่องทางในการโฆษณาเครื่องสำอางเพิ่มขึ้น เช่น การขายเครื่องสำอางทางทีวีดาวเทียม และการขายเครื่องสำอางผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทางเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงได้ง่าย มีทั้งการโฆษณาที่อ้างว่าเป็นรีวิวของผู้ใช้ว่าใช้ได้ผลดี สามารถมีผลต่อโครงสร้างของร่างกายดังกล่าว ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ยิ่งถ้าข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วนก็ไม่ควรซื้อ เพราะอาจทำให้เสียเงินฟรี และเสี่ยงต่อการได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน
หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือ พบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการติดตาม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก. ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาของผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ปัจจุบันพบการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงจำนวนมาก ผ่านทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และโดยเฉพาะ สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยพบว่ามีการอวดอ้างสรรพคุณของเครื่องสำอางบำรุงผิว เช่น “... ช่วยให้ผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา เปลี่ยนจากผิวดำเป็นผิวขาว เห็นผล 100%” “... ช่วยปรับผิวขาวเร่งด่วนได้ใน 2 สัปดาห์ เห็นผลจริง พิสูจน์เลย” เครื่องสำอางบำรุงผิวทรวงอก เช่น “... ใช้แล้วช่วยขยายทรวงอกให้ทรวงอกอวบอิ่ม” เครื่องสำอางบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น “... ป้องกันผมหลุดร่วง กระตุ้นการสร้างเส้นผมใหม่” ซึ่งข้อความโฆษณาเหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถลบริ้วรอยเหี่ยวย่น ไม่สามารถกระตุ้นให้ทรวงอกขยายขนาด หรือไม่สามารถทำให้ผมงอกขึ้นใหม่ได้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนสื่อโฆษณาหรือ ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา จะมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หากพบการกระทำความผิดซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งต่อไป จะถูกส่งดำเนินคดีทางศาล
รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าจึงมีช่องทางในการโฆษณาเครื่องสำอางเพิ่มขึ้น เช่น การขายเครื่องสำอางทางทีวีดาวเทียม และการขายเครื่องสำอางผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ทางเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงได้ง่าย มีทั้งการโฆษณาที่อ้างว่าเป็นรีวิวของผู้ใช้ว่าใช้ได้ผลดี สามารถมีผลต่อโครงสร้างของร่างกายดังกล่าว ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือไม่ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ยิ่งถ้าข้อมูลบนฉลากไม่ครบถ้วนก็ไม่ควรซื้อ เพราะอาจทำให้เสียเงินฟรี และเสี่ยงต่อการได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน
หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือ พบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการติดตาม และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่